ตับ อักเสบบี เป็นการอักเสบของเซลล์ตับ อันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) การอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นดีเอ็นเอไวรัสที่ค่อนข้างทนทาน โดยเชื้อนี้จะมีอยู่ในเลือด การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบีที่สำคัญมี 3 ทาง คือ ติดต่อจากมารดาสู่ทารก, การติดต่อโดยเลือด (รวมถึงการใช้เข็มฉีดยา การสัก ฝังเข็ม หรือการเจาะหู), ทางเพศสัมพันธ์
ส่วนการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไม่ได้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อแต่อย่างใด
อาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีอาจมาพบแพทย์ได้ 3 ระยะ คือ
|
|
ตับอักเสบเฉียบพลัน : ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตามด้วยคลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นชายโครงขวา จากตับที่โตแล้ว ปัสสาวะเข้ม ตาเหลืองในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลัน จากไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 90-95 จะหายเป็นปกติ พร้อมกับร่างกายที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี มีเพียงร้อยละ 5-10 เท่านั้น ที่ไม่สามารถกำจัดไวรัสออกไปจากร่างกายได้ และกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และน้อยกว่าร้อยละ 1 อาจเกิดอาการตับวายได้ |
|
|
ตับอักเสบเรื้อรัง : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี โดยพบความผิดปกติในการทำงานของตับ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง หากมีการอักเสบและการทำลายเซลล์ตับมากๆ จะทำให้ตับเสื่อมสมรรถภาพลง จนกลายเป็นตับแข็งในที่สุด |
|
|
ตับแข็ง : ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์จากอาการแทรกซ้อน เช่น เท้าบวม ท้องบวม อาเจียนเป็นเลือด ส่วนลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งคือ ผอม ผิวแห้ง ผมบาง มีลักษณะขาดสารอาหารร่วมด้วย ในระยะยาวอาจกลายเป็นมะเร็งตับ |
การรักษา
|
1. |
ตับอักเสบเฉียบพลัน : ไม่มีการรักษาเฉพาะ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้นเองอยู่แล้ว ควรพักผ่อนตามสมควร รับประทานอาหารให้เพียงพอ การดื่มน้ำหวาน ปริมาณมากๆ ไม่ได้ช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น แต่น้ำตาลที่ดื่มเข้าไปมากๆ จะเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมในตับ อาจทำให้ตับโตกว่าปกติได้ |
|
|
ตับอักเสบเรื้อรัง : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ จึงสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ การรับประทานยาบำรุงตับหรือวิตามิน ไม่มีหลักฐานว่าช่วยลดการอักเสบของตับ หรือลดปริมาณไวรัส ยาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้ผลคือ การรับประทานยาลามิวูดีน (lamivudine) และการใช้อินเตอร์เฟียรอน(interferon) ซึ่งเป็นยาฉีด โดยต้องใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 เดือน จึงได้ประโยชน์ ซึ่งราวร้อยละ 30-40 จะทำให้การอักเสบของตับลดลง พร้อมกับปริมาณของไวรัสลดลงด้วย เนื่องจากอินเตอร์เฟียรอนมีราคาแพง และมีฤทธิ์ข้างเคียงมาก การใช้จึงควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ระบบทางเดินอาหารเท่านั้น |
การป้องกัน
|
1. |
ควรปฏิบัติตัวโดยการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะและออกกำลังกายสม่ำเสมอ |
|
|
ควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ |
|
3. |
ก่อนแต่งงานคู่สมรสควรตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี |
|
4. |
ในการรับเลือด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี |
|
5. |
ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ทั้งที่ทำจากเลือดและผลิตโดยกรรมวิธีพันธุวิศวกรรม ซึ่งตัวหลังได้รับความนิยมมากกว่า |
ปฏิบัติตัวดี หนีไวรัสตับอักเสบบี
|
|
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น เพราะยาเกือบทุกตัวจะถูกทำลายที่ตับ การใช้ยาต่างๆ จึงควรระมัดระวัง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่า เป็นตับอักเสบ |
|
|
หมั่นตรวจสุขภาพเสมอ อย่างน้อยทุก 4-6 เดือน เพราะบางครั้งจะมีการอักเสบเกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่เป็นชายอายุมากหรือมีตับแข็งร่วมด้วย ควรติดตามเป็นระยะๆ เพื่อตรวจหามะเร็งตับระยะเริ่มต้น |
อาหาร...ต้านไวรัสตับอักเสบบี
|
|
ผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม สตรอว์เบอร์รี่ |
|
|
ปลา เพื่อให้ได้วิตามินบี 12 |
|
|
ธัญพืชเต็มเมล็ด ผักใบเขียวและผลไม้ เพื่อให้ได้โฟเลต |
สิ่งที่ควรงด
|
|
ไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์ติดมันและผลิตภัณฑ์นมไขมันครบส่วน |
|
|
น้ำตาลและอาหารหวานจัด |
|
|
ชาและกาแฟ |
|
|
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
|
|
อาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารรสเค็มจัดและอาหารหมักดอง |
|
|
งดสูบบุหรี่ |
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 132
|