หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ไวรัสตับอักเสบ บี
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคตับอักเสบ อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว หรือ หนอนพยาธิ หรือเกิดจากการได้รับยาหรือสารพิษ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้ ที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะในประเทศไทย คือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบบี ส่วนใหญ่จะหายสนิท แต่ผู้ป่วยบางรายที่ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง และโรคตับแข็งได้ และถ้าหากการติดเชื้อและเป็นพาหะมาตั้งแต่วัยเด็ก จะมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งตับ ได้มากกว่าผู้ที่ไม่เชื้อหลายเท่า

การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบ

ติดต่อได้โดยการสัมผัสกับเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ โดยมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้

 
•
การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือด จากผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
 
•
การสัมผัสกับเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยผ่่านทางบาดแผลเข้าสู่ร่างกาย
 
•
การใช้เข็มฉีดยา การเจาะหู การสัก การทำฟัน ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีปนเปื้อน
 
•
การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เช่น มีดโกน ที่ตัดเล็บ แปรงสีฟัน
 
•
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
 
•
การถ่ายทอดเชื้อจากมารดาที่เป็นพาหะ หรือเป็นโรคอยู่ไปยังทารก โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการคลอด

ผลจากการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ส่วนใหญ่จะหายและมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาุยุที่ได้รับเชื้อ โดยทั่วไปในเด็กจะไม่ค่อยมีอาการ แต่จะติดเชื้อเรื้อรังได้สูง ผู้ที่ติดเชื้อเรื้อรังจะมีเชื้อไวรัสในเลือดและตับต่อไปเป็นปี หรือตลอดชีวิตโดยไม่มีอาการ ซึ่งจะเป็นพาหะของเชื้อนี้ และแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไป น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง บางรายอาจกลายเป็นตับแข็ง และภาวะแทรกซ้อนจากภาวะตับแข็ง เช่น ตับวาย ท้องมาน อาเจียน หรือ อุจจาระเป็นเลือด ในคนที่เป็นพาหะเรื้อรังของไวรัสตับอักเสบบี มีโอกาสเกิดมะเร็งตับ สูงกว่าคนปกติประมาณ 100 เท่า

อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

 
•
ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร
 
•
แน่นท้อง ท้องอืด อาจเจ็บบริเวณชายโครงขวา
 
•
เมื่อไข้ลด บางรายอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
 
•
บางรายอาจมีอาการท้องเดิน คันบริเวณผิวหนัง ตับและม้ามโตได้เล็กน้อย

ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรปฏิบัติอย่างไร

 
•
ผู้ที่เป็นพาหะสามารถทำงาน ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้ตามปกติ
 
•
ควรป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น โดย
   
 
-
งดบริจาคโลหิต น้ำเหลือง อสุจิ
 
-
เมื่อต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรแจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ
 
•
ควรตรวจร่างกายและตรวจเลือด เพื่อดูหน้าที่ของตับ และสารแอลฟาฟิโตโปรตีน เพื่อค้นหาโรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับในระยะเริ่มแรก อย่างน้อยปีละครั้ง
 
•
หญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร ควรฉีดวัคซีนให้บุตรภายใน 24 ชั่วโมง หลังคลอด
 
•
งดดื่มสุราและสูบบุหรี่
 
•
ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน และเนื้อสัตว์ที่ไหม้เกรียม หรืออาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ ไม่รับประทานอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่มีเชื้อราขึ้น เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นานๆ อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ปลาร้า ผักดอง ไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ และเครื่องกระป๋องต่างๆ อาหารประเภทแหนม ปลาร้า เมื่อจะรับประทาน ต้องทำให้สุกเสียก่อน เนื่องจากอาหารเหล่านี้ อาจส่งเสริมทำให้ตับทำหน้าที่บกพร่องมากขึ้น
 
•
ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด และเผ็ดจัด
 
•
รับประทานอาหาร ทั้งข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะทุกวัน
 
•
ลดความเครียด และความวิตกกังวลให้น้อยลง
 
•
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
•
พักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งร่างกายและจิตใจ

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

 
•
โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุด คือ เด็กแรกเกิด
 
•
สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว หรือมีภูมิต้านทานแล้ว ไม่ต้องฉีดวัคซีน
 
•
ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือด เพื่อทราบถึงสภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุด จำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้น วัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

 

 

ผช.ศจ.พญ. วรนุช จงศรีสวัสดิ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
       
    แหล่งข้อมูล : เอกสารเผยแพร่ - หน่วยสุขศึกษา ฝ่ายผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคตับอักเสบ จาก ไวรัสเอ
 
ไวรัสตับอักเสบ บี
 
เป็นโรคตับจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี
 
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
 
โรคไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.