ตับอ่อนอักเสบ (Pancreaitis) เกิดจาดตับอ่อนถูกทำลายด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนเอง โดยที่ยังไม่ทราบกลไกลการเกิดที่แน่ชัด ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีความรุนแรงเท่าใดจนถึงขั้นรุนแรงมาก ช็อคและอาจเสียชีวิตได้
ชนิดของตับอ่อนอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
|
1. |
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis) |
|
|
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis ) |
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis)
เกิดจากตับอ่อนถูกทำลายด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนเอง
สาเหตุการเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
สาเหตุที่พบบ่อย
|
1. |
นิ่วในถุงน้ำดีและท่อน้ำดี คือ ก้อนนิ่วอาจจะหลุดไปอุดตันที่ทางออกปากทางของท่อน้ำด ีที่จะลงไปในลำไส้ทำให้ท่อน้ำย่อยตับอ่อนอุดตัน และล้นกลับมาที่ตับอ่อน ทำให้น้ำย่อยของตับอ่อนทำลายเนื้อเยื่อของตับอ่อนเอง แต่อาการเหล่านี้มักพบชั่วคราว หากแก้ปัญหาเรื่องนิ่วได้ อาการตับอ่อนอักเสบก็จะหายไปในที่สุด |
|
|
เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จำพวก เหล้า เบียร์ ไวน์ อาจทำลายเนื้อตับอ่อนโดยตรง หรือไปกระตุ้นฮอนโมนบางตัวในร่างกาย ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น และตับอ่อนขับน้ำย่อยมากขึ้น จนทำให้น้ำย่อยทำลายตับอ่อนเอง |
สาเหตุที่พบน้อยและสาเหตุอื่นๆ
|
1. |
เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น mumps |
|
|
ความผิกปกติของ metabolic เช่น การมีแคลเซียมสูง (Hyperkalemia) การมีไข้สูง (Hyperlipidemis) |
|
3. |
เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น Thizide Tetracycline Sulphonamid Croticosteroide และ Methydpa เป็นต้น |
|
4. |
เกิดการ Trauma (ได้รับการบาดเจ็บ) เช่น ถูกกระแทกรุนแรงที่หน้าท้องด้านบน |
|
5. |
หลังผ่าตัดบริเวณใกล้เคียงตับอ่อน ทำให้ตับ ถูกกระทบกระเทือน หรือจากการส่องกล้อง ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) |
อาการ
|
1. |
ปวดท้องรุนแรงที่ลิ้นปี่และชายโครง ปวดร้าวทะลุไปกลางหลังและปวดตลอดเวลา |
|
|
คลื่นไส้อาเจียนแต่ไม่ค่อยมีน้ำย่อยออก |
|
3. |
ท้องอืดแน่นท้องและกดเจ็บที่หน้าท้องด้านบนท้องหน้าจะเกร็ง |
|
4. |
บางรายปวดรุนแรงจนถึงขั้นช็อคหมดสติได้ |
การรักษาพยาบาล
มีจุดมุงหมายเพื่อลดการอักเสบ โดยลดการกระตุ้นตับอ่อนในการผลิตน้ำย่อยและรักษาโรคที่เกิดแทรก
|
1. |
งดน้ำและอาหาร และใส่สายยางไปในกระเพาะอาหาร เพื่อดูดเอาลม และน้ำย่อยในกระเพาะออกทางเครื่องดูดสุญญากาศ เพื่อลดอาการท้องอืดแน่น และอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งจะทำให้ตับอ่อนลดการสร้างน้ำย่อยที่ผลิตที่ตับอ่อน |
|
|
ให้น้ำเกลือ หรือน้ำเกลือแร่ทดแทน |
|
3. |
ให้ยาแก้ปวด ตามแผนการรักษาของแพทย์ |
|
4. |
ให้ยาปฎิชีวนะ ในรายที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย |
|
5. |
ให้ยาที่ออกฤทธ์ต้านการหลั่งกรดของกระเพาะ และต่อต้านการขับน้ำย่อยของตับอ่อนในผู้ป่วยบางราย |
|
6. |
ให้ออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจในรายที่มีอาการรุนแรงเสื่องต่อการช็อค |
|
7. |
การผ่าตัดจะทำในกรณที่เนื้อตับอ่อนถูกทำลายมาก และไม่อาจรักษาได้ |
|
8. |
การส่องกล้อง ERCP เพื่อขจัดนิ่วในท่อน้ำดี ในรายที่เกิดจากนิ่วในท่อน้ำดีและอาการรุนแรง |
|
9. |
ให้คำแนะนำเรื่องการปฎิบัติตัว เมื่อเป็นตับอ่อนอักเสบ เพื่อให้ดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและป้องกัน |
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis)
ส่วนมากทีผลมาจากความผิดปกติของตับอ่อน หรือระบบทางเดินอาหารเอง ทำให้ตับอ่อนแข็งขรุขระมีหินปูนจับในเนื้อตับ ท่อน้ำย่อยของตับอ่อนตีบตัน หรือพองออกเป็นช่องๆ เป็นสาเหตุให้มีนิ่วอยู่ภายใน ทำให้การทำงานของตับอ่อนเสียไป
สาเหตุ
เกือบทั้งหมดเกิดจากการดื่มเหล้าจัด ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบซ้าแล้วซ้ำอีก จนเนื้อตับอ่อนถูกทำลายไปมาก ทำให้เกิดเป็นการอักเสบเรื้อรังขึ้น อาจไม่มีอาการของตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันนำมาก่อนก็ได้สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ตับอ่อนเรื้อรังที่ไม่พบสาเหตุอื่น ( ldopathic choronic pancreatitis) นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี , ลักษณะผิดปกติของท่อน้ำดีและตับอ่อนแต่กำเนิด ( Pancreas divisum) โรคขาดอาหาร
อาการ
|
1. |
ปวดท้อง จุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ทะลุไปหลังในระยะแรกอาจปวดๆ หายๆ ต่อมาความรุนแรงจะเิพิ่มขึ้น อาจต้องใช้ยาระงับปวดเป็นประจำ และอาจเกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันแทรกซ้อนได้เป็นระยะๆ มักเป็นหลังอาหารหรือดื่มสุรา |
|
|
ท้องเสียเรื้อรัง เนื่องจากตับอ่อนถูกทำลายอย่างมาก ทำให้ย่อยและดูดซึมไขมันไม่ได้ |
|
3. |
เกิดอาการของโรคเบาหวานร่วมด้วยเพราะตับอ่อนถูกทำลายทำให้สร้างสารที่ชื่อ อินซูลิน (ซึ่งใช้ในการนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้นั้นไม่ได้) เมื่อไม่มีอินซูลินระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูง ทำให้มักเกิดโรคเบาหวานขึ้น |
|
4. |
โรคทรกซ้อนของตับอ่อนเรื้อรังเกิดการอุดตันในทางน้ำดี เป็นสาเหตุให้เกิดตัวตาเหลือง การอุดตันของลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม, การเกิดถุงน้จากการอักเสบรอบตับอ่อน (Pseudocyst) |
การรักษาพยาบาล
|
1. |
แนะนำให้งดดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด |
|
|
รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และลดอาหารจำพวกไขมัน |
|
3. |
ให้เอ็มซัยม์ตับอ่อนทดแทนช่วยในการย่อยเช่น Lipase (ไลเปส) |
|
4. |
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ |
|
5. |
ใช้การผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ |
|