หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคตับอักเสบ จาก ไวรัสเอ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ตับอักเสบจากไวรัส เป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ไวรัสที่ทำให้เกิดตับอักเสบ มีตั้งแต่ไวรัสตับอักเสบชนิด A, B, C, D, E, F, G นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบไวรัสชนิดใหม่ๆ ที่อาจทำให้เกิด ตับอักเสบได้เช่นเดียวกัน เช่น ไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสที่ทำให้เกิด โรคเริม และงูสวัด เป็นต้น

ไวรัสตับอักเสบเอ เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา เนื่องจากการติดต่อของโรคเกิดขึ้น โดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ โดยการสัมผัสกับเลือดของผู้ป่วย ในขณะที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือด

ไวรัสตับอักเสบเอ นอกจากพบในคนแล้ว ยังพบในลิงซิมแปนซี นกฮูก ลิงชนิดต่างๆ อีกด้วย

ลักษณะอาการของโรค

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เป็นได้ทั้งชนิดมีอาการและชนิดไม่มีอาการ ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่อาการจะมากและรุนแรงขึ้น ในกลุ่มอายุที่มากขึ้น ในผู้ใหญ่อาการมักเป็นรุนแรงกว่าในเด็ก

อาการเริ่มต้นด้วยเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีไข้ต่ำๆ ในวันแรกๆ ปัสสาวะสีเข้ม ปวดบริเวณชายโครงขวา ตัวและตาเหลือง ตรวจเลือด จะพบการทำงานของตับผิดปกติ

ระยะเวลาดำเนินของโรค 4-8 สัปดาห์ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วย จะมีระดับการทำงานของตับเป็นปกติ ภายใน 1 เดือน บางรายอาจเหลืองเกิน 3 เดือน ส่วนใหญ่มักเป็นปกต ิภายในไม่เกิน 6 เดือน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ

 
1.
ภาวะเหลืองที่ยาวนานเกิน 3 เดือน
 
2.
ตับอักเสบกลับเป็นช้ำ
 
3.
ภาวะตับวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นภาวะรุนแรง ที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้

ความคงทนของไวรัสตับอักเสบเอ

ไวรัสตับอักเสบเอ สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 60 องศาเซลเซียส ทนอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสได้นาน 90 วัน แต่จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ตั้งแต่ 98-100 องศาเซลเซียส นาน 4 นาทีขึ้นไป และ Microwave

การตรวจวินิจฉัย โรคตับอักเสบจากไวรัสเอ ปัจจุบันนิยมทำ โดยการเจาะเลือดตรวจ ในประเทศไทยพบว่า เด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ ดังนั้น ถ้าติดเชื้อมักเกิดอาการของโรคได้

การรักษา

เนื่องจากโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ มีอาการน้อยและหายได้เอง ส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่

 
1.
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
 
2.
ในระยะที่มีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองมาก และเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน หรืออาหารที่มีไขมันสูง อาจดื่มน้ำหวาน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และภาวะคลื่นไส้อาเจียน แต่ยังควรรับประทานอาหารอื่นๆ ที่มีคุณค่าร่วมด้วย เช่น แป้ง โปรตีน
 
3.
พักผ่อนมากๆ เพื่อลดการใช้พลังงานของร่างกาย เป็นการลดการทำงานของตับ ไม่ให้มากเกินไป เพื่อช่วยให้ตับซ่อมแซมตัวเองได้เร็วขึ้น
 
4.
เฝ้าระวังภาวะเลือดออกและตับวาย ซึ่งพบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ จะหายขาดจากโรค และมีภูมิคุ้มกันขึ้นตลอดชีวิต โอกาสที่จะเสียชีวิตในขณะเกิดอาการ ประมาณร้อยละ 0.1-0.2 เท่านั้น

การป้องกัน

 
1.
ทางด้านสุขอนามัย เนื่องจากโรคตับอักเสบจากไวรัสเอ ส่วนใหญ่ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่ม ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่ทำสุกสะอาด และดื่มน้ำที่สะอาด ถ้าไม่แน่ใจให้อุ่น หรือต้มในน้ำเดือดนานเกิน 1 นาที หรือผ่านความร้อนด้วย Microwave สำหรับผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ต้องแยกสิ่งของเครื่องใช้ เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ จะขับออกมาทางอุจจาระ มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อได้
 
2.
การให้ภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่สัมผัสโรค สามารถให้ภูมิคุ้มกัน ชนิดป้องกันได้ทันที (Hepatitis A lmmune Globulin) แต่ภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ฉะนั้น จึงแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนร่วมด้วย

 การให้วัคซีนป้องกัน โรคตับอักเสบจากไวรัสเอ (Hepatitis A Vaccine) แนะนำให้เริ่มให้ในเด็กอายุ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยให้ 2 ครั้ง ห่ากงัน 6-12 เดือน

สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ทราบว่า มีภูมิคุ้มกันโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสเอหรือไม่ แนะนำให้ตรวจเลือด หาภูมิคุ้มกันก่อน ถ้ามีแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน แต่ถ้ายังไม่มี และเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ควรฉีดวัคซีน เช่น

 
•
นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปในแหล่งที่มีการติดเชื้อชุกชุม
 
•
ชายรักร่วมเพศ
 
•
ผู้ติดยาเสพติด
 
•
เด็กที่อาศัยในชุมชนที่มีการระบาดของไวรัสตับอักเสบเอมาก่อน
 
•
บุคคลที่มีโอกาสติดเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อ เช่น บุคลากรในสถานเลี้ยงเด็ก ผู้ที่ประกอบอาหาร หรือเกี่ยวข้องกับอาหาร คนงานเก็บขยะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง

เนื่องจากปัจจุบันวัคซีนยังมีราคาสูง ดังนั้น การฉีดวัคซีนในประชาชนทั่วไป จึงไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสามารถป้องกันตัวเอง โดยการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ตลอดจนมีการสาธารณสุขที่ดี ก็สามารถป้องกันโรคได้มากทีเดียว

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 61 กรกฎาคม 2548  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เป็นโรคตับจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี
 
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
 
กระเพาะปัสสาวะ บีบตัวไวเกินปกติ (Overactive Bladder)
 
เมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.