หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การออกกำลังกาย ใน ผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เป็นที่ทราบกันดีว่า การออกำลังกายเป็น สิ่งที่มีประโยชน์สำหรับทุกเพศทุกวัย  โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางกายจากความเสื่อม ยิ่งต้องออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ และพิการของอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ หัวใจและปอด เป็นต้น การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างายคล่องตัว  ไม่หกล้มง่าย  ไม่อ้วนเกินไป  ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูงหรือ ไขมันในเลือดสูง ยิ่งไปกว่านั้น  การออกกำลังกายยังช่วยให้ลดความเครียด และสมรรถภาพทางเพศดีขึ้นอีกด้วย

เมื่อทราบแล้วว่า  การออกกำลังกายนั้น มีประโยชน์หลายประการ  คำถามต่อมาคือ ผู้สูงอายุจะสามารถออกกำลังกายได้หรือ และจะออกกำลังกายแบบไหน อย่างไรจึงจะดี คำตอบคือ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุนั้น ทำได้แน่นอนและมีหลายแบบ  ตัวอย่างเช่น

 
1.
การทำกายบริหาร เช่น การหัดพละ  การรำมวยจีน  ฝึกโยคะ เป็นต้น การฝึกกายบริหารจะช่วยให้ข้อต่อ และกล้ามเนื้อแข็งแรง  ทรงตัวดี ไม่หกล้มง่าย
 
2.
การฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรือที่เรียกว่า เล่นกล้าม  มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องการเสริมสร้าง สมรรถภาพของกล้ามเนื้อบางส่วนเป็นพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรได้ฝึกกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง เพื่อช่วยประคับประคองข้อต่อมิให้ปวดเข่าเวลาเดิน หรือผู้สูงอายุที่ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม และปวดหลัง ก็ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังเพื่อลดอาการดังกล่าว
 
3.
การเล่นกีฬาที่ตนเองชอบ เป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนาน และยังให้ประโยชน์ในด้านสังคมได้พบปะผู้อื่นอีกด้วย  แต่สำหรับผู้สูงอายุ ควรเลือกชนิดกีฬาที่ไม่หักโหมจนเกินไป และไม่ควรเล่น เพื่อแข่งขันเอาแพ้เอาชนะกันอย่างจริงจังมากเกินไป เพราะจะทำให้หัวใจ ต้องทำงานหนักเกินไปในเวลาสั้นๆ และอาจเกิดอันตรายได้
 
4.
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  เป็นการออกกำลังกาย แบบที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน 3-5 นาทีขึ้นไป การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้  มีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุ และช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้  ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่  การวิ่งเหยาะหรือที่เรียกว่า จ๊อกกิ้ง  การเดินอย่างเร็ว  ขี่จักรยาน  ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค  หรือการใช้อุปกรณ์บางอย่างช่วย เช่น การเดินบนสายพาน  ขี่จักรยานอยู่กับที่  เป็นต้น


ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ์สุวรรณ

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
หลายคำถามผู้สูงวัยอยากรู้
 
เตือนผู้สูงอายุออกกำลังกาย
 
ความต้องการพลังงาน และสารอาหาร ของผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.