หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ปัจจุบันประชากรโดยส่วนใหญ่มีอายุที่ยาวขึ้น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมาก ขึ้น ย่อมมีสภาพร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามธรรมชาติ ระบบอวัยวะต่างๆ ก็ทำงานมี ประสิทธิ ภาพลดลง ทำให้อุบัติการของโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย และมีผลต่อเนื่องไปถึงด้าน จิตใจ รวมทั้งสังคมและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ความจำเป็นในการตรวจสุขภาพเป็น ระยะๆ เพื่อตรวจพบความเจ็บป่วยใดๆ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในผู้สูงอายุจึงมีมาก

โรคที่อาจตรวจพบในผู้สูงอายุ

 
•
ความดันโลหิตสูงจากการวัดความดันโลหิตที่ต้นแขน
 
•
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจากการซักประวัติ
 
•
มะเร็งเต้านมจาการซักประวัติเและตรวจเต้านม
 
•
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากการซักประวัติ
 
•
การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจนเกิดภาวะข้างเคียงจากการซักประวัติ
 
•
การไม่สามารถที่จะออกไปพบปะสังคมกับผู้อื่นจากการซักประวัติ
 
•
การหกล้มบ่อยๆ จากการซักประวัติ
 
•
ภาวะทุพลโภชนาการจากการซักประวัติ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ โดยทั่วไปด้วยวิธีการเหล่านี้ พบว่าสามารถตรวจพบโรคที่ซ่อนเร้นอยู่ในผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้เพียง 2-3% การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติคู่ไปกับการซักประวัติ และการตรวจร่างกายจากแพทย์เสมอ โรคที่พบได้บ่อยจาการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก

 
•
ภาวะโลหิตจาง
 
•
ภาวะไขมันในเลือดสูง
 
•
เบาหวาน
 
•
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
 
•
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจเลือดในอุจจาระ
 
•
ต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง
 
•
ความผิดปกติของเกลือแร่ในกระแสเลือด โดยเฉพาะผู้ได้ยาขับปัสสาวะหรือยาแก้ปวดข้ออยู่

การตรวจทางหู

ภาวะหูหนวก หูตึง พบได้บ่อยมากถึงราว 25-35% ในผู้สูงอายุ และพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุได้แก่

 
•
ภาวะประสาทหูเสื่อมจากอายุ หรือ ที่เรียกว่า Presbycusis
 
•
หูชั้นนอกอุดกั้นจากขี้หูอุดกั้น
 
•
ภาวะประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังมากๆ ในอดีต

ความผิดปกติอย่างแรกและอย่างที่ 3 จำเป็นต้องได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือ พิเศษของแพทย์เฉพาะทางหู จึงจะยืนยันได้แน่นอน และการรักษาจึงจำเป็นต้องใช้ เครื่อง ช่วยการได้ยินติดตัวไปกับผู้สูงอายุตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงมาก การ ตรวจและรักษาปัญหาทั้ง 2 ดังกล่าวจึงทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในระดับการ สาธารณสุขของประเทศ ส่วนภาวะหูตึงจากสาเหตุที่สองคือ หูชั้นนอกอุดตันจากขี้หู สามารถวินิจฉัยได้ง่ายจากการตรวจในหูชั้นนอก ด้วยเครื่องมือที่ส่องเข้าไปดูคล้าย ไฟฉาย และสามารถให้การรักษาได้เลย จึงเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจเสมอ

การตรวจทางตา


ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนราว 10% จะมีโรคทางตา หรือความสามารถในการมองเห็นลดลงซ่อนเร้นอยู่ สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดได้แก่

 
•
โรคต้อกระจก (Cataract)
 
•
โรคต้อหิน (Glaucoma)
 
•
ภาวะประสาทจอรับภาพเสื่อม (Macular Degeneration) โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากๆ
 
•
ภาวะสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ

ผู้สูงอายุที่มีต้อหิน ส่วนหนึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป มักจะมาพบแพทย์ต่อเมื่อสายตามัว ลงมากแล้ว จนไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ ถ้าสามารถได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจป้องกันภาวะตาบอดได้ ส่วนอีก 3 โรคที่เหลือ อาจทำได้คร่าวๆ โดยการวัดสายตา โดยให้ผู้สูงอายุอ่านภาพตัวอักษรที่ห่างออกไป 6 เมตร ถ้าพบว่ามีความผิดปกติ แพทย์ก็จะส่งตัวผุ้ป่วยไปยังจักษุแพทย์ต่อไป

การตรวจสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ


โรคที่ทางจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชน ที่อาจซ่อนเร้นอยู่มี 2 ภาวะคือ ภาวะซึมเศร้า (Depression) และภาวะสมองเสื่อม (Dementia) การตรวจเพื่อค้นหา ภาวะดังกล่าว แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งจากตัวผู้สูงอายุเองและญาติ ผู้ดูแลใกล้ชิด ซึ่งการตรวจเช่นนี้จะกินเวลา และควรจะเป็นแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง การตรวจชนิดนี้จึงจำเป็น ต่อเมื่อญาติหรือตัวผู้สูงอายุเล่าถึงอาการทางจิตนำมาบ้าง ทั้งนี้ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป



โรคผิวหนัง


โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุในชุมชนได้แก่

 
•
การติดเชื้อราที่ผิวหนัง โดยเฉพาะถ้าเป็นเบาหวานอยู่ด้วย
 
•
มะเร็งของผิวหนัง
 
•
ผื่นแพ้ยา
 
•
ภาวะผิวแห้ง (Xerosis)

โรคเกี่ยวกับเหงือกและฟัน

ผู้สูงอายุมากกว่า 50% ที่อยู่ในชุมชน มีโรคเกี่ยวกับเหงือกและฟันที่ซ่อนเร้นอยู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินไปมาเองได้ หรือมีเศรษฐานะยากจน โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ , เหงือกอักเสบ หรือมะเร็งในช่องปาก วิธีตรวจเพื่อค้นหาภาวะดังกล่าวที่ดี คือ การให้ทันตแพทย์ตรวจดูในช่องปากเป็นระยะๆ

การตรวจภายในเกี่ยวกัยอวัยวะสืบพันธุ์ในสตรี


เพื่อเป็นการตรวจค้นหาก้อนเนื้องอกผิดปกต ิที่อาจพบได้ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอุบัติการของโรคมะเร็งพบสูงขึ้นตามอายุ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุสตรีที่ไม่เคยได้รับ การ ตรวจเซลของปากมดลูก (Pap's Smear) ก็ควรได้รับการตรวจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง


รศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
โรคซึมเศร้า
 
อัมพาตในผู้สูงอายุ
 
โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการป้องกัน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.