หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
หลายคำถามผู้สูงวัยอยากรู้
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ต้องยอมรับว่าผู้สูงวัยเป็นวัยถดถอยของสุขภาพร่างกาย ลดสมรรถภาพความสามารถลง มีความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเกิดขึ้น จึงเกิดคำถามกับความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในการดำเนินชีวิต ฉบับนี้ HealthToday มีคำถามที่ผู้สูงวัยอยากรู้มาไขข้อข้องใจกันพอสังเขป เผื่อว่าจะช่วยให้คุณที่เริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุได้เข้าใจ และพร้อมปรับตัวได้บ้างพอสมควร

ทำไมบางครั้งรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ เป็นเพราะอะไร

เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ในผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย ซึ่งเป็นสภาวะทางจิตอย่างหนึ่ง ที่รู้สึกว่าไม่มีความสุข กังวล ทุกข์ใจ เหนื่อยหน่าย ซึมเศร้า ไม่สนใจเรื่องราวรอบตัว ไม่ชอบอยู่ท่ามกลางคนมากๆ รู้สึกไร้ค่า หากเป็นมากอาจคิดฆ่าตัวตาย ฯลฯ อาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

สาเหตุทางร่างกาย อาจมาจากการที่สารสื่อประสาทในสมองบางชนิดลดน้อยลง หรืออาจเป็นผลมาจากโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดอุดตัน พาร์กินสัน มะเร็งตับอ่อน ต่อธัยรอยด์ หรืออาจมีสาเหตุมาจากยาที่กินประจำ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาโรคกระเพาะ ยาขับปัสสาวะ ยารักษามะเร็ง ฯลฯ ซึ่งยาเหล่านี้บางชนิดก็อาจทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วยได้

ส่วนสาเหตุทางจิตใจ อาจเป็นเพราะขาดการดูแลที่ดีพอ เกิดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรืออยู่ในสภาพแวดล้อม สังคมที่ไม่เหมาะสม มีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือการเงิน เป็นต้น

เมื่อรู้ตัวเองว่ามีภาวะซึมเศร้า หรือคนรอบข้างสังเกตว่าผู้สูงวัยที่คุณดูแลมีอาการซึมเศร้าดังกล่าวเกิดขึ้น อย่านิ่งนอนใจควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาซึ่งสามารถรักษาให้ดีขึ้นและหายได้

ผิวแห้งคันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ผิวแห้งคันในผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากสภาพผิวหนังเปลี่ยนไป คือจะบางลง แห้งเป็นขุย ขาดความยืดหยุ่น อาจทำให้เป็นแผลและฉีกขาดง่าย เนื่องจากเซลล์ที่สร้างใหม่น้อยกว่าเซลล์ที่เสื่อมลง ไขมันใต้ผิวหนังก็ลดลง ต่อมเหงื่อก็ทำงานลดลง ทำให้ผิวทนต่อสภาพอากาศที่แตกต่าง ร้อน – เย็นได้ไม่ดีดังเดิม จึงทำให้ผิวแพ้และติดเชื้อง่ายขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีบางโรคที่ทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังเช่น โรคผิวหนังต่างๆ คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีก็ทำให้มีอาการคัน ซึ่งอาการคันที่พบในผู้สูงวัยที่เป็นโรคตับพบได้บ่อย โดยอาจมีอาการคันเล็กน้อยและเป็นไม่นาน แต่บางรายจะมีอาการคันมากและเป็นเรื้อรัง มักพบบ่อยในโรคตับชนิดที่มีการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด เช่น ฮอร์โมนบางชนิด ยา erythromycin , phenothiazines ,chlorpropamide ฯลฯ

หากสาเหตุการคันมาจากโรคหรือยาที่ใช ก็ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อให้การดูแลในเรื่องน ี้แต่หากเป็นอาการคันจากความเสื่อมสภาพของผิวหนัง คุณควรดูแลตัวเองด้วยการกินสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิว เช่น วิตามินอี วิตามินซี ทาผิวด้วยมอยเจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของลาโนลิน หรือเพโตรลาทัม เพื่อเคลือบผิวเหมือนฟิล์มบางๆ ทำให้การสูญเสียน้ำของผิวหนังน้อยลง หรือจะทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของวิตามินอีและมีค่า pH เป็นกลาง ก็ช่วยได้ ควรทาเช้า-เย็น หลังอาบน้ำ คนที่มีผิวแห้งคันไม่ควรอาบน้ำอุ่นเพราะจะยิ่งทำให้คันมากขึ้น ถ้าคันมาสามารถใช้ครีมแก้แพ้ประเภทสเตียรอยด์ทาก็ช่วยได้ สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานต้องระวังเป็นพิเศษเมื่อผิวแห้งคันอย่าเผลอเกา เพราะอาจทำให้เป็นแผลและหายยากกลับจะลุกลามมากยิ่งขึ้น

ท้องผูกบ่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นเพราะอะไร ?

อาการท้องผูก ทางการแพทย์ถือว่าต้องมีการขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่มีความรู้สึกปวดถ่าย อุจจาระแข็ง แน่นอึดอัดท้อง สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีอาการท้องผูก เนื่องจากระบบการบีบตัวของลำไส้เสื่อมลง เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ขาดน้ำ คือดื่มน้ำน้อยลงเนื่องจากไม่อยากลุกไปปัสสาวะบ่อยๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยลงเพราะฟันไม่ดี เป็นโรคลำไส้แปรปรวนหรือ IBS กระทั่งโรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น ธัยรอยด์ เบาหวาน โปแตสเซียมต่ำ มีเนื้องอกในลำไส้ มะเร็งลำไส้ ไตวาย โรคกล้ามเนื้อเรียบรอบทวารหนักทำงานผิดปกติ ไส้เลื่อน ฯลฯ ก็เป็นสาเหตุให้ท้องผูกได้ นอกจากนี้บางคนยังได้รับยาที่มีส่วนผสมของอนุพันธ์ของมอร์ฟิน ยาที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กหรือแคลเซียม ยารักษาโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียม ยาต้านเศร้า เป็นต้น

แนะนำว่าเมื่อผู้สูงอายุมีอาการท้องผูกควรรักษาที่ต้นเหตุ โดยปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนในเบื้องต้น อย่าพยายามเบ่งเพื่อให้อุจจาระได้ เพราะนอกจากจะทำให้เป็นริดสีดวงแล้วการเบ่งมากๆ ยังเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคหอบ ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง แต่ควรปรับรูปแบบการกินโดยเพิ่มการกินอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น และสามารถใช้ยาบรรเทาอาการท้องผูกได้ เช่น ยาสวนทวารเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดที่ไม่ทำลายประสาทลำไส้ ยาเหน็บ bisacodyl แต่ใช้ได้เพียงสัปดาห์ละครั้ง เพราะมีผลต่อเยื่อบุลำไส้ใหญ่ ยากที่เพิ่มกากใย Milk of magnesia เป็นต้น

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ
 
คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ
 
ดูแลเท้าในผู้สูงอายุ
 
เตือนผู้สูงอายุออกกำลังกาย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.