หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคข้ออักเสบ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคข้ออักเสบ (อาร์ไทรทิส) มีอยู่ด้วยกันกว่า 100 ชนิด และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการและการบำบัดก็แตกต่างกันไป คุณอาจเป็นโรคข้ออักเสบ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้

 
•
ข้อต่อแห่งหนึ่งบวม หรือข้อต่อหลายแห่งบวมพร้อมกัน
 
•
มีอาการข้อติดเป็นเวลานาน เมื่อตื่นนอนตอนเช้า
 
•
ปวดและกดเจ็บตามข้อต่อต่างๆ เป็นๆ หายๆ และเคลื่อนไหวข้อต่อไม่ได้ตามปกติ
 
•
ข้อต่อบวม แดง และร้อน
 
•
เป็นไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด หรืออ่อนเพลียเพราะปวดข้อ

ถ้ามีอาการดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งเป็นครั้งแรก และเป็นนานกว่าสองสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ และควรแยกโรคข้ออักเสบแต่ละชนิดออกจากกัน (เช่น โรครูมาทอยด์) เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคข้ออักเสบ อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพตามปกติของข้อต่อ (เช่น โรคข้อเสื่อม) หรือจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การติดเชื้อ หรือไม่ปรากฏสาเหตุแน่ชัด อาการข้อต่ออักเสบโดยทั่วไป จะเรียกว่า โรคข้ออักเสบ มาจากคำภาษาอังกฤษ arthritis ที่มีรากศัพท์จากภาษากรีก คือ arthron แปลว่า ข้อต่อ และ itis แปลว่า อักเสบ ในบทนี้จะกล่าวถึงการรักษาโรคข้อเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด วิธีการดูแลรักษาตนเองดังที่กล่าวไว้ในที่นี้ อาจประยุกต์ใช้กับอาการ ของโรคข้ออักเสบประเภทอื่นๆ ได้ แต่ทางที่ดี ถ้าเป็นการรักษาโรคข้ออักเสบประเภทอื่นๆ ควรปรึกษามาตรการ การรักษากับแพทย์ก่อนเสมอ การออกกำลังกาย เท่าที่ผ่านมาเราพอประเมินได้ว่า การออกกำลังกายเป็นวิธีการบำบัด โรคข้ออักเสบที่ใช้ได้ผลดีที่สุด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะปรับให้อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเห็นผล แต่ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่ออำนวยให้เกิดประโยชน์กับโรคมากที่สุด ผู้ป่วยควรรักษาสุขภาพ ให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ให้มีความยืดหยุ่นอยู่สูง และอดทน ต่อแรงกระทำต่างๆ ได้ดี เพื่อสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกัน ไม่ให้ข้อต่อถูกทำลายได้ง่าย และรักษาให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ลดอาการข้อติด และก่อให้เกิดอาการปวดเจ็บข้อต่อน้อยที่สุด

การออกกำลังกายมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการสร้างความยืดหยุ่นให้ข้อต่อ การออกกำลังกาย ควรเป็นในลักษณะการยืดอย่างนุ่มนวล เพื่อยืด ข้อต่อให้มากที่สุด ในรายที่เป็นโรคข้อเสื่อมขั้นรุนแรง การเคลื่อนไหวของข้อต่อ อาจทำให้ปวดเจ็บง่ายขึ้น ทางที่ดีจึงไม่ควรออกกำลังต่อไป ถ้ารู้สึกว่าเจ็บหรือปวดมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าไม่มีแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำและดูแลใกล้ชิด

การออกกำลังโดยการเคลื่อนไหว กลุ่มกล้ามเนื้อใหญ่สัก 15 – 20 นาที เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบื้องต้น เพื่อสร้างความแข็งแรง และเสริมความทนทานให้กล้ามเนื้อ ในที่นี้ได้แก่ การเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ และการเต้นรำ ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังที่สร้างแรงต้าน ในระดับต่ำถึงปานกลางให้กับข้อต่อ คนที่อ้วนมากๆ อาจเคลื่อนไหวลำบากขึ้น ความอ้วนจะทำให้หลัง สะโพก หัวเข่า และเท้าของคุณ ต้องรับภาระจากน้ำหนักตัวที่เกินอยู่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นโรคข้ออักเสบ ที่อวัยวะเหล่านี้ได้ง่าย แม้จะไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า ความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้อย่างไร แต่ความอ้วนก็ทำให้อาการ รุนแรงขึ้นได้อย่างแน่นอน โรคข้ออักเสบที่พบทั่วไป โรคข้อเสื่อม สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง เกิดจากข้อต่อเสื่อมสภาพตามปกติ ทั้งอาจเนื่องมากจากเอนไซม์ขาดสมดุล พบบ่อยในคนอายุ 50 ปี ขึ้นไป ไม่ค่อยพบในคนหนุ่มสาว ยกเว้นถ้ามีอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ

  อาการเฉพาะโรค
  ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดโรคข้อเสื่อม ที่แพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ป่วยหรือมีจำหน่ายทั่วไป
  วิธีปกป้องข้อต่อ




น.พ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ประจำ ร.พ.วิภาวด

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
 
โรคข้อเสื่อม
 
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.