หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคข้ออักเสบ - อาการเฉพาะโรค
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อาการเฉพาะโรค

 
•
ปวดข้อต่อเมื่อเลิกใช้งาน
 
•
รู้สึกปวดข้อต่อทุกครั้งช่วงก่อนเปลี่ยนฤดู หรือช่วงที่ฤดูกำลังเปลี่ยน
 
•
ข้อต่อบวมและยืดงอไม่ได้
 
•
มีปุ่มกระดูกงอกที่ข้อนิ้วมือ
 
•
มักมีอาการปวดตามตัว ข้อต่ออาจจะแดงและร้อนหรือไม่ก็ได้

ความรุนแรง : ตามปกติไม่ใช่อาการร้ายแรง แม้ข้อต่อจะยังเสื่อมอยู่เรื่อยๆ แต่อาการปวดเมื่อเป็นแล้ว มักจะหายไป ผลจากโรคข้อเสื่อม อาจทำให้พิการได้ แต่พบน้อยมาก บางรายที่ข้อต่อสะโพก และหัวเข่าเสื่อมมาก อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อต่อ

ปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อมที่สำคัญที่สุด คือ อายุ

โรครูมาทอยด์

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง
: เป็นโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยที่สุด ในบรรดาโรคข้ออักเสบอื่นๆ พบในคนช่วงอายุ 20 – 50 ปี มากที่สุด เชื่อว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย มีปฏิกิริยาต่อต้านเยื่อบุข้อต่อของตัวเอง

อาการเฉพาะโรค

 
•
ปวดบวมที่ข้อต่อเล็กๆ ที่มือและเท้า
 
•
ปวดข้อต่อหรือข้อติด โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า หรือนั่งพักติดต่อนานๆ
 
•
ข้อต่อจะปวด บวม และร้อน ในระยะเริ่มต้น กำเริบมากขึ้นเรื่อยๆ

ความรุนแรง : เป็นโรคข้ออักเสบที่บั่นทอนสุขภาพมากที่สุด โรคนี้อาจทำให้ข้อต่อผิดรูปได้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเหงื่อออก เป็นไข้ กล้ามเนื้อที่ยืดติดกับข้อต่อ มีอาการอ่อนแรง อาการจะเป็นๆ หายๆ แต่เรื้อรัง

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง :
สาเหตุเกิดทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส หรือเป็นผลพวงที่เกิดจากการเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดได้กับทุกคน

อาการเฉพาะโรค

 
•
ปวดข้อและมีอาการข้อติด ที่ข้อต่อใดข้อต่อหนึ่ง ที่พบมากคือ ข้อต่อเข่า หัวไหล่ สะโพก ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ หรือข้อมือ - เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่อร้อนและแดงขึ้น - เป็นไข้ หนาวสั่น และอ่อนเปลี้ยเพลียแรง - อาจมีผื่นขึ้น

ความรุนแรง : ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในทันที จะหายอย่างรวดเร็ว และไม่กลับมาเป็นอีก

โรคเกาต์

สาเหตุและกลุ่มเสี่ยง :
เกิดจากกรดยูริกตกผลึกในข้อต่อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาย อายุ 40 ปี ขึ้นไป

อาการเฉพาะโรค

 
•
ปวดข้อต่อข้อใดข้อหนึ่งอย่างรุนแรงในทันที ส่วนใหญ่มักเป็นที่ข้อต่อฐานนิ้วหัวแม่เท้า
 
•
ข้อต่อบวมและแดงขึ้น

ความรุนแรง : อาการปวดเฉียบพลัน สามารถบำบัดจนกลับสู่สภาพปกติได้ แต่มักจะกลับมาปวดซ้ำอีก จึงต้องรักษาด้วยการป้องกัน ไม่ให้กรดยูริกในเลือดสูงเกินไป

* โรคข้ออักเสบรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ โรคข้ออักเสบเหตุโรคสะเก็ดเงิน ที่มักเกิดกับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า นอกเหนือจากนี้ คือ กลุ่มอาการเรเตอร์ ซึ่งมักติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอาการเฉพาะคือ ปวดในข้อต่อ มีหนองไหลจากองคชาต ปวดตา ตาอักเสบ และมีผื่นขึ้น โรคข้ออักเสบอีกชนิดหนึ่ง คือ โรคกระดูกสันหลังอักเสบแบบข้อยึดติด ที่จะเกิดกับข้อต่อกระดูกสันหลัง ในรายที่เป็นมากๆ หลังจะแข็งและก้มตัวไม่ได้




น.พ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ประจำ ร.พ.วิภาวด

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
โรคเก๊าท์
 
โรคเก๊าท์และการดูแลอาหารของผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์
 
โรคข้อเสื่อม
 
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.