ยาแก้ปวด ยาแก้ปวดโรคข้อเสื่อม ที่แพทย์นิยมจ่ายให้ผู้ป่วยหรือมีจำหน่ายทั่วไป มีดังนี้
|
|
แอสไพริน ขนาดที่ใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แพทย์จะต้องจัดขนาดยา ให้ถูกกับอาการมากที่สุด คุณอาจระงับปวดด้วยการกินแอสไพริน 2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง และอาจต้องกินติดต่อกันอีก 1 2 สัปดาห์ เพื่อลดอาการอักเสบด้วย |
|
|
อะเซตามิโนเฟน ใช้ระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับแอสไพริน และแทบไม่มีผล ทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง ทว่าไม่มีผลช่วยลดอาการอักเสบ และเพราะโรคข้อเสื่อมไม่มีอาการข้อต่ออักเสบ ยานี้จึงได้รับความนิยมสูงสุด |
|
|
ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ให้ผลดีพอๆ กับแอสไพรินและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก แต่ราคาแพงกว่า ขนาดที่ใช้ต่อวันน้อยกว่าแอสไพริน |
|
|
คอร์ติโคสเตอรอยด์ มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของร่างกาย ใช้ลดอาการอักเสบได้ และมีให้เลือกใช้มากถึง 20 ชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่นิยมกันมากคือ เพร็ดนิโซน โดยปกติแพทย์มักจะไม่ให้ คอร์ติโคสเตอรอยด์ชนิดกินกับผู้ป่วยโรค ข้อเสื่อม แต่อาจฉีดยาคอร์ติโซน ไปในข้อต่อที่มีอาการอักเสบรุนแรง และเนื่องจากการใช้ยานี้บ่อยเกินไป อาจทำให้โรคในข้อต่อกำเริบได้ง่ายขึ้น แพทย์จึงมักฉีดยานี้ให้ ในปริมาณที่จำกัด คือ ไม่เกิน 2 3 ครั้ง ภายใน 1 ปี |
ข้อควรระวัง ยาระงับปวดและยาแก้อักเสบหลายชนิด หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้ระคายเคือง จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกรุนแรงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ เพื่อบำบัดอาการปวดข้อนานกว่า 2 สัปดาห์ แต่ขณะนี้มีการผลิตยากลุ่มใหม่ออกมา เรียกว่า ยาปิดกั้นค็อกซ์-2 ซึ่งใช้ได้ดี และมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร น้อยกว่ายาตัวอื่นๆ
วิธีแก้ปวดอื่นๆ แนวทางการบำบัดรักษาดังจะได้นำเสนอต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดประจำตัวของท่าน ก่อนลงมือปฏิบัติเสมอ
|
|
ประคบร้อน จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อที่ปวด คุณอาจประคบร้อนบริเวณที่ปวด ด้วยน้ำมันพาราฟินอุ่น ผ้าห่มไฟฟ้า กระเป๋าน้ำร้อน โคมไฟให้ความร้อน ซึ่งต้องระวังอย่าให้ผิวไหม้ หรือหากเป็นกรณีที่แพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ต้องการใช้ความร้อนโดยตรง พวกเขาอาจเลือกใช้วิธีอัลตราซาวนด์ หรือวิธีอุณหรังสีบำบัดก็ได้ |
|
|
ประคบเย็น จะทำหน้าที่เหมือนยาชาเฉพาะที่ ช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ การประคบเย็นจะช่วยคลายปวด เมื่อต้องเกร็งกล้ามเนื้อ อยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานๆ |
|
|
การเข้าเฝือก จะช่วยพยุงและป้องกันข้อต่อที่ปวด ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ เมื่อออกกำลังกาย และพยุงให้ข้อต่ออยู่นิ่งๆ ตอนกลางคืนเพื่อให้หลับสบายขึ้น แต่การใส่เฝือกประคองไว้ตลอดเวลา อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และงอข้อต่อได้น้อยลง |
|
|
การผ่อนคลาย อาทิ การสะกดจิต การฝึกจินตนาการ การฝึกหายใจ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือวิธีอื่นๆ อาจใช้ลดความเจ็บปวดได้เช่นกัน |
|
|
วิธีอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายเบาๆ การควบคุมน้ำหนัก การใช้เครื่องพยุงเท้า เช่นการใช้แผ่นรองในรองเท้า การใช้เครื่องช่วยเดิน (เช่น ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน) จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และลดแรงกดดันที่ข้อต่อได้ ส่งผลให้อาการปวดข้อ ทุเลาลง |
น.พ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ประจำ ร.พ.วิภาวดี
|