เก๊าท์คืออะไร
เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารพิวรีน (PURINE) ทำให้มีกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น และตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดข้อ หรือนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นโรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
เก๊าท์มีอาการอะไรบ้าง ?
เก๊าท์จะมีอาการร่วมกันหลายอย่างดังนี้
|
1. |
เจาะเลือดพบกรดยูริคสูงกว่าปกติ ค่าปกติไม่เกิน 8 มก./ดล. |
|
|
ข้ออักเสบมีอาการปวด บวม แดงร้อนบริเวณข้อ มักเป็นรุนแรงเป็นๆ หายๆ เป็นได้กับทุกข้อ แต่พบมากที่ข้อหัวแม่เท้า |
|
3. |
พบนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ |
|
4. |
พบก้อนขาวคล้ายหินปูนเรียกว่า โทไฟ (TOPHI) เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรต (URATE) ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค (URIC ACID) ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นเอ็น กระดูกอ่อน (พบบ่อยที่หู) หรือตามข้อต่างๆ |
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์เกือบทุกราย จะมีกรดยูริคในเลือดสูงร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่เจาะเลือดแล้วพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง แต่ไม่มีอาการปวดข้อ หรือเจาะข้อไม่พบผลึกของเกลือยูเรตในน้ำ และไขข้อไม่ควรเรียกว่า โรคเก๊าท์ อาจจะเป็นแค่กรดยูริคในเลือดสูงเท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ?
|
1. |
เมื่อมีอาการปวดข้อควรไปพบแพทย์ เพื่อซักประวัติโดยอาศัยอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน เช่น มีอาการอักเสบของข้ออย่างเฉียบพลัน มักเป็นที่หัวแม่เท้า เป็นๆ หายๆ พร้อมกับเจาะเลือดดูกรดยูริค ถ้าสูงมากกว่า 8 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติ เมื่อให้ยาบางชนิดไปรับประทานอาการปวดข้อก็จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง |
|
|
เจาะน้ำไขข้อมาตรวจดูผลึกเกลือยูเรต (MONOSODIUM URATE) |
|
3. |
เอกซเรย์ข้อที่ปวด |
โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ โดยการรักษาการอักเสบของข้อ พักการใช้ข้อที่ปวด พร้อมกับรับประทานยาป้องกันโรคแทรกซ้อนด้วยการควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ในรายที่มีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ ต้องผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลเสียอย่างไร? ถ้าไม่รักษาจะเกิดผลดังนี้
|
1. |
ปวดข้อเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ต้องทุกข์ทรมานจากการปวดข้อ |
|
|
ข้อพิการจากการมีผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ และตามข้อ ทำให้มีปุ่มก้อนตามตัว |
|
3. |
เกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะและไตวายถึงแก่ชีวิตได้ |
|
4. |
โรคหรือภาวะร่วมจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น อ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ |
การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร ?
ปัจจุบันมีการรักษาโรคเก๊าท์ ดังนี้
|
1. |
ขั้นแรก ถ้ามีอาการอักเสบของข้อต้องรีบรักษาโดยให้ยาลดการอักเสบ |
|
|
ให้ยาลดกรดยูริคเพื่อป้องกันอาการกำเริบของข้ออักเสบ |
|
3. |
รักษาโรคหรือสภาวะร่วมที่อาจจะมี เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรดยูริคสูงขึ้น |
|
4. |
ให้ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์และให้คำปรึกษา เพื่อผู้ป่วยปฏิบัติตนในการควบคุมรักษาโรคได้ดีขึ้น |
เมื่อเป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์หรือภาวะมีกรดยูริคในเลือดสูง
|
1. |
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล |
|
|
ควบคุมอาหารโดยงดรับประทานอาหารที่ทำให้กรดยูริคสูง เช่น เครื่องในสัตว์ทุกชนิด สัตว์ปีกทุกชนิด ยอดผักบางชนิด เช่น ยอดกระถิน ชะอม แตงกวา |
|
3. |
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเบียร์ เพราะอาจจะทำให้การสร้างกรดยูริคสูงขึ้น และการขับถ่ายกรดยูริคทางไตน้อยลง |
สรุป
เก๊าท์เป็นโรคปวดข้อชนิดหนึ่งสามารถถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดความพิการของข้อหรือนิ่วได้
ปริมาณสารพิวรีนในอาหารต่างๆ (ในปริมาณอาหาร 100 กรัม)
อาหาร |
มิลลิกรัม |
อาหาร |
มิลลิกรัม |
เครื่องในไก่ |
290 |
ผักตำลึง |
89 |
ถั่วเหลือง |
263 |
เนื้อ |
83 |
ชะอม |
247 |
ถั่วลิสง |
74 |
ตับ |
241 |
หมู |
70 |
กระถิน |
226 |
ดอกกะหล่ำ |
68 |
ถั่วแดง |
221 |
ผักบุ้ง |
54 |
ถั่วเขียว |
213 |
ปลาหมึก |
53 |
กึ๋น |
212 |
หน่อไม้ |
47 |
กุ้ง |
205 |
ถั่วฝักยาว |
41 |
ปลาดุก |
194 |
ถั่วลันเตา |
41 |
ถั่วดำ |
180 |
ต้นกระเทียม |
39 |
ไก่ |
157 |
ผักคะน้า |
34 |
เซ่งจี้ |
152 |
ผักบุ้งจีน |
33 |
ใบขี้เหล็ก |
133 |
ถั่วงอก, ถั่วแขก |
28 |
สะตอ |
122 |
ถั่วพู |
19 |
|