|
1. |
เลือกรับประทานอาหาร โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ ตามประเภทของอาหาร คือ |
|
|
|
|
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55-60% |
|
|
พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20% |
|
|
พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25% |
|
|
|
ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียง ครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามรับประทานน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งอาหารมันๆ และของทอดด้วย |
|
3. |
เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทผักต่างๆ หรือเม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย |
|
4. |
อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไป อาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ |
|
5. |
รับประทานในปริมาณ ที่สม่ำเสมอและคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมได้ยาก |
|
6. |
ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม |
|
7. |
ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน ที่ออกฤทธิ์ยาวในตอนเช้า เช่น Protaphane หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุด ในตอนเย็นหรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่าย และมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป |
|
8. |
ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องควบคุมอาหารตลอดไป |
|
9. |
ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ในการควบคุมอาหาร "อาหารเบาหวาน" ไม่ใช่อาหารที่พิเศษพิสดารอะไร ผู้ป่วยเบาหวานก็รับประทานอาหาร เหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพียงแต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในชนิดและปริมาณอาหารเท่านั้น |