หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมักจะพบได้หลายคนในครอบครัวเดียวกัน จนอาจมองได้ว่าโรคนี้อาจติดมาจากพันธุกรรมได้

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่วัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นเบาหวาน

ลองทำแบบทดสอบดูว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมาย ถูก ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับสภาพและอาการของตน...

 
•
คุณมีอายุมากกว่า 35 ปี  
•
มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
 
•
ชอบกินของหวานๆ มันๆ  
•
หิวบ่อย ทานจุ
 
•
ออกกำลังกายน้อย  
•
กระหายน้ำบ่อย
 
•
อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย  
•
ตาพร่า มองไม่ชัด
 
•
ความดันโลหิตสูง  
•
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
 
•
ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก  
•
น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
 
•
ชาตามปลายมือปลายเท้า  
•
ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ

หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

เบาหวานคืออะไร

เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น

เบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ

ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง

 
•
ตา อาจเป็นต้นกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
 
•
ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจะเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลาย
 
•
เท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดิน โดยเฉพาะเช้ามือถึงก่อนเที่ยง ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
 
•
ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
 
•
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
 
•
ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อชา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
 
•
แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาทอักเสบ และภาวะขาดเลือดทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วหรือตัดขา ทำให้เกิดภาวะพิการได้

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและรุนแรงกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้ผนังหลอดเลือดแดง ทั้งรายการเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น

โรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน       

อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร            

สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีพในผู้ป่วยเบาหวานอาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกในผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ยอม วิงเวียน ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันและอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้

วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน

เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญกับการรักษาต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กัน ดังนี้

 
•
ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด ดังทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด จึงป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
•
ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้มีการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลและอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้วก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างปกติ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
•
บำรุงรักษาไตที่เสื่อมลงให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากไตเสื่อมทำให้เกิดโรคเบาหวาน แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวายซึ่งเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูโรคเบาหวานด้วย

ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวมควบคู่กับการปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง อาการต่างๆ ของเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

 
       
    แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ - คม ชัด ลึก  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
 
ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจอะไร นอกจากระดับน้ำตาลในเลือด
 
เบาหวานกับไขมันในเลือด
 
เบาหวาน ทำให้ไตวาย
 
คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.