เบาหวานกับไขมันในเลือด |
---|
ไขมันในเลือดผิดปกติมีผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันที่ผิดปกติจะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดการตีบตัน ซึ่งพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่เป็นและไม่เป็นเบาหวาน แต่ผู้ป่วยเบาหวานจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากกว่า และเกิดได้ในคนที่อายุน้อยกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าระดับไขมันที่ผิดปกติยังสัมพันธ์กับการเกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดฝอย และมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย ผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน เป็นผลให้อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ ถ้าเกิดที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน จะทำให้เกิดโรคอัมพาต โดยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชาครึ่งซีก นอกจากนี้ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นขา หรือน่องเวลาเดินไกล ๆ และถ้าหลอดเลือดตีบมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ และเป็นสาเหตุให้แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานหายได้ยาก และช้ากว่าปกติ ผลต่อหลอดเลือดแดงฝอย ระดับไขมันในเลือดที่สูง จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดฝอยของตา และไตในผู้ป่วยเบาหวาน หรือที่เรียกกันว่า เบาหวานขึ้นตาและลงไต เป็นผลให้การมองเห็นของสายตาลดลง และการทำงานของไตเสื่อม หรือไตวาย ผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นได้ ซึ่งอธิบายได้จากกรดไขมันอิสระที่สูง กรดไขมันอิสระที่สูง จากภาวะที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงจะมีผลยับยั้งขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในเซล และยังทำให้มีการสร้างแลปล่อยน้ำตาลกลูโคสจากตับเพิ่มขึ้น และในทางกลับกันภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูง ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนอินสุลินไม่เพียงพอ หรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินสุลินลดลง ก็จะมีผลทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานควรจะมีระดับไขมันในเลือดเท่าไร ระดับไขมันในเลือดเหมาะสมในผู้ป่วยเบาหวาน คือ การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วยเบาหวานทำได้อย่างไรบ้าง การรักษาประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่าง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา การควบคุมอาหาร มีหลักดังต่อไปนี้ คือ
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดระดับแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล และทำให้เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงขึ้นด้วย การใช้ยา ถ้าควบคุมอาหาร และออกกำลังกายแล้วไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดถึงระดับที่ต้องการแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงอย่างเดียว หรือมีไขมันแอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงร่วมกับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม statin เป็นยากลุ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงอย่างเดียว ยาที่เหมาะสมคือยาในกลุ่ม fibrate ยาลดระดับไขมันในเลือด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันพบว่ามีผลข้างเคียงน้อย และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน และโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้ |
|||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com | |||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |