หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้

โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่บุตรหลานได้

สาเหตุ : เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยนำพาน้ำตาลเข้าไปในเนื้อเยื่อ เพื่อไปใช้เป็นพลังงาน ในกรณีที่ร่างกายขาดอินซูลิน จะเกิดภาวะน้ำตาลคั่งในเลือด แล้วถูกขับออกมากับปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเบาหวาน

อาการ : ระยะแรกไม่มีอาการบ่งชัด เมื่อเป็นระยะหลัง จะมีอาการชัดเจนคือ

 
•
ดื่มน้ำบ่อยและมาก
 
•
กินจุแต่ผอมลง
 
•
เป็นแผลหรือฝีง่าย แต่หายยาก
 
•
ตาพล่ามัว
 
•
บุตรคนแรกคลอดน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
 
•
ปัสสาวะบ่อยและมาก
 
•
น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย
 
•
คันตามผิวหนัง และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
 
•
ชาปลายมือปลายเท้า ความรู้สึกทางเพศลดลง

การรักษา : ต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคู่กับการรักษาทางยา

 
1.
อาหาร : อาหารที่รับประทานแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
   
กลุ่มแรก ควรหลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานได้แก่
   
•
อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบโดยตง รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
   
•
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ฯลฯ
 
•
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ฯลฯ
   
กลุ่มสอง ต้องจำกัดปริมาณ ได้แก่
   
•
อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฯลฯ
   
•
อาหารประเภทไขมัน เช่น มะพร้าว น้ำมันหมู อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ฯลฯ
   
•
ผลไม้ที่มีรสหวานอ่อนๆ เช่น ส้ม มะละกอสุก ฯลฯ
   
กลุ่มสาม รับประทานได้ไม่จำกัด เช่น
   
•
เนื้อสัตว์ฺที่ไม่มีมัน และปลา
   
•
เครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
   
•
เครื่องเทศต่างๆ ถั่วต่างๆ
 
•
ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักทุกชนิด เม็ดแมงลัก
 
2.
ออกกำลังกานสม่ำเสมอ จะเกิดผลดี
 
•
ทำให้ระดับน้ำตาล ควบคุมได้ดีขึ้นและทำให้การใช้ยากินหรือยาฉีดน้อยลงได้
   
•
ทำให้ช่วยลดน้ำหนักตัว
 
•
ช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง และอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
 
3.
ยา : ควบุคมระดับน้ำตาล ด้วยยารักษาเบาหวานสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์

โรคแทรกซ้อน

 
1.
พบภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
 
2.
โรคตาจากเบาหวาน เช่น ตามัว ต้อกระจก
 
3.
โรคไตจากเบาหวาน เช่น เกิดไตเสื่อมสมรรถภาพในการขับถ่าย และเกิดไตวายในที่สุด
 
4.
หลอดเลือดสมองตีบ-ตัน ทำให้เป็นอัมพาต กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
 
5.
หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
 
6.
กลุ่มโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดแผลที่เท้าและเน่า มีแผลจะติดเชื้อง่ายรักษายาก
 
7.
เกิดอักเสบจากปลายประสาท ทำให้มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หมดความรู้สึกทางเพศ

การปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยเบาหวาน

 
•
ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน เช่น เดิน หรือ วิ่งเหยาะๆ
 
•
รักษาเท้าให้สะอาด อย่าตัดเล็บสั้นเกินไป และอย่าสวมรองเท้าคับเกินไป
 
•
ถ้ามีบาดแผลรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษา
 
•
ทำจิตใจให้สบาย ความเครียดหรือกังวลใจมากๆ จะทำให้น้ำตาลถูกขับออกจากตับมาก มีผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น

อันตราย ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที

 
1.
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจเต้นแรงเร็ว หายใจหอบลึก มีกลิ่นเหมือนผลไม้สุก ซึม และอาจหมดสติได้
    วิธีแก้ไข
 
•
รีบพบแพทย์หรือส่งโรงพยาบาลด่วน หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้
 
2.
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
    วิธีแก้ไข
 
•
เมื่อเริ่มรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น ให้กินน้ำหวาน หรือน้ำตาล หรือของหวานๆ ทันที
 
•
หากหมดสติให้นำส่งโรงพยาบาล ถ้าชักช้าอาจอันตรายถึงชีวิต

เราจะทราบว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โดย

 
•
ไปพบเพทย์ตรวจหาน้ำตาลในเลือด
 
•
ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ

ข้อปฏิบัติในการมาเจาะเลือด เพื่อตรวจเบาหวาน

 
1.
งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำดื่ม ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนก่อนวันเจาะเลือดจนถึงเวลาเจาะเลือด
 
2.
งดฉีดกลูโคส น้ำเกลือทางเส้นเลือดหลังเที่ยงคืนจนถึงเวลาเจาะเลือด

การรักษาเบาหวานต้องยึดสิ่งสำคัญ คือ การรักษาทางยา ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าเป็นวัณโรคด้วย โรคอาจกำเริบมากขึ้น ต้องควบคุมรักษาเบาหวานโดยใกล้ชิดจากแพทย์

 
       
    แหล่งข้อมูล : สถาบันโรคทรวงอก  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
ทำไมเป็นโรคเบาหวาน
 
คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
 
โรคเบาหวานส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.