|
|
สารกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น |
|
|
|
1. |
ฟันปลอมที่ไม่กระชับ เวลาเคี้ยวอาหารจะมีการเสียดสีกับเหงือกหรือเพดานปาก อาจทำให้เกิดมะเร็งของเหงือก หรือเพดานปากได้ |
|
|
การกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ อาจจะมีการระคายบริเวณหลอดอาหาร อาจทำให้เป็นมะเร็งของหลอดอาหารได้ |
|
3. |
รังสีต่างๆ ถ้าร่างกายได้รับเป็นระยะนาน ๆ ก็อาจเกิดมะเร็งอวัยวะต่างๆ ได้ |
|
4. |
แสงอัลตราไวโอเลต อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง และริมฝีปาก ถ้าถูกแดดจัดๆ เป็นระยะนานๆ |
|
|
|
สารเคมี ในปัจจุบันพบสารก่อมะเร็ง (carcinogen) มากกว่า 450 ชนิด อยู่ในรูปของอาหาร พืช และสารเคมีต่างๆ เช่น |
|
|
|
1. |
สารหนู อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง |
|
|
บุหรี่ มีสารเบ็นซ์ไพรีน (benzpyrine) ที่เรียกว่า "ทาร์" หรือ "น้ำมันดิน" และสารเคมีพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) ทำให้เกิดมะเร็งปอด ช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร ตับอ่อน ปากมดลูก กระเพาะปัสสาวะได้ |
|
3. |
แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง ตับ หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ เต้านม |
|
4. |
เบนซีน ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว |
|
5. |
การเคี้ยวหมากหรือการจุกยาฉุน นอกจากจะมีการระคายเรื้อรังแล้ว ยังมีสารเคมีที่ทำให้เป็นมะเร็งของช่องปากได้ |
|
6. |
สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ |
|
7. |
ดีดีที เมื่อเข้าในร่างกาย อาจเปลี่ยนเป็นสารไดไนโตรซามีน ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนไนโตรซามีน |
|
|
|
ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องคลอด และโพรงมดลูก ฮอร์โมนแอนโดรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก |
|
|
การติดเชื้อ เช่น |
|
|
|
1. |
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ |
|
|
การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งกล่องเสียง หรือทอนซิล |
|
3. |
การติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี-1 (HTLV-1/Human T-cell leukemia virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง |
|
4. |
การติดเชื้อไวรัสอีบีวี (EBV/Epstein-Bar virus) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดเบอร์กิต (Burkitt's lymphoma) และมะเร็งโพรงหลังจมูก |
|
5. |
การติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งของหลอดเลือดที่เรียกว่า Kaposi sarcoma |
|
6. |
การติดเชื้อ เอชไพโลไร (H. pylori/Helicobacter pylori) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร |
|
|
|
สารพิษ เช่น อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) จากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งของตับ |
|
|
พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ ทำให้เกิดมะเร็งของตับ |
|
|
อาหาร |
|
|
|
1. |
ภาวะขาดอาหาร เช่น โรคตับแข็ง ซึ่งเกิดจากการขาดสารโปรตีน จะกลายเป็นมะเร็งตับได้ง่าย |
|
|
การบริโภคอาหารพวกไขมันมาก อาจสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ต่อมลูกหมาก มดลูก และตับอ่อน |
|
3. |
การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม ช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ หลอดอาหารกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม และกระเพาะปัสสาวะ |
|