ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมต่อไปนี้สามารถแก้ไขได้ เช่น
|
|
ใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาภายหลังวัยหมดประจำเดือน |
|
|
ใช้ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน (OCPs) เป็นระยะเวลานาน |
|
|
ไม่เคยให้นมบุตร |
|
|
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2-5 แก้วต่อวัน |
|
|
มีน้ำหนักตัวมากเกินไป (โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน) |
|
|
ขาดการออกกำลังกาย |
|
|
รับประทานอาหารพวกไขมันมากเกินไป |
การใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือยาคุมกำเนิดแบบ รับประทานอาจมีความจำเป็นแม้ว่าจะมีความเสี่ยง แต่ ความสัมพันธ์ระหว่างยาคุมกำเนิดแบบรับประทานกับมะเร็งเต้านมยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ว่ามีทางเลือกอื่นๆ บ้างหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่
|
|
เป็นผู้หญิง |
|
|
อายุ (ความเสี่ยงมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น) |
|
|
มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี |
|
|
หมดประจำเดือนหลังอายุ 50 ปี |
|
|
การที่ไม่เคยมีบุตร |
|
|
มีบุตรภายหลังอายุ 30 ปี |
|
|
มีแม่ พี่น้อง หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งเต้านม |
|
|
เคยตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม หรือเต้านมมี การเปลี่ยนแปลงอยู่ในภาวะก่อนเป็นมะเร็งเต้านม |
|
|
มีความผิดปกติของยีนส์ที่ได้รับ การถ่ายทอดพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ |
|
|
เคยมีประวัติเป็นมะเร็งมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ (รวมถึงประวัติในครอบครัวเคยมีคนเป็นด้วย) |
การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และเมื่อพบความผิดปกติใดๆ ควรรีบไปรับการตรวจเบื้องต้น หรือตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นระยะ ในช่วงที่เหมาะสมกับวัยและประวัติความเสี่ยง จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก
|