หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล

สารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor markers)

ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายของประชากรไทยเป็นอันดับ 3 เนื่องจากโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สารก่อมะเร็งในอาหาร การสูบบุหรี่ การสัมผัสถูกกับสารก่อมะเร็ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะมลภาวะของสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ทำให้มีอัตราการเจ็บป่วยจากโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมากมักมาพบแพทย์ เมื่อปรากฏอาการชัดหรือมีการลุกลามของโรคมากแล้ว ทำให้การป้องกันรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากถ้าได้มีการตรวจพบโรคมะเร็ง ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกจากการตรวจหาสารที่จะช่วยบ่งชี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง (tumor markers) ในเลือด จะช่วยทำให้แพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันการณ์ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น

การตรวจหา Tumor markers เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก หรือช่วยในการติดตามผลของการรักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่จะมีโอกาสหายจากมะเร็งได้มากขึ้น

Tumor markers คืออะไร ?


คือตัวบ่งชี้ ทางชีวเคมีที่จะบอกว่ามีมะเร็งหรือไม่ อาจเป็นสารที่ไม่พบในภาวะปกติ หรือเป็นสารปรกติในร่างกายเรา แต่มีปริมาณเพิ่มสูงมากผิดไปจากปกติ สามารถตรวจพบได้ทั้งในเลือด หรือสารคัดหลั่ง (biological fluid)

 
•
สารที่ไม่พบในภาวะปกติ และเป็นสารที่ผลิตมาจากเซ,มะเร็งโดยตรง เช่น CEA , AFP,PSA, CA 19-9 เป็นต้น
 
•
สารที่มีอยู่แล้วในร่างกายซึ่งผลิตโดยเซลปกติ แต่กลับเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อ เซลนั้นกลายเป็นเซลมะเร็ง สารดังกล่าวได้แก่ฮอร์โมนต่างๆ เช่น HCG, Calcitonin, ACTH เป็นต้น หรือเอนไซม์เช่น PAP, ALP, LDH, GGT เป็นต้น

การจัดตารางเวลาสำหรับการตรวจ Tumor markers

สำหรับผู้ที่เริ่มตรวจพบแล้วหรือผู้ที่เริ่มต้นจะทำการรักษา ควรตรวจวัด tumor markers ในช่วงระยะเวลาดังต่อไปนี้

 
•
ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนเริ่มต้นให้การรักษาใดๆ เพื่อเก็บเป็นค่าเริ่มต้นของผู้ป่วยแต่ละราย
 
•
ภายหลังการผ่าตัด

ปีที่ 1 และ 2
  ควรตรวจทุกเดือนในระยะต้น จนกระทั่งค่าลดลงมามากแล้ว จึงเปลี่ยนมาตรวจทุก 3 เดือน
ปีที่ 3 - 5   
  ควรตรวจปีละ 1 - 2 ครั้ง
ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป 
  ตรวจทุกปี ปีละครั้ง

ตารางเวลาข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำทั่วๆ ไป เนื่องจากระยะเวลาของการเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่การหมั่นตรวจเป็นระยะก็จะช่วยติดตามผลการรักษา และการตรวจพบการกลับมาเป็นใหม่ได้รวดเร็ว ช่วยให้การป้องกัน รักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

 
•
ซึ่งถ้าตรวจได้ค่าเริ่มต้นมีค่าสูง แล้วเริ่มมีระดับลดลงอย่างรวดเร็วหลังการรักษา จะช่วยในการบ่งชี้ว่าการผ่าตัดได้ผล
 
•
ถ้าค่าลดลงเพียงเล็กน้อยตามด้วยค่าที่กลับสูงขึ้นมาใหม่ในภายหลัง แสดงว่า การผ่าตัดรักษาไม่ได้ผลการที่มีค่า tumor markers สูงเพิ่มขึ้นใหม่หลังการให้เคมีบำบัดรอบแรกๆ เป็นสัญญาณบอกให้หยุดยา ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนวิธีการรักษา

เทคนิคการตรวจ tumor markers

ควรใช้วิธีการทดสอบที่มีความไวสูง ซึ่งจะช่วยสามารถตรวจปริมาณ tumor markers ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ ชุดทดสอบควรมีความจำเพาะต่อ tumor markers ให้มากที่สุด วิธีที่เหมาะสมในปัจจุบันจึงเป็น Immunoassay โดยอาจเป็นวิธี RIA / EIA /CICA

การรบกวนผลการทดสอบ ในปฏิกริยา immunoassay ตามทฤษฏีแล้วจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรบกวนของผลทดสอบได้ ซึ่งมีหลักที่ควรคำนึงถึงคือ

 
•
High dose Hook Effect
    เมื่อใช้ตรวจหาแอนติเจนที่มีความเข้มข้นสูงมากเกินไป จะเกิดผลต่ำปลอม ซึ่งกรณีนี้ปฏิกริยาการจับกันระหว่าง แอนติเจน-แอนติบอดีย์ถูกกีดขวาง โดยแอนติเจนที่มีปริมาณสูงมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ไขโดยการเจือจางตัวอย่างที่มีแอนติเจนสูง ก่อนทำการทดสอบ
 
•
Heterophile antibodies
    ในตัวอย่างทดสอบบางรายมี heterophile antibodies อยู่ในน้ำเหลือง โดยเฉพาะ human anti mouse antibodies ซึ่งวิธีการทดสอบส่วนใหญ่จะใช้ monoclonal antibodies จากหนูซึ่งจะทำให้เหมือนเกิดปฏิกริยาขึ้น ถึวแม้ จะไม่มีแอนติเจนในน้ำเหลืองเลย ทำให้ได้ค่าผลบวกปลอมได้

 
Tumor markers ที่สำคัญในการช่วยตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
 
บทบาทและประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor markers)
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
มะเร็ง หรือ เนื้อร้าย
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
อาการของมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
 
การรักษามะเร็ง
 
การป้องกัน และลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.