หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การรักษามะเร็ง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


หากสงสัย โดยเฉพาะคนที่มีอาการไข้เรื้อรังเป็นแรมเดือน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่พบอาการที่ชัดเจนอื่นๆ หรือมีอาการเข้าได้กับสัญญาณอันตรายประการใดประการหนึ่ง ควรส่งไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อทำการตรวจพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ เอกซเรย์ทำสะแกน (scan) ตัดชิ้นเนื้อพิสูจน์ (biopsy) และให้การรักษาด้วยการผ่าตัด, ฉายรังสี (รังสีบำบัด),หรือให้ยารักษามะเร็ง (เคมีบำบัด) หรือปลูกถ่ายอวัยวะ (เช่น ไขกระดูก) ผลการรักษา ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะความรุนแรงของโรค และสภาพของผู้ป่วย (ความร่วมมือในการรักษา, การปฏิบัติตน, ความแข็งแรงขะงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, กำลังใจ เป็นต้น) มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด, มะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด, มะเร็งในช่องปาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งโพรงหลังจมูก, มะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น ถ้าหากได้รับการรักษาตั้งแต่แรก อาจมีชีวิตอยู่ได้นาน หรืออาจหายขาดได้ส่วนมะเร็งตับหรือปอดมักอยู่ได้ไม่นาน เฉลี่ยประมาณ 6-12 เดือน

สัญญาณอันตราย 7 ประการ : อาการของมะเร็งในระยะเริ่มแรก อาจสรุปได้ 7 ประการได้แก่

 
1.
การเป็นแผลที่ไม่รู้จักหาย (ปกติควรจะหายภายใน 2 สัปดาห์)
 
2.
การมีตุ่ม ไต ก้อนแข็ง เกิดขึ้นในที่ซึ่งปกติไม่ควรมี โดยเฉพาะบริเวณเต้านม ในช่องท้อง บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
 
3.
มีอาการผิดปกติเรื้อรังของระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนอาหารไม่ลง ท้องผูกสลับ กับท้องเสียอยู่เรื่อย ถ่ายเป็นมูกปนเลือดเรื้อรัง
 
4.
มีอาการไอเรื้อรัง หรือเสียงแหบแห้งอยู่นาน
 
5.
มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน ที่เคยมีอยู่ก่อน เช่น วันดีคืนดี ก็มีอาการคันเกาแตกเป็นแผล
 
6.
มีอาการผิดปกติของประจำเดือนในผู้หญิง เช่น มีประจำเดือนกะปริดกะปรอย
 
7.
มีน้ำเหลืองหรือเลือด หรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ออกจากตา หู จมูก เต้านม ช่องคลอด ทวารหนัก

ข้อแนะนำเกี่ยวกับมะเร็งและการรักษา

 
1.
การรักษาโรคนี้ผู้ป่วยจำต้องมีความอดทน และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่าเชื่อชาวบ้านด้วยกันอย่างผิดๆ อย่าเปลี่ยนหมอเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย และอย่าหันไปพี่งยาหม้อหรือไสยศาสตร์ แทนการแพทย์แผนปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวอาจช่วยให้เกิดกำลังใจดีขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจะรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้
 
2.
ทั้งผู้ป่วยและญาติ ควรหาทางเสริมสร้างกำลังใจ ด้วยการยอมรับความจริง, ทำใจให้อยู่กับปัจจุบันและใช้เวลาปัจจุบันให้มีคุณค่าที่สุด, ระหว่างการรักษากับแพทย์และยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดี ก็ทำหน้าที่การงานที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด, หาโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น, ทำสมาธิ หรือเจริญสติสวดมนต์ภาวนาตามหลักศาสนาที่นับถือ, เจริญมรณสติ และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญวาระสุดท้ายของชีวิต, หาทางเข้ากลุ่ม พูดคุยปรับทุกข์ และให้กำลังใจร่วมกันกับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งด้วยกัน (เช่น การเข้า กลุ่มหรือชมรมช่วยเพื่อน)
 
3.
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็น ดังนั้นจึงควรแนะนำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึง " สัญญาณอันตราย 7 ประการ" ของโรคนี้ หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เมื่อแพทย์ตรวจแล้วว่าไม่เป็นมะเร็ง ก็สบายใจได้อย่าได้วิตกกังวลจนเกินเหตุ
 
4.
ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติ ก็ควรหมั่นปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็กมะเร็งในระยะเริ่มแรก (ก่อนปรากฏอาการ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยมีญาติพี่น้องเป็นมะเร็ง ตามแนวทางดังนี้
    4.1 ทั้งชาย และหญิง
   
 
•
อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง (sigmoidoscope) ทุก 3-5 ปี และตรวจอุจจาระดูว่า มีเลือดออกหรือไม่ โดยวิธีที่เรียกว่า "Occult blood test" ทุกปี
 
•
อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งทวารหนัก ด้วยการใช้นิ้วตรวจภายในทวารหนัก (digital rectal examination) ทุกปี
    4.2 เฉพาะผู้ชาย
   
 
•
อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการใช้นิ้วตรวจภายในทวารหนัก และตรวจเลือดหาสารพีเอสเอ (PSA/Prostate-specific antigen)
    4.3 เฉพาะผู้หญิง
   
 
•
อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งโสดและแต่งงานแล้ว หรืออายุต่ำกว่านี้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุ 35-60 ปี ที่แต่งงานแล้ว) ควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก ด้วยวิธีแพ็ปสเมียร์ (Pap smear/Papanicolaou test) ปีละครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่อพบว่าปกติ ก็เว้นไปตรวจทุก 3-5 ปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์
 
•
อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทุกเดือน
 
•
อายุ 20-40 ปี ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก 3 ปี และอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจปีละครั้ง
 
•
อายุ 40-50 ปี ควรตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ด้วยการถ่ายภาพรังสี ที่เรียกว่า แมมโมกราฟี (mammography) ทุก 1-2 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี  
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
มะเร็ง...ตัวร้าย
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
อาการของมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
 
Tumor markers ที่สำคัญในการช่วยตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
 
เคมีบำบัด คืออะไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.