หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ปวดท้องน้อยในสตรี อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม (Pelvic Pain)
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ในชีวิตของผู้หญิงหลายๆ คน จะต้องมีอาการปวดท้องน้อย หรือปวดในอุ้งเชิงกรานบ้าง บางทีปวดน้อย บางทีปวดมาก บางทีปวดนานๆ ครั้ง  บางทีก็ปวดบ่อย บางทีก็ปวดก่อน ขณะมีหรือหลังมีประจำเดือน ฯลฯ ภายในอุ้งเชิงกรานก็มีอวัยวะไม่กี่อย่าง คือ อวัยวะสืบพันธ์  (ได้แก่  ช่องคลอด มดลูก รังไข่ และท่อรังไข่) ทางเดินปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะ และท่อไต) ลำไส้ใหญ่ สำไส้เล็ก กล้ามเนื้อ หลอดเลือด การที่จะหาสาเหตุของอาการปวด บางทีก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการค้นหา และบางอย่างก็เป็นอันตรายได้  โดยเฉพาะถ้าปวดจนทำให้รู้สึกว่า มันทำให้ชีวิตประจำวันธรรมดาของเราเสียไป หรือมากจนสุดทนในบางคราว

ถ้าเป็นดังกล่าว สิ่งที่คุณผู้หญิงคงอยากทราบว่า อะไรที่ทำให้ปวดท้องน้อยได้บ้าง จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดจากอะไร และ แล้วจะรักษาอย่างไร

ลักษณะของการปวดท้องน้อย

อาการปวดจะแตกต่างกันไป จากสาเหตุที่แตกต่างกัน อาการปวดอาจเป็นพักๆ หรือตลอดเวลา อาจเกี่ยวข้องกับระยะของประจำเดือน การถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หลังจากรับประทานอาการ หรือระหว่าง  หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ บางทีก็ร้าวไปที่อวัยวะอื่น ซึ่งมักเป็นหลัง ก้นกบ ต้นขา เป็นต้น อาการปวดดังกล่าว อาจรบกวนการทำงาน การเคลื่อนไหว การนอน การมีเพศสัมพันธ์ และบางครั้งก็ปวดจนสุดที่จะทนได้  ถ้าเกิดขึ้นนานๆ ก็ทำให้เกิดความเครียด ร่างกายและจิตใจผิดปกติไป 

ถ้าคุณสามารถอธิบายลักษณะการปวดได้ ว่า เป็นๆ หายๆ หรือตลอดเวลา ปวดตื้อๆ หรือแปลบๆ ปวดร้าวไปที่ไหน และเมื่อไรที่ คุณจะรู้สึกว่ามันปวดมากขึ้น เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ ให้แพทย์ช่วยวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

  สาเหตุของการปวดท้องน้อย
  การวินิจฉัยโรคปวดท้องน้อย
  การรักษา

สรุป 

การปวดท้องน้อย มีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากอวัยวะสืบพันธุ์ แต่ก็เกิดจากอวัยวะอื่นใกล้เคียง อาจจำเป็นต้องรักษาแบบฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะเป็นโดยยาหรือผ่าตัด หรือแพทย์ทางเลือก แล้วแต่สถานการณ์ และสาเหตุ ซึ่งแพทย์ที่ชำนาญจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำได้

 


นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
สารพันสงสัยยามวัยทอง
 
ตรวจภายใน
 
ตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
 
ตรวจก่อน รู้ก่อน ปลอดภัยกว่า
 
สำรวจจุดซ่อนเร้นก่อนสายเกินแก้ ก้
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.