เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะต้องใช้เวลาในการหาสาเหตุที่ถูกต้อง เริ่มต้นด้วยการซักถามประวัติ เกี่ยวกับการปวดการมีประจำเดือน การมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย รวมทั้งความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ และการตรวจร่างกาย รวมทั้งการตรวจภายใน อาจต้องปรึกษาแพทย์ต่างแผนกบ้าง แล้วแต่ว่านึกถึงโรคอื่นใด นอกเหนือจากโรคทางสตรี อาจต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากการตรวจภายใน และการตรวจร่างกาย แล้วแต่ว่าอาการและการตรวจของแพทย์สงสัยโรคอะไร เพื่อความมั่นใจในการวินิจฉัย เช่น
|
|
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูกและปีกมดลูกได้ดี |
|
|
การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ |
|
|
การตรวจทวารหนักและส่องตรวจสำไส้ใหญ่ |
|
|
การส่องตรวจทางหน้าท้องดูในอุ้งเชิงกราน |
|
|
การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอ |
|
|
การฉีดสีดูระบบทางเดินปัสสาวะ |
|
|
การกลืนแป้งหรือสวนแป้งเอกซ์เรย์ดูทางเดินอาหาร |
การซักประวัติ : ให้บอกแพทย์ให้ละเอียดว่าลักษณะการปวดเป็นอย่างไร
|
|
เป็นมากเวลาไหน |
|
|
ปวดประจำเดือนหรือไม่ |
|
|
เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ |
|
|
การถ่ายอุจจาระ |
|
|
การมีเพศสัมพันธ์ |
|
|
ท่าทางการเดินนั่งในชีวิตประจำวัน |
|
|
การออกกำลังกาย |
|
|
การหลับนอนกลางคืน |
เล่าให้แพทย์ฟังถึงลักษณะการปวด
|
|
ปวดจี๊ดๆ หรือ ตื้อๆ |
|
|
ปวดเป็นพักๆ หรือปวดตลอดเวลา |
|
|
ระยะเวลาที่ปวดมาก |
|
|
ความรุนแรง |
|
|
ตำแหน่งที่ปวดอยู่ที่เดียว หรือเปลี่ยนตำแหน่ง |
|
|
อะไรทำให้ดีขึ้น หรือ เลวลง |
นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี
|