หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
รากฟันเทียมกับการใส่ฟันปลอม
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
โดยความเป็นจริงแล้ว รากฟันเทียมกับฟันปลอมได้มีการพัฒนาเริ่มต้นทางยุโรปมาเาป็นเวลาประมาณ 20 กว่าปี ก่อนที่จะเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระยะแรกที่เข้ามา ยังไม่เป็นที่นิยมและอีกประการหนึ่งคือ คนไทยขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับรากฟันเทียม ซึ่งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนารากฟันเทียมขึ้นมาก จึงอยากให้ผู้อ่านได้รู้จักพื้นฐานของรากฟันเทียม ที่ใช้ร่วมกับฟันปลอม

รากฟันเทียมคืออะไร?

รากฟันเทียมคือ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ทางทันตกรรม เพื่อชดเชยสภาพฟัน และช่องปากที่สูญเสียไปจากสาเหตุใดๆ ทางอุบัติเหตุ, โรคทางพยาธิของเนื้อเยื่อในช่องปาก หรือทางพันธุกรรม โดยที่จะต้องใช้ร่วมกับฟันปลอม 

ปัญหาของผู้ป่วยเนื่องจากฟันปลอมแบบธรรมดาแก้ไขได้หรือไม่?

การใช้รากฟันเทียม ร่วมกับฟันปลอม สามารถแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นได้บางประการ จากฟันปลอมแบบธรรมดา (ทั้งถอดได้และติดแน่น) และในบางกรณี สามารถทำให้เกิดความสวยงาม แบบสูงสุดได้ด้วย

 
•
กรณีคนไข้ต้องการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น เนื่องจากฟันหายไปเพียง 1-3 ซี่ หรือมากกว่า แต่เกิดปัญหาว่า สภาพฟันดีอยู่แล้ว และไม่ต้องการที่จะทำการตบแต่งฟันข้างๆ เพื่อใส่ติดแน่น รวมทั้งเน้นถึงความสวยงาม อาจมีความจำเป็นอย่างมาก ในการใช้รากฟันเทียม ร่วมกับฟันปลอมติดแน่น เพื่อแก้ปัญหา ลองดูภาพตัวอย่างที่ยกมาให้ดู
 
•
กรณีคนไข้มีสภาพฟัน สูญเสียไปหลายซี่, สูญเสียฟันทั้งปาก หรือไม่พอใจกับสภาพฟันปลอม ที่ถอดเข้าถอดออกในรูปแบบเดิม ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็อาจใช้รากฟันเทียมร่วมด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาของผู้ป่วย ในกรณีฟันปลอมถอดเข้าถอดออก อาจเกิดปัญหา เช่น
   
 
-
สภาพเนื้อเยื่อในช่องปาก ไม่สามารถรองรับฟันปลอมได้พอดี ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก และอาจมีอาการเจ็บในขณะบดเคี้ยวอาหาร
 
-
กระดูกขากรรไกรมีการละลายตัวอย่างมาก ทำให้ฟันปลอดหลวม
 
-
เนื้อเยื่อในช่องปาก เกิดความรู้สึกสัมผัสไว ที่ผิดปกติต่อฟันปลอม ทำให้เกิดการอาเจียนได้ง่าย
 
•
กรณีคนไข้ปากแหว่ง เพดานโหว่ อาจช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพการกลืน และการบดเคี้ยวเพิ่มขึ้นได้

ถ้าอยากทำรากฟันเทียม ควรจะเริ่มต้นที่ไหน?

ก่อนอื่นจะต้องถามตัวเองก่อนว่า มีปัญหาเรื่องฟันปลอม (อาจเป็นถอดได้หรือติดแน่น) หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็คงไม่มีความจำเป็น จะต้องทำอะไรเพิ่มเติม แต่ถ้ามีปัญหา ควรปรึกษาทันตแพทย์โดยตรง หรืออาจหาทันตแพทย์เฉพาะสาขา เพื่อสอบถามรายละเอียด และการประเมินผลการรักษา รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยครับ

การดูแลรักษาฟันปลอมร่วมกับรากฟันเทียม?

หัวใจของการดูแลรักษา ก็คือ ความสะอาด คนไข้อาจมีความจำเป็น นอกจากดูแลฟันปลอมแล้ว จะต้องดูแลตัวรากฟันเทียมร่วมด้วย ก็คือ

 
1.
แปรงฟันตามปกติให้สะอาด ถ้าเป็นฟันปลอมชนิดถอดเข้าถอดออก ก็นำออกมาล้างและแปรงให้สะอาด อย่าให้มีคราบอาหารเหลืออยู่
 
2.
บริเวณที่ใส่รากฟันเทียม อาจจะต้องแปรงบริเวณเหงือกโดยรอบ ด้วยความนิ่มนวล
 
3.
อาจใช้เครื่องมือช่วยเสริม ในการทำความสะอาดบริเวณรากฟันเทียม เช่น Dental floss, Superfloss water pik,  paper strip etc.
 
4.
อาหารที่ทำให้เกิดคราบสะสม และแบคทีเรียสะสมง่าย ควรหลีกเลี่ยง หรือหลังรับประทาน อาจต้องทำความสะอาด
 
5.
อย่าลืมไปตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน

 

 


ทันแพทย์กำพล พลประทีป
แผนกทันตกรรม

 
       
    แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 15 - www.ram-hosp.co.th/books  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ฟันน่ารู้
 
คราบหินปูน
 
เมื่อมีฟันผุ
 
เสียวฟัน
 
ฟันเหลือแต่ตอ (รากฟัน)
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.