หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ฟันน่ารู้
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่เหมือนกันว่า ฟันนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนเราหรือไม่ สำหรับมนุษย์นั้น ฟันมิใช่เพียงแต่เป็น เครื่องบดเคี้ยวอย่างเดียว ฟันยังช่วยเป็นส่วนประกอบ ของความสวยงามบนใบหน้า รวมทั้ง ใช้ช่วยในการออกเสียงสำเนียงต่างๆ ในการพูดจาด้วย ฉะนั้น ฟันจึงเป็นอวัยวะที่จำเป็น ที่ควรจะได้รับการดูแล และระวังรักษาให้เป็นพิเศษ

มนุษย์เรามีฟันด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด ฟันชุดแรกเรียกว่าฟันน้ำนมมีอยู่ 20 ซี่ ซึ่งจะเริ่มเห็นในช่องปาก เมื่อเด็กเกิดแล้วประมาณ 6 เดือน และจะครบ 20 ซี่ เมื่อเด็กอายุประมาณสองขวบครึ่ง โดยอยู่ที่ขากรรไกรบน 10 ซี่ และขากรรไกรล่าง 10 ซี่ เด็กจะใช้ฟันน้ำนมเต็มที่ ประมาณ 3 ถึง 6 ขวบ จากนั้นฟันแท้จะทยอยกันขึ้นมา แทนที่ฟันน้ำนม โดยธรรมชาติ ฟันน้ำนมจะค่อยๆ โยกและหลุดไปเอง ฟันแท้ซี่แรก จะเป็นฟันกรามใหญ่ ขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ จนถึงอายุประมาณ 12 ปี เด็กควรมีฟันแท้อยู่ในปาก ประมาณ 28 ซี่ ส่วนอีก 4 ซี่ที่เหลือ เป็นฟันกรามซี่สุดท้าย จะขึ้นระหว่างอายุประมาณ 18-25 ปี การขึ้นของฟันซี่นี้ อาจเร็วหรือช้า ยากง่ายต่างๆ กัน เมื่อขึ้นมาครบในขากรรไกร ทั้งบนและล่าง ซ้ายและขวาแล้ว จะทำให้เรามีฟันครบ 32 ซี่

เราสูญเสียฟันไปได้อย่างไร

โรคใหญ่ๆ สองโรคที่เป็นเหตุ ให้เราต้องสูญเสียฟันของเราไปคือ โรคฟันผุ และโรคเหงือก หรือโรครำมะนาด คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับโรคฟันผุ และคิดว่าเป็นสาเหตุเดียว ที่ทำให้เราต้องสูญเสียฟัน แต่โรคเหงือกนั้น เป็นโรคของเนื้อเยื่อรอบๆ ฟันและอวัยวะที่รองรับฟัน ซึ่งอาการของโรค จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ซึ่งมักจะไม่ค่อยก่อให้เกิดความเจ็บปวดเท่าใดนัก ในระยะเริ่มแรก แต่จะมีอาการมากขึ้น เมื่อเป็นมากแล้ว

มีคนจำนวนไม่น้อยเชื่อกันว่า ฟันผุมีสาเหตุจากตัวแมง เข้ามาเจาะไชกินฟันทำให้เป็นโพรง แต่ที่จริงแล้ว ฟันผุ จะเกิดจากแผ่นคราบของเชื้อโรค สะสมอยู่บนผิวเคลือบฟัน ซึ่งมองดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น แผ่นคราบนี้ จะทำให้อาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลที่รับประทานเข้าไปกลายเป็นกรด ซึ่งจะทำลายผิวฟัน นานๆ เข้าฟันจะเป็นรูลึกขึ้นทุกที ถ้าไม่ได้รับการบำบัดจากทันตแพทย์ จะทำให้ฟันผุนั้นลุกลามจนถึงโพรงประสาท เกิดการปวดฟันอย่างรุนแรง ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่คนส่วนมากจะนึกถึงหมอฟัน แต่บางคนมีความสามารถทนต่อการเจ็บปวดได้สูง ยอมทนเจ็บโดยไม่ได้รับการบำบัดใดๆ เลย จนโพรงประสาทฟัน มีอาการอักเสบเน่าเปื่อย เชื้อโรคต่างๆ ก็สามารถเข้าไปภายใน จะทำให้เกิดหนองขึ้นภายในฟัน และรุกลามไปจนถึงปลายราก ฟันที่มีการผุพังเช่นนี้ เมื่อมาหาหมอฟันแล้ว น่าเสียดายที่ว่าส่วนใหญ่ จะต้องถูกถอนเสีย

ส่วนโรคเหงือกหรือโรครำมะนาดนั้น จะมีอาการเริ่มแรก ซึ่งเราจะสังเกตได้คือ จะมีเลือดออกจากเหงือกง่ายกว่าปกติ เหงือกจะมีสีแดงจัดและบวมเป่ง เหงือกปกติจะมีสีชมพูและแน่นแข็ง แต่เหงืออักเสบ จะบวมไม่แนบสนิทกับตัวฟัน จะมีเลือดออกทุกครั้งที่แปรงฟัน หรือกัดอาหาร ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เหงือกเป็นหนอง ฟันโยกมากกว่าปกติ และไม่สะดวกในการเคี้ยวอาหาร

ข้อปฏิบัติเพื่อทันตสุขภาพ

 
1.
แปรงฟันให้ถูกวิธีทันที ภายหลังกินอาหารทุกมื้อ ก่อนนอนและตื่นนอน การแปรงฟันทำให้ฟันสะอาด ป้องกันฟันผุ และเหงือกแข็งแรงสมบูรณ์
 
2.
กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารที่ช่วยทำความสะอาดฟัน และเหงือขณะเคี้ยวอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ นม ผัก และผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงการกินขนมหวาน เช่น ลูกกวาด ท้อฟฟี่ ลูกอม น้ำอัดลม เป็นต้น
 
3.
เพิ่มความแข็งแรงให้ฟับฟันโดยใช้ฟลูออไรด์ โดยการรับประทานยาฟลูออไรด์ในสภาพยาเม็ด หรือยาน้ำ อาหารประเภทชา หรือเคลือบผิวฟัน ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมอยู่
 
4.
บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อต้านทานโรค

แปรงสีฟัน

แปรงสีฟันที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

 
1.
ด้านตรงไม่โค้งงอ
 
2.
ขนแปรงหน้าตัดเรียบสม่ำเสมอกัน
 
3.
ขนแปรงมีสองหรือสามแถว ไม่แข็งมากเกินไป
 
4.
ขนาดของแปรงควรเหมาะกับปาก และเด็กควรเล็กกว่าของผู้ใหญ่

วิธีแปรงฟันให้ถูกวิธี

ควรจับแปรงให้ถูกต้อง สอดเข้าไปในปาก ให้ขนแปรงเอียงประมาณ 45 องศา จดที่คอฟัน และขอบเหงือก ฟันบนให้ปัดลง ฟันล่างให้ปัดขึ้น ทั้งด้านนอกและด้านใน ด้านบดเคี้ยวให้ถูเข้าออกไปมา

ยาสีฟัน

ยาสีฟันที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

 
1.
มีฟอง สี กลิ่น รส เป็นที่พอใจของผู้ใช้
 
2.
มีฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ
 
3.
ไม่มีเนื้อหยาบหรือเป็นผง เพราะทำให้ฟันสึกเร็ว
 
4.
ไม่มีพิษ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่อไหร่

ผู้ปกครองส่วนมาก มักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญ ในการพาบุตรหลานของตน ไปหาทันตแพทย์ จะพาไปก็ต่อ เมื่อเด็กปวดฟัน อันที่จริงผู้ปกครอง ควรพาเด็กไปหาทันตแพทย์ครั้งแรก เมื่อเด็กมีฟันน้ำนมขึ้นครบแล้ว 20 ซี่

 
1.
ทันตแพทย์จะได้ตรวจฟัน และช่องปากของเด็กว่า มีความผิดปกติหรือไม่ จะได้ทำการแก้ไขเสียแต่แรก
 
2.
เด็กจะได้มีความคุ้นเคยกับทันตแพทย์ ไม่กลัวเวลามาหา เพราะการรักษาในระยะแรกของโรค ทำได้โดยเด็กไม่ค่อยเจ็บ จะได้ไม่มีอคติต่อหมอ
 
3.
ทันตแพทย์จะได้นำความรู้ ในการระวังรักษา การแปรงฟัน อาหาร การใช้ยาฟลูออไรด์ของเด็ก

ในกรณีที่เด็กฟันผุ มีอาการปวดเสียวหรือเกิดอุบัติเหตุล้มกระแทก ควรรีบพาไปหาทันตแพทย์ทันที

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 47 พฤษภาคม 2547  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เมื่อมีฟันผุ
 
เลือดออกตามไรฟัน - ปริทันต์
 
ขจัดขี้ฟันให้ถูกวิธี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.