ถ้าหากคุณรับประทานไอศกรีม หรือจิบกาแฟแล้วมีอาการเสียวแปลบที่ตัวฟัน นี่เป็นสัญญาณเตือนแล้วว่า ฟันของคุณต้องมีอะไรผิดปกติแน่นอน ปกติแล้วโครงสร้างของฟันที่มีสุขภาพดีนั้น ตัวฟันจะมีเปลือกฟัน (Enamel) ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของร่างกายหุ้มอยู่ และรากฟันเองก็มีส่วนที่เป็นเปลือกรากฟัน (Cementum) หุ้มอยู่ ส่วนที่เป็นเนื้อฟัน (Dentine) จะประกอบไปด้วยท่อเล็กๆ หลายๆ ท่อ หากท่อเหล่านี้ไม่มีอะไรมาหุ้มจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ก็สามารถทำให้ความร้อน ความเย็น กรดจากอาหาร สามารถส่งต่อผ่านท่อนี้ไปที่ประสาทฟัน ทำให้เราสะดุ้งทุกทีไปเวลารับประทานอาหารต่างๆ
ถามว่าอาการเสียวฟัน อันตรายมากไหม ? จริงๆ แล้วมันคือสัญญาณเตือนคุณว่าถ้าไม่รีบแก้ไขก็จะมีเรื่องต่อเนื่องที่ทำอันตราย
กับฟันมากขึ้น อีกอย่างก็จะทำให้คุณหมดความสุขในการรับประทานอาหาร ทุกครั้งที่จะเอาอะไรใส่ปากก็ขยาดทุกที
อะไรบ้างที่ควร หรือไม่ควรในการป้องกันการอาการเสียวฟัน
DO'S
|
|
การทำความสะอาดฟัน ควรเลือกแปรงที่ขนแปรงนิ่มไม่แข็งเกินไป เพราะทำให้คอฟันสึกง่าย |
|
|
แปรงให้ถูกวิธี แปรงผิดวิธีทำให้เหงือกร่น คอฟันสึก รากฟันโผล่ ทำให้เสียวฟันมาก |
|
|
พบทันตแพทย์ตรวจฟันทุก 6 เดือน หากมีฟันผุอุดเสีย
มีโรคเหงือกอักเสบก็จัดการเลย อย่าปล่อยให้กระดูกถูกทำลายมีช่องว่างระหว่างเหงือกกับฟัน ซึ่งทั้งฟันผุและโรคเหงือกเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเสียวฟันมาก |
|
|
หากมีฟันสึกจากการบดเคี้ยวก็ควรให้ทันตแพทย์ครอบฟันด้วย |
DON'TS
|
|
อย่าใช้ฟันผิดประเภท จริงอยู่ธรรมชาติของฟันเป็นอวัยวะที่แข็ง แต่มีข้อจำกัดถ้าใช้อย่างไม่ทะนุถนอม หากฟันแตก หัก ฟันร้าว ก็ทำให้เกิดอาการเสียวฟันมาก |
|
|
การแปรงฟันเน้นแปรงถูกวิธี แต่ไม่ใช่แปรงแรงๆ แล้วฟันจะสะอาด ไม่ต้องแรงแต่แปรงถูกวิธี |
|
|
หากนอนกัดฟัน มีฟันสึกมากต้องแก้ไขหรือใส่เครื่องมือป้องกัน |
|
|
อย่าผัดวันประกันพรุ่ง หากมีสัญญาณอาการต่างๆ ที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับฟันเตือน ให้รีบพบทันตแพทย์ หรือพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก 6 เดือน |
ต้องหมั่นดูแลสุขภาพฟันเป็นสำคัญ แปรงฟันอย่างถูกวิธี และอมน้ำยาบ้วนปากช่วยกำจัดแบคทีเรียในส่วนที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง ขอให้คุณทุกคนมีความสุขกับการรับประทานอาหารอร่อยๆ นะครับ อย่าทนทุกข์ทรมานกับอาการเสียวฟันอยู่เลย
|