หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
รู้ป้องกัน รู้เท่าทันทาลัสซีเมีย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ทาลัสซีเมีย มรดกจากพ่อแม่

สาเหตุของโรคนี้ มาจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง และยีนจะอยู่บนโครโมโซม โดยปรกติคนเรามีโครโมโซม 23 คู่ ถ้าพ่อหรือแม่มีความผิดปกติ ก็จะมีโอกาสถ่ายทอดให้ลูกได้ ซึ่งถ้าได้รับมาจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น เราเรียกว่าเป็น "พาหะ" ของโรค ลักษณะอาการจะเหมือนคนปกติ ไม่มีอาการซีด ตับม้ามไม่โต แต่ถ้ารับมาจากทั้งสองคน และเป็นแบบที่เสริมความรุนแรงซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นโรคทาลัสซีเมีย ซึ่งมีอาการซีด ตับม้ามโต อาจจำเป็นต้องให้เลือดเป็นระยะๆ บางชนิดทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์

ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหรือพาหะ

 
1.
มีอาการตัวซีด อาจตรวจพบตับม้ามโตร่วมด้วย
 
2.
ตัวซีดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการป่วยไข้อย่างรุนแรง
 
3.
มีประวัติคนในครอบครัวตัวซีด ตับม้ามโต
 
4.
เคยมีบุตรเป็นพาหะ หรือเป็นโรคทาลัสซีเมีย
 
5.
เคยมีบุตรเสียชีวิตในครรภ์เนื่องจากภาวะทารกบวมน้ำ
 
6.
ตรวจพบขนาดเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ
 
7.
ตรวจเลือด Osmotic fragility test (OF) และ Dichlorophenolindolphenol precipitation test (DCIP) ให้ผลบวก

สังเกตอาการทาลัสซีเมีย

มีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมา ตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ นอกจากนั้น หน้าตาจะมีลักษณะเฉพาะคือ จมูกแบน หน้าผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้าง ฟันยื่น ลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าคนปรกติ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามองโกลอยด์ หรือ หน้าทาลัสซีเมีย

โรคนี้ป้องกันได้

 
1.
เราสามารถสอบถามประวัติของพ่อและแม่ และญาติพี่น้อง
 
2.
ไปตรวจเลือด โดยเฉพาะคู่สมรสที่วางแผนจะมีลูก

การรักษา

ผู้ป่วยอาจจะต้องได้รับการให้เลือด และยาขับธาตุเหล็กส่วนเกินออกจากร่างกายเป็นระยะๆ หรือผ่าตัดม้ามออก เพื่อลดการทำลายเม็ดเลือดแดง ส่วนคนที่มีอาการซีดไม่มาก จะรักษาตามอาการ

สำหรับการรักษาด้วยการตัดต่อยีนนั้น ขณะนี้ทำได้แล้วในสัตว์ทดลอง จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต จะสามารถรักษาผู้ป่วยทาลัสซีเมียให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยีน

ชีวิตยืนยาวด้วยการปฏิบัติตัว

 
1.
รับประทานผักสด หรือนมถั่วเหลืองมากๆ
 
2.
ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก (ในความเป็นจริงแล้วช่วยได้น้อย)
 
3.
ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะฟันผุง่าย
 
4.
หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องออกแรงมากๆ
 
5.
ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรง มีไข้ และตาขาวมีสีเหลืองมากขึ้น ควรไปพบแพทย์

ข้อแนะนำ

 
1.
ผู้ที่เป็นพาหะโรคทาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปรกติ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาใดๆ ส่วนผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจมีชีวิตยืนยาวได้เหมือนคนปรกติ
 
2.
พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมียควรคุมกำเนิด
 
3.
การตรวจเลือด เป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันโรคนี้ โดยเฉพาะคู่สมรสที่วางแผนจะมีลูก

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 142

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรควูบ (Syncope)
 
โรคหอบหืด ประมาทชั่ววูบอาจถึงชีวิต!
 
โรคธาลัสซีเมีย
 
เอส แอล อี...โรคนี้ต้องดูแลตัวเองอย่างไร
 
โรคไข้เลือดออก
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.