หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคหอบหืด ประมาทชั่ววูบอาจถึงชีวิต!
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เมื่อหลายเดือนก่อน วงการบันเทิงสูญเสียดาราชื่อดังหลายคน แบบกระทันหันจากโรคหอบหืด ซึ่งแม้จะเป็นโรคที่ควบคุมได้ และไม่อันตรายเหมือนไข้หวัดนก เอดส์ ฯลฯ แต่กลับสามารถคร่าชีวิตคนได้ ในระยะเวลาสั้นๆ เพียง 5 นาที !

ในปัจจุบันคนไทยเป็นโรคหอบหืดกว่า 4 ล้านคน ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ผู้ที่เป็นโรคจำเป็นต้องดูแลรักษาตัวเอง และไม่ประมาทปล่อยให้โรคนี้ คร่าชีวิตก่อนถึงชะตากำหนด ด้วยวิธีสังเกตอาการของโรคในเบื้องต้น การควบคุมอาการและข้อสังเกตเมื่ออาการฉุกเฉิน

โรคหืดเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้ผนังหลอดลม มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ เกิดการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก เหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ด ไอและแน่นหน้าอก โดยเฉพาะช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด โรคหืดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ และที่สำคัญคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหืดมาก่อน ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ในภายหลัง หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน ต่อการเป็นโรคหืด เช่น มลภาวะต่างๆ ละอองเกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ สารเคมีบางอย่าง การออกกำลังกายบางชนิด ฝุ่นภายในบ้าน ไรฝุ่น ขนสัตว์ แมลงสาบ ฯลฯ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองเป็นโรคหืดหรือไม่ ในเบื้องต้นอาจสังเกตอาการดังนี้...

 
•
มีอาการไอ หอบ หายใจมีเสียงวี๊ดๆ เป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน
 
•
มีอาการไอเรื้อรัง ถ้าไอเวลากลางคืนก็สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคหืดได้
 
•
มีอาการไอเรื้อรังหลังจากเป็นไข้หวัด

และเพื่อตรวจสอบอย่างแน่ชัด ปรึกษาวิธีรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุด ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแพทย์จะซักถามประวัติ และอาการอย่างละเอียด หรืออาจทดสอบสมรรถภาพปอดและเอกซ์เรย์ปอด เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป และหากเป็นโรคหอบหืด ต้องพกยาติดตัวทั้งชนิดพ่นและรับประทาน หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงมากที่สุด และใช้ยาเพื่อป้องกัน

ทั้งนี้หากเป็นโรคหอบหืด มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หากเกิดอาการกำเริบขึ้นมา ถ้าเป็นเด็กอยู่ในวัยเรียนก็จะขาดเรียนบ่อย ทำให้เกิดความกังวลหรือเครียด เพราะเรียนไม่ทันเพื่อนๆ และจำเป็นต้องงดเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายบางชนิด หากเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจลดประสิทธิภาพการทำงานหรือรายได้ เพราะมักรบกวนการนอนหลับพักผ่อน นอกจากนี้ การใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดกิน หรือฉีดเป็นเวลานานๆ เพื่อรักษาอาการหืด สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการบวมน้ำ ภูมิคุ้มกันลดลง เบาหวาน กระดูกผุ ต้อกระจก และร่างกายไม่เติบโตตามวัยในวัยเด็ก ดังนั้น แพทย์ปัจจุบันจึงหันมาให้ใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่น ที่ปลอดภัยกว่าเพื่อควบคุมโรค

แม้คนที่มีอาการหอบหืดจะต้องรับการรักษา และคำแนะนำจากแพทย์ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการตนเอง แต่ก็ยังมีคนที่เป็นหอบหืดจำนวนมาก ละเลยอาการของโรค และคิดว่าอาการไม่น่าจะรุนแรง ถึงขนาดคร่าชีวิตได้ ซึ่งจากรายงานสำรวจควบคุมโรคหืดในประเทศไทย เมื่อเทียบกับผลสำรวจในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังมีอัตราเสียชีวิตสูงถึง โดยร้อยละ 5 ซึ่งหากมีอาการจับหืด แต่ปล่อยปละละเลย ไม่รีบใช้ยาหรือไปพบแพทย์ไม่ทัน ก็นำไปสู่การขาดอากาศ เพราะหลอดลมตีบตัวอย่างรุนแรง เมื่อสมองขาดออกซิเจนก็ทำให้สลบ หากไม่รีบให้ออกซิเจนภายใน 4-5 นาที สมองก็จะตาย ในกรณีที่ช่วยชีวิตทันก็อาจเป็นเจ้าชายนิทรา ในขณะที่ระบบอื่นๆ ของร่างกายยังทำงานได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบรุนแรงเกินรักษา ดังนั้น อาการที่สงสัยว่าโรคหืดเริ่มจะรุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่กรณีฉุกเฉิน ซึ่งต้องได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน คือ

 
•
ถ้ามีอาการหอบหืดบ่อยครั้งหรือมากกว่าปกติ โดยเฉพาะตื่นเวลากลางคืนมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และหอบตอนกลางวัน หรือถ้าเพิ่มยาเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 5 วัน แสดงว่าอาการน่าจะกำเริบ ควรกลับไปปรึกษาแพทย์ทันที
 
•
ในกรณีที่มีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกหรือลำบาก อาการหอบรุนแรงขึ้น แม้จะใช้ยาพ่นขยายหลอดลมบ่อยกว่าทุก 3-4 ชั่วโมง อาการก็ไม่ดีขึ้น หากเกิดกับเด็กเล็ก ให้สังเกตว่าเริ่มร้องงอแง หายใจแรงและเร็ว จมูกบาน ซี่โครงบาน ไม่มีแรง อ่อนเพลีย จำเป็นต้องส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทั้งนี้ สมาชิกในครอบครัวสามารถมีส่วนช่วยสังเกตอาการ ก่อนถึงขั้นรุนแรงได้อย่างมาก

โรคหอบหืดอาจรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถควบคุมไม่ให้มีอาการ และดำเนินชีวิตตามปกติเหมือนคนอื่นๆ ได้ แต่ต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง ต้องใช้ยาอย่างถูกต้องตามวิธีใช้ และตามปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจากสถิติพบว่า จากคนเป็นโรคหอบหืดทั้งหมดกว่าร้อยละ 50 ไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ทำให้ควบคุมโรคหืดไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตชีวิตก็เป็นไปได้

แนวทางการรักษาโรคหืดแบบใหม่ล่าสุด

สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (Thai Asthma Council) หรือ TAC โดย ศ.นพ.ประพาฬ ยงใจยุทธ ประธานสภาโรคหอบหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กำลังนำแนวทางการรักษาโรคหืดแบบใหม่ จากองค์การด้านสาธารณสุขอนามัยระดับโลก หรือ GINA (The Global Initiative for Asthma) ซึ่งอยู่ในรูปแบบของแบบสอบถามเกี่ยวกับความถี่ ความรุนแรงของการเกิดโรค ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา และปรับยาให้เหมาะสมแก่คนไข้ หรือที่เรียกว่า GINA guideline โดยคาดว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษา และควบคุมโรคหืดแก่แพทย์เฉพาะทาง และแพทย์ทั่วไปได้ใช้ ซึ่งจะสามารถใช้กับคนที่มีอาการหอบหืดทุกระดับ และมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศในเร็วๆ นี้ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้นำไปใช้และได้ผลดี

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรควูบ (Syncope)
 
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหืด
 
หอบหืด : โรคสามัญประจำเมืองใหญ่
 
ทำอย่างไร จึงป้องกันโรคภูมิแพ้ได้
 
โรค ไอ บี เอส
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.