โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกิว ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค โรคนี้พบได้ตลอดปี พบมากในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็กแต่ผู้ใหญ่ก็เป็นโรคนี้ได้
โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการที่ยุงลายกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกและนำโรคมาสู่ผู้อื่น โรคไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร
|
|
มีไข้สูงลอย 2-7 วันแม้ให้ยาลดไข้ก็ยังมีไข้อยู่ได้ |
|
|
ส่วนใหญ่มีหน้าแดง ปวดศีรษะ |
|
|
มีอาการไอหรือน้ำมูกไหลเล็กน้อยในบางราย |
|
|
เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง |
|
|
จะตรวจพบจุดเลือดออกจากการรัดแขน และพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของอาการไข้ |
|
|
อาจมีเลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ |
|
|
ไข้มักจะลงในวันที่ 4-5 และอาจมีภาวะช็อคร่วมได้ โดยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ไม่ปัสสาวะ |
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก
|
|
ช่วยลดไข้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว ประคบตรงหน้าผาก ซอกคอและขาหนีบ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย |
|
|
รับประทานยาพาราเซตามอลทุก 4 ชั่วโมง |
|
|
ไม่ควรใช้ยาลดไข้ กลุ่มแอสไพริน, บลูเฟน ถึงแม้ว่าจะเป็นยาที่ลดไข้ได้ดีและเร็ว แต่มีข้อเสียคือทำให้เลือดออกง่ายขึ้น จึงไม่ควรให้เด็ดขาด ถ้าสงสัยว่าลูกเป็นไข้เลือดออก |
|
|
ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยดูจากการที่ผู้ป่วยปัสสาวะใสและมากพอ ถ้าไม่ปัสสาวะเลยใน 6 ชั่วโมงควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ |
|
|
พาไปพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 2 วันเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง หากมีอาการอาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ควรไปพบแพทย์ก่อนกำหนด |
|
|
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พากลับไปตรวจติดตามอาการเป็นระยะๆ |
|
|
ระยะไข้ลดในวันที่ 4-5 ของไข้ ถ้ามีอาการซึมลง มือเท้าเย็นปวดท้องกระสับกระส่าย หรือมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด |
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
1. |
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดย |
|
|
|
|
คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้และมีน้ำขัง เช่น กระป๋อง กะลา ถาดรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าๆ เพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่ |
|
|
ปิดตุ่มน้ำให้มิดชิด |
|
|
ใส่ทรายอะเบทในภาชนะที่กักน้ำที่ปิดฝาไม่ได้ |
|
|
เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 วัน |
|
|
ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในจานรองตู้ |
|
|
ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะที่กักเก็บน้ำ |
|
|
|
กำจัดยุงลายโดยพ่นสารเคมี และในระยะที่มีการระบาด หรือมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคในละแวกบ้าน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการพ่นยาต่อไป |
|
3. |
อย่าให้ยุงกัดกลางวันโดย |
|
|
|
|
นอนในมุ้ง |
|
|
ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง |
|
|
หลีกเลี่ยงการอยู่ในมุมมืด หรืออับทึบ |
|
|