หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ไซนัสอักเสบ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


คุณรู้จักไซนัสอักเสบหรือยัง

ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่แถวๆ ข้างจมูก บนหน้าผาก ที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง และข้างในหลังช่องจมูก

ไซนัสอักเสบ เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปในไซนัส ทำให้น้ำมูกกลายเป็นหนองเขียวเหลือง คั่งอยู่ภายใน

อาการของไซนัสอักเสบ ได้แก่

 
•
น้ำมูกเหนียว เป็นหนองสีเขียวเหลืองอาจไหลออกมาทางจมูกหรือไหลลงคอ
 
•
แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก บางครั้งต้องหายใจทางปาก
 
•
ไอมาก ไอโขลกๆ มีเสมหะ
 
•
ปวดหัวหรือใบหน้าปริมาณไซนัส
 
•
ได้กลิ่นเหม็นในจมูกหรือในปาก หรือดมอะไรไม่ได้กลิ่นเลย
 
•
บวมรอบๆ ตา
 
•
อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน

ถ้าไม่รักษา

 
•
เชื้อโรคอาจลามไปที่หู ทำให้หูอักเสบ
 
•
เกิดฝีรอบๆ ดวงตา ตามัว ปวดหัว
 
•
เชื้อโรคลามเข้าสมอง ทำให้สมองอักเสบ
 
•
เป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
 
•
ทำให้อาการโรคหืดรุนแรงขึ้น

การรักษา

 
•
กินยาฆ่าเชื้อโรคหรือยาแก้อักเสบทุกวันจนกว่าจะหมด
 
•
ใช้น้ำเกลือล้างจมูก
 
•
ใช้ยาพ่นจมูก และกินยาตามที่แพทย์สั่ง
 
•
สั่งน้ำมูก และไอขับเสมหะอย่างถูกวิธี

* แต่ถ้ากินยาไม่ครบ หรือไม่ติดต่อกัน ถามที่แพทย์สั่ง เชื้อโรคอาจดื้อยา รักษาไม่หายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน

 
•
ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาราคาแพง และกินนานขึ้น
 
•
ต้องใช้ยาฉีด
 
•
ต้องเจาะหรือผ่าตัดเพื่อล้างโพรงไซนัส

ล้างจมูกอย่างไร ถ้าเด็กร่วมมือ

 
1.
เทน้ำเกลือสะอาด ใส่แก้วเล็กๆ แล้วดูดใส่หลอดฉีดยาขนาด 5-10 ซีซี
 
2.
เตรียมกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าไว้
 
3.
ยืน หรือ นั่ง หรือ นอนในท่าที่รู้สึกสบาย แล้วเงยหน้าขึ้น
 
4.
ใส่ปลายหลอดฉีดยาเข้าไปในช่องจมูกข้างใดข้างหนึ่ง
 
5.
ค่อยๆ ดันน้ำเกลือเข้าไปในช่องจมูกช้าๆ ถ้ารู้สึกว่ามีน้ำเกลือไหลลงคอให้กลืน
 
6.
สั่งน้ำมูกใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า แล้วสังเกตดูลักษณะน้ำมูก หากยังมีมาก และเหนียวข้น หรือคัดจมูกมาก ให้ทำซ้ำอีกจนกว่าน้ำมูกจะใส และ หายใจโล่งขึ้น
 
7.
ล้างจมูกอีกข้างแบบเดียวกัน

ข้อสังเกต

 
•
น้ำเกลือจะไปซะล้างน้ำมูกที่ค้างในช่องจมูกทำให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น
 
•
ในระยะแรกที่เริ่มล้างจมูก ค่อยๆ ใส่น้ำเกลือครั้งละครึ่งถึงหนึ่งซีซี เมื่อเด็กชินกับการล้างจมูกจึงค่อยๆ ใส่น้ำเกลือปริมาณมากขึ้นจนเต็มรูจมูก
 
•
ไม่ควรปิดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งขณะสั่งน้ำมูก เพราะจะทำให้หูอื้อ
 
•
ถ้าเด็กไม่ร่วมมือ หรือเป็นเด็กเล็กไม่ควรล้างจมูกด้วยวิธีนี้ เพราะอาจทำให้เด็กสำลักน้ำเกลือลงปอด
 
•
ไม่ควรแช่น้ำเกลือไว้ในตู้เย็น เพราะน้ำเกลือที่เย็นเกินไปอาจทำให้ปวดจมูก
 
•
ขวดน้ำเกลือที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป เพราะจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
 
•
ไม่ควรใช้น้ำเปล่า หรือน้ำต้มสุกล้างจมูก เพราะมีความเข้มข้นไม่พอเหมาะ อาจทำให้เยื่อจมูกบวมได้
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
กล้ามเนื้อตา
 
โรคท่อน้ำตาอุดตัน
 
โรคกระเพาะอาหาร
 
กระเพาะปัสสาวะ บีบตัวไวเกินปกติ (Overactive Bladder)
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.