ท่อน้ำตา เริ่มต้นจากรูท่อน้ำตาที่ขอบหนังตาบนและล่างบริเวณหัวตา จากรูที่หัวตาจะเป็นท่อจากหนังตาบนและล่างเข้าสู่ถุงน้ำตา และต่อเป็นท่อผ่านกระดูกลงสู่จมูกบริเวณที่มักอุดตัน ได้แก่
|
1. |
รูท่อน้ำตา |
|
|
ท่อน้ำตาก่อนลงสู่ถุงน้ำตา |
|
3. |
ท่อน้ำตาส่วนที่อยู่ในกระดูก เป็นส่วนที่อุดตันบ่อยที่สุด |
อาการเมื่อมีท่อน้ำตาอุดตันจะเริ่มจากมีน้ำตาไหล มากกว่าปกติอาจมีน้ำตาเอ่อคลออยู่เต็มตา และบางรายจะมีน้ำตาเป็นสีน้ำนม หรือเป็นฝีที่หัวตาแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว
วิธีการผ่าตัด จะผ่าตัดบริเวณหัวตาใต้ต่อหัวตามาตามแนวฐานของจมูกแผลยาวประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วทำการกรอกระดูกให้เป็นรูต่อลงมาที่จมูก จากนั้น ผ่าตัดเชื่อมต่อระหว่างถุงน้ำตากับเยื่อบุโพรงจมูกผ่านทางรูกระดูกที่กรอไว้แล้ว และเพื่อป้องกันไม่ให้ทางเชื่อมต่อใหม่นี้อุดตัน ระหว่างผ่าตัดจะใส่ซิลิโคนไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินน้ำตาที่ทำการผ่าตัดไว้อุดตัน ในช่วงแรกหลังผ่าตัดใหม่ๆ และจะเอาซิลิโคนนี้ออกประมาณสัปดาห์ที่ 3 หลังผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
|
1. |
งดอาหารและน้ำมื้อเช้าวันที่จะทำการผ่าตัด เพราะถ้าต้องฉีดยาแก้ปวดอาจทำให้คลื่นใส้อาเจียนได้ แต่ถ้าหิวจะรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น นม หรือน้ำหวานก็ได้ |
|
|
ให้งดยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน คูมาดิน อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งต้องให้อายุรแพทย์ที่ดูแลท่านอยู่อนุญาตก่อนว่า ให้ทำการผ่าตัดได้และสามารถงดยาได้ |
|
3. |
ต้องแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบว่ามีโรคประจำตัวอะไรอยู่บ้าง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน รวมถึงการแพ้ยาต่างๆ |
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
|
1. |
ไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ 1 สัปดาห์ (ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดหน้าแทนการล้างหน้า) |
|
|
ไปตรวจตามแพทย์นัดเพื่อล้างท่อน้ำตา 3 วัน ติดต่อกัน |
|
3. |
ไปพบแพทย์เพื่อตัดไหม 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด |
|
4. |
ไปพบแพทย์เพื่อเอาซิลิโคนออกประมาณ 3 สัปดาห์ |
|
5. |
ถ้ามีเลือดออกทางจมูกหลังผ่าตัดให้กลับมาพบแพทย์ |
|
6. |
ถ้าปวดให้ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง และรับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือดได้เมื่อไม่มีเลือดออกแล้ว |
|