คนส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยสนใจว่าดวงตาของเรานั้น ต้องทำงานซับซ้อนและหนักหนาเพียงใด เพื่อทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆ ได้ จนกระทั่งถึงวันที่เกิดสิ่งผิดปกติขึ้น
กล้ามเนื้อตาล้าเกิดขึ้นได้อย่างไร เรามักจะรู้สึกถึงอาการผิดปกติของดวงตาในยามที่อยู่ในที่ทำงาน หรือที่เรียน ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะหน้าที่ทั้งสองประการเป็นอันตรายต่อนัยน์ตาโดยตรง (แต่มีความเป็นไปได้ส่วนน้อย) แต่เพราะสถานที่เหล่านั้นคือที่ที่เราต้องใช้สายตามาก เราอาจจะกำลังเคร่งเครียดหรือเหนื่อยล้อ ขณะกำลังพยายามเพ่งสายตา อักษรตัวกระจิริดหรือตารางข้อมูลขนาดกระจ้อยร่อย พร้อมทั้งใช้สมองคิดวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกวันนี้การทำงานหมายถึง การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวุ่นวายอยู่กับเครื่องฉาย-แสดงข้อมูลอื่นๆ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับดวงตา
การตรวจสอบหน้าต่างของหัวใจ การดูแลดวงตาเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมากไม่เคยเข้ารับการตรวจสายตามแม้แต่ครั้งเดียว ประมาณกันว่าหนึ่งในสามของคนวัยทำงานมีปัญหาสายตา (เช่น สายตาสั้นหรือยาว) โดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้หรือเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ปัญหาด้านสายตาจะแสดงอาการอย่างชัดเจน เมื่อใดก็ตามที่คุณเรียกร้องให้มันทำงานหนัก
คุณควรเข้ารับการตรวจสายตาอย่างน้อยปีละครั้ง หรือมากกว่านั้น หากมีสายตามีปัญหา อาการที่บ่งบอกถึงปัญหาทางสายตามีดังนี้
|
|
มีปัญหาในการใช้สายตาหรือการอ่าน |
|
|
เห็นภาพซ้อน |
|
|
มีอาการปวดศีรษะเมื่อต้องใช้สายตามาก |
|
|
วิงเวียนหน้ามืดง่าย |
|
|
เจ็บปวดบริเวณดวงตา |
|
|
น้ำตาไหลบ่อยๆ หรือตาแห้ง |
แม้ว่าดวงตาของคุณจะมีสุขภาพดี การงานอาจเพิ่มความเครียดและเป็นสาเหตุของปัญหาทางสายตาได้ กล้ามเนื้อตาล้า คือ อาการที่ดวงตาเกิดภาวะตึงเครียด ซึ่งอาจตามด้วยความยากลำบากในการโฟกัสภาพหรือมองเห็น ปัญหาตาแห้ง ปวดศีรษะ และความขัดข้องอื่นๆ การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์หรือเครื่องฉาย-แสดงข้อมูล จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกล้ามเนื้อตาล้า และนำไปสู่โรคการมองเห็น อันเนื่องมาจากคอมพิวเตอร์
เคล็ดลับเพื่อลดอาการกล้ามเนื้อตาล้า
|
|
จัดโต๊ะทำงานให้ได้ระยะ เพื่อให้ระยะห่างระหว่างตัวคุณกับหน้าจอที่พอเหมาะ โดยที่คุณสามารถนั่งในท่าทางที่สบายและถูกสุขลักษณะ สายตาของคุณควรอยู่ในระดับขอบบนของหน้าจอคอมพิวเตอร์ |
|
|
กำหนดระยะห่างระหว่างเอกสารกับดวงตาให้เท่ากัน ระยะห่างจากคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ประสาทตาต้องปรับระยะโฟกัสอยู่บ่อยครั้ง หรือจะหาที่วางเอกสารสูงเท่าหน้าจอมาวางไว้ข้างๆ จอคอมพิวเตอร์ก็ได้ |
|
|
ปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะกับสายตาของตัวเอง |
|
|
เลือกขนาดและแบบตัวอักษรสำหรับใช้งานที่ทำให้คุณรู้สึกสบายตา ขนาดที่เล็กเกินไปจะเป็นสาเหตุของความดันโลหิตและความเครียดสูงได้ |
|
|
ดูให้แน่ใจว่าความสว่างของหน้าจอ และความสว่างของสภาพแวดล้อมหลังจอนั้นใกล้เคียงกัน ดวงตาจะได้ไม่ต้องปรับตัวทุก 5 วินาที เช่น ไม่ควรวางหน้าจอไว้ด้านหน้าต่างหรือมุมที่มืดทึบ |
|
|
แสงสว่างจากโคมไฟที่จะส่องไปยังหน้าจอควรมาจากด้านบนหรือด้านหลังของคุณ และความสว่างที่เหมาะสมอยู่ที่ระดับ 300-500 Lux |
|
|
ติดแผ่นกรองแสงที่หน้าจอ |
|
|
เติมระดับความชื้นในอากาศ โดยวางแจกันดอกไม้หรือกระถางต้นไม้เล็กๆ ไว้ใกล้ๆ หรือสเปรย์น้ำขึ้นไปในอากาศ เนื่องจากอากาศที่แห้งจะนำพาฝุ่นละอองและสร้างความระคายเคืองแก่ดวงตา |
|
|
พักสายตาครั้งละ 5-10 นาทีทุกๆ ชั่วโมง โดยหลับตานิ่งๆ หรือปล่อยให้สายตาทอดมองวัตถุในระยะไกล |
|
|
ทำงานที่ต้องใช้กับไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์สลับสับเปลี่ยนกันไป |
|