หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
รู้จริง เรื่องโรคเอดส์
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ล่าสุดสำนักระบาดวิทยา กองควบคุมโรคได้สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเอดส์ จากสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2527 ถึง 30 กันยายน 2550 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์รวมทั้งสิ้น 321,650 คน และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 90,054 คน แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน ที่ติดเชื้อเอดส์มากที่สุด และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องในวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรณรงค์โรคเอดส์โลก นิตยสาร HealthToday ขอร่วมเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเอดส์ เพื่อยับยั้งและเสนอแนวทางป้องกันอย่างถูกต้องค่ะ

Myth :   เชื้อไวรัสเอชไอวี เป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายร่างกายของคนให้เป็นโรคเอดส์
Fact :   เชื้อเอชไอวีหรือ Human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำลายภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายให้บกพร่อง อันเป็นที่มาของโรคเอดส์เองนั่นเอง (Acquired Immune Deficiency Syndrome-AIDS)

เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ หรือก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่เมื่อเซลล์โดนทำลายจนอ่อนแอ ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันโรคต่างๆ ลดลง เปิดโอกาสให้โรคแทรกซ้อนหรือเชื้อฉวยโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เช่น วัณโรค โรคปอดอักเสบเรื้อรังหรือมะเร็งบางชนิด ซึ่งเชื้อเอชไอวี ไม่ได้ทำร้ายร่างกายเราโดยตรง แต่เป็นเชื้อฉวยโอกาส ที่เป็นสาเหตุ ทำให้ผู้ติดเชื้อเจ็บป่วยและเสียชีวิตลง

ทั้งนี้ เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่ได้ทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้น คนติดเชื้อจึงอาจไม่รู้ตัว หรือแสดงอาการป่วยชัดเจน จนกว่าจะนานหลายปี ซึ่งลักษณะภายนอกของคนติดเชื้อจะมีสุขภาพแข็งแรง ปกติดีเหมือนคนทั่วไป แต่จะรู้ตัวอีกที ก็ตอนที่ตรวจเลือดหรือติดเชื้อ ฉวยโอกาสรุนแรง อาการป่วยเรื้อรังและหนักขึ้นเรื่อยๆ
Myth :   ถ้าคนเป็นแม่ติดเชื้อเอชไอวี ลูกก็ต้องติดด้วย
Fact :   ในกรณีที่ลูกโตแล้ว แต่แม่เพิ่งรู้ตัวว่าติดเชื้อทีหลัง โดยเฉพาะโอกาสที่ลูกยังดูดนมแม่จะมีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะการให้ลูกดูดนม แม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี นมแม่สามารถถ่ายทอด เชื้อเอชไอวีให้กันได้ แต่ในกรณีที่แม่ติดเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะมีสิทธิติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ ถ้าแม่รู้ตัวและยังตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก การรับประทานยาต้านเชื้อ สามารถลดที่ลูกจะเสี่ยงติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวีเลย
Myth :   แค่จูบกันก็ติดเชื้อเอชไอวีได้แล้ว
Fact :   ไม่จริง การจูบสัมผัสริมฝีปากด้านนอก (จูบแบบแห้ง) ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอชไอวี เช่นเดียวกับการจูบแบบประกบปาก (จูบแบบเปียก) แต่ว่าถ้าจูบในขณะที่คนนั้นมีีแผลในปากหรือเหงือกอักเสบ และตนเองก็มีแผลหรือเลือดออกในช่องปากด้วย ก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่เคยมีรายงานว่ามีคนติดเชื้อเอชไอวีจากการจูบ
Myth :   เล่นกีฬาร่วมกันก็มีสิทธิติดเชื้อเอชไอวีได้
Fact :   การอยู่ร่วมกันหรือเล่นกีฬาร่วมกันกับคนหมู่มาก ย่อมไม่มีวันรู้ได้ว่าคนไหนติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี การเล่นกีฬาปกติไม่สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ยกเว้นกรณีที่ผู้เล่นคนติดเชื้อเอชไอวีหนึ่งเกิดบาดเจ็บเลือดออก และคนปฐมพยาบาลเข้าไปห้ามเลือดโดยไม่สวมถุงมือ ถ้าเกิดมีบาดแผลเปิดอยู่ด้วย หรือเอามือไปขยี้ตาที่มีเนื้อเยื่อบุอ่อน โอกาสเสี่ยงติดเชื้อก็มี ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือถ้าเกิดการบาดเจ็บเลือดตกยางออก อย่าพยายามสัมผัสแผลหรือห้ามเลือดด้วยมือเปล่า ทั้งนี้ เพื่อสุขอนามัยโดยรวมของคนที่บาดเจ็บด้วย ให้เรียกแพทย์สนามหรือเจ้าหน้าที่มาปฐมพยาบาลจนเลือดหยุดไหล และทำความสะอาดแผล ปิดปากแผลให้เรียบร้อยด้วยผ้าก๊อซจะดีที่สุด แต่ก็ยังไม่เคยมีรายงานอีกเช่นกันว่ามีคน
ติดเชื้อเอชไอวีจากกรณีแบบน
Myth :   การอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทั้งการหายใจรดกันห รือรับประทานอาหารร่วมกัน ทำให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีด้วย
Fact :   ไม่จริงเลย เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสที่ไวและอ่อนแอ เมื่อโดนความร้อนจากแสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศภายนอกร่างกาย จึงไม่สามารถแพร่หรือติดต่อทางการหายใจ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้จาน ชาม แก้วน้ำ หรือช้อนส้อมร่วมกัน การกอด การจับมือ การหอมแก้ม การใช้ห้องน้ำหรือโทรศัพท์สาธารณะ การว่ายน้ำร่วมสระเดียวกัน ซึ่งโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมีน้อย

ความทรมานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ อาจจะไม่ใช่อาการของโรคแทรกซ้อนอย่างเดียว แต่เป็นความเข้าใจและไม่แสดงท่าทางรังเกียจของคนรอบข้าง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อเอชไอวีไปสู่คนที่คุณรัก อย่าลืมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ ถ้าทำได้แบบนี้ก็เท่ากับป้องกันโรคเอดส์และยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์อื่นๆ ได้อีก เพราะถ้าทุกคนร่วมใจป้องกัน ก็จะสำเร็จดั่งคำขวัญขององค์การอนามัยโลกที่รณรงค์ใช้ในปี 2007-2008 ว่า “Stop AIDS. Keep the Promise” หรือ “เอด์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา”

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ความรู้เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี และ โรคเอดส์
 
เอดส์ : ภัยร้ายของวัยไร้เดียงสา
 
โรคตับอักเสบ จาก ไวรัสเอ
 
ไวรัส (ตับอักเสบบี) พ่าย เมื่อร่างกายแข็งแรง
 
เป็นโรคตับจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.