โรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ เอชไอวี เชื้อไวรัสนี้จะทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง จนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายได้รับเข้ามา จึงเกิดโรคฉวยโอกาสต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย การติดเชื้อเอชไอวีพบครั้งแรกในประเทศแถบแอฟริกา ปัจจุบันโรคเอดส์ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งคาดว่ามีผู้ติดเชื้อแล้วประมาณ 1 ล้านคน
การติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส สามารถติดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้หลายทาง กล่าวคือ
|
1. |
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยและสำคัญที่สุด |
|
|
การได้รับเลือดจากผู้ที่มีเชื้อ รวมไปถึงการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน |
|
3. |
จากมารดาสู่ทารก |
ส่วนในน้ำลาย น้ำตา น้ำนม ปัสสาวะ มีเชื้อน้อยมาก ดังนั้นการอยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ว่าการทำงานร่วมกัน ใกล้ลมหายใจผู้ติดเชื้อ การสัมผัสมือ หรือว่ายน้ำในสระเดียวกัน จึงไม่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้โรคเอดส์ยังไม่แพร่เชื้อโดยยุง เห็บหรือหมัด
ความเจ็บป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวีแบ่งได้ เป็น 4 ระยะคือ
|
1. |
การติดเชื้อระยะเฉียบพลัน ภายหลังจากการได้รับเชื้อและเกิดการติดเชื้อแล้ว จะ
เข้าสู่ระยะฟักตัวของโรคซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50-90 จะมีอาการ แต่มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัย เนื่องจากมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่อาจมีอาการบางอย่างที่ต่างกันเช่น ฝ้าขาวในปาก และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นเอง |
|
|
ระยะที่ไม่แสดงอาการ เมื่อสิ้นสุดการติดเชื้อระยะเฉียบพลัน ร่างกายจะสร้าง
ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวี ผู้ที่อยู่ในระยะนี้จะไม่มีอาการ และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะนี้ สามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว การตรวจร่างกายมักจะไม่พบสิ่งผิดปกติ ยกเว้นอาจจะมีต่อมน้ำเหลืองขนาดเล็กได้ จะทราบว่ามีการติดเชื้อถ้าได้เจาะเลือดตรวจเท่านั้น |
|
3. |
ระยะแสดงอาการ ในระยะนี้ภูมิต้านทานของร่างกายเริ่มต่ำลง ผู้ป่วยจะเริ่มมี
อาการเช่น เชื้อราในปาก ไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต อุจจาระร่วง อาจมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสเช่น งูสวัด วัณโรค หรือปอดอักเสบ |
|
4. |
ระยะแสดงอาการขั้นรุนแรงหรือเอดส์ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเอดส์ได้แก่
ผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวซีดีสี่น้อยว่า 200 ตัว หรือมีภาวะที่บ่งชี้ว่าเป็นเอดส์เช่น วัณโรค เชื้อราที่เยื่อหุ้มสมอง โดยปกติตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งกลายเป็นเอดส์เต็มขั้นและเสียชีวิตจะใช้เวลา 7-10 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งไม่รับเชื้อเอชไอวีเพิ่มและการได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ |
ซีดีสี่ คือ เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เป็นตัวหลัก ในการกำจัดและควบคุมเชื้อโรคต่างๆ และมีบทบาทในการสร้าง สารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับเชื้อโรคด้วย ซีดีสี่เป็นเป้าหมายในการโจมตีของเชื้อไวรัส เมื่อซีดีสี่ถูกทำลายมากๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง ดังนั้น การตรวจวัดจำนวนซีดีสี่เป็นตัวบ่งชี้ระดับภูมิต้านทานของผู้ที่ติดเชื้อ การตรวจซีดีสี่คือ การตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีสี่ ถ้ามีปริมาณซีดีสี่มาก หมายถึง ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังดี คนปกติโดยทั่วไปมีจำนวนซีดีสี่ประมาณ 500 ตัวขึ้นไปจนถึง 1,500 ตัว ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีทุกราย ควรได้รับการตรวจปริมาณซีดีสี่ เพื่อจะได้ทราบว่าตนเองอยู่ในระยะใด ต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือไม่ และต้องได้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือไม่
โรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาได้ การรักษาด้วยยาต้านไวรัส เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลรักษาผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะต้องประกอบด้วยยาอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันตามสูตรยา ที่มีการศึกษาไว้ว่ามีประสิทธิภาพดี จำเป็นต้องรับประทานยาทุกวัน ตลอดชีวิต จะสามารถลดปริมาณไวรัสเอชไอวีให้อยู่ในปริมาณน้อย จนไม่สามารถวัดได้ ทำให้ปริมาณซีดีสี่หรือเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น ทำให้อุบัติการณ์ของโรคฉวยโอกาสลดลง ทำให้ผู้ติดเชื้อมีการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะเอดส์ช้าลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอัตราทุพลภาพและอัตราตาย แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีสูตรยาใด ที่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยให้หายขาด
ผู้ที่ควรจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างแน่นอนมี 3 กรณีคือ
|
1. |
ผู้ที่อยู่ในระยะมีอาการ หรือ |
|
|
ผู้ที่ยังไม่มีอาการแต่มีปริมาณซีดีสี่น้อยกว่า 200 ตัวหรือ |
|
3. |
ผู้ที่ป่วยหรือเคยป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสโรคใดโรคหนึ่ง ที่บ่งชี้ว่าภูมิต้านทาน
บกพร่อง เช่น เชื้อราในปาก เชื้อราในหลอดอาหาร ริ้วขาวข้างลิ้น ตุ่มพีพีอี วัณโรค ปอดอักเสบพีซีพี เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น |
ผู้ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ควรได้รับการตรวจเลือด เพื่อหาว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่มีอาการ จะได้ทำการรักษาและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
|
1. |
ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ |
|
|
ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่ หรือแต่งงาน |
|
3. |
ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนมีพฤติกรรมเสี่ยง |
|
4. |
ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือหญิงที่ตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของมารดาและบุตร |
|
5. |
ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้เป็นเวลานาน แม้ว่าอาการเหล่านี้อาจพบในโรคอื่นได้ด้วย เช่น
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว มีไข้ต่ำๆ เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ท้องเสียเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ เป็นเชื้อราในช่องปาก เป็นต้น |
การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การงดเพศสัมพันธ์คือ หัวใจสำคัญที่สุดที่จะปลอดภัยจากเอดส์ หรือการมีเพศสัมพันธ์ที่มีการป้องกัน ดังนั้น ต้องป้องตัวเองทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์ โดยสวมถุงยางอนามัย การป้องกันยังรวมถึง การไม่ใช้ของมีคมรวมกับผู้เป็นเอดส์ เช่น เข็มฉีดยา มีดโกนหนวด การเจาะหู การสักยันต์ ที่ไม่แน่ใจว่าทำความสะอาดเครื่องมืออย่างดีจนเชื่อถือได้ ไม่บริจาคเลือดให้ผู้อื่น
|