หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


สาเหตุของอาการนอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน ได้แก่

 
•
ความเครียดอย่างรุนแรงในชีวิต (การเปลี่ยนหรือสูญเสียงาน, การเสียชีวิตของคนใกล้ชิด, การเปลี่ยนที่อยู่)
 
•
ความเจ็บป่วยของจิตใจและร่างกาย
 
•
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสียง แสง หรือ อุณหภูมิร้อนจัดเย็นจัด
 
•
การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรการนอนอย่างกะทันหัน เช่น เจ็ตแล็ก (jet lag) การเปลี่ยนเวลานอนจากกลางคืนเป็นกลางวัน

สาเหตุของการนอนไม่หลับเรื้อรัง

 
•
โรคซึมเศร้า
 
•
ความเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน
 
•
ความเจ็บป่วยหรือความไม่สบายตัวในช่วงเวลากลางคืน

คุณกำลังเข้าสู่ภาวะของโรคนอนไม่หลับหรือเปล่า ?

อาการของโรคนอนไม่หลับ

 
•
งีบหลับระหว่างวัน
 
•
รู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ
 
•
ฉุนเฉียวง่าย
 
•
มีปัญหากับการจดจ่อหรือตั้งสมาธิกับเรื่องต่างๆ

มีวิธีวินิจฉับโรคนอนไม่หลับอย่างไร

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคนอนไม่หลับ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว การวินิจฉัยจะครอบคลุม ทั้งการตรวจร่างกายภายนอก การศึกษาประวัติทางการแพทย์ ประวัติการนอนหลับ แพทย์อาจขอร้องให้คุณทำไดอารี่การนอนหลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ทราบถึงแบบแผนการนอน และอารมณ์ความรู้สึกของคุณระหว่างนั้น บางกรณีแพทย์อาจต้องการพูดคุย กับคนที่นอนข้างๆ คุณด้วย เพราะเขาหรือเธออาจให้ข้อมูล ที่มีประโยชน์เกี่ยวกับการนอนหลับของคุณ หรือคุณอาจต้องค้างคืนที่สถานพยาบาล เพื่อให้แพทย์เข้าใจพฤติกรรมการนอนหลับของคุณได้อย่างถูกต้อง

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

าการนอนไม่หลับแบบเฉียบพลัน ไม่จำเป็นต้องอาศัยการรักษา เพราะเมื่อสาเหตุอันทำให้นอนไม่หลับหมดไป หรือปรับตัวได้อาการตาค้างในยามกลางคืนก็จะหายไปเอง สำหรับโรคนอนไม่หลับอย่างอ่อน สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ โดยการฝึกนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าปัญหาการนอนไม่หลับ เริ่มส่งผลต่อการทำงานในเวลากลางวัน โดยการทำให้คุณรู้สึกง่วงงุนและเหนื่อยล้า แพทย์อาจสั่งยานอนหลับให้รับประทานชั่วระยะหนึ่ง การรักษาตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรง ช่วยร่นระยะเวลาการรักษาได้มาก และไม่ควรซื้อยานอนหลับ มารับประทานเองอย่างเด็ดขาด

การรักษาโรคนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง จะเริ่มต้นจากการรักษาสภาวะปัญหาสุขภาพแฝงเร้น ที่เป็นสาเหตุของโรค และถ้าอาการยังไม่ทุเลา แพทย์อาจแนะนำให้ทำพฤติกรรมบำบัด เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม ที่เพิ่มความรุนแรงให้กับโรคนอนไม่หลับ และเรียนรู้สุขลักษณะนิสัย ที่ช่วยกระตุ้นความง่วงเหงาหาวนอน เทคนิคแบบนี้มีตั้งแต่การออกกำลังกาย เพื่อความผ่อนคลาย การขจัดข้อจำกัดในการนอนหลับ หรือหรับสภาวะร่างกาย

สุขลักษณะและนิสัยที่ช่วยให้หลับง่าย – เคล็ดลับเพื่อการนอนหลับผันดีมีดังต่อไปนี้

 
•
พยายามเข้านอนเวลาเดียวกันทุกคืน และตื่นในเวลาเดียวกันทุกเช้า อย่านอนหรือแอบงีบในยามกลางวัน เพราะจะทำให้ตาแข็งตอนกลางคืน
 
•
หลีกเลี่ยงกาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะช่วงใกล้ถึงเวลานอน เพราะกาเฟอีนและนิโคติน จะกระตุ้นให้ร่างกายกระฉับกระเฉง ซึ่งไม่เหมาะกับการเข้านอนแน่ ส่วนแอลกอฮอล์จะทำให้หลับไม่สนิท
 
•
ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่อย่าออกในเวลาใกล้เข้านอน อย่างน้อยต้องเว้นระยะห่างไว้ 3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัวและหลับยาก
 
•
อย่ารับประทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนเข้านอน เลือกของว่างที่มีคุณค่าทางอาหารสูงดีกว่า
 
•
ปรับปรุงห้องนอนให้ชวนนิทรา ห้องนอนควรจะมืด สงบและเงียบ ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป ถ้าปัญหาคือเรื่องแสงสว่าง ลองใช้หน้ากากสำหรับปิดตา ถ้ามีปัญหาเรื่องมลภาวะทางเสียง ก็ลองใช้ที่อุดหู หรือเปิดเพลงโปรดฟังจังหวะช้าๆ ฟังเพื่อกลบเสียงรกหูเหล่านั้น
 
•
ทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง แช่ตัวในน้ำอุ่น เป็นต้น
 
•
หลีกเลี่ยงการใช้เตียง เพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่น นอกเหนือจากการนอนหลับและเซ็กซ์
 
•
ถ้าคุณนอนไม่หลับไม่รู้สึกง่วง อย่าเสียเวลานอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนเตียง ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ หรือทำอย่างอื่น ที่ไม่ต้องใช้แรงงานมากนัก จนกว่าคุณจะเริ่มตาปรือ
 
•
ถ้าความกังวลเกี่ยวกับเรื่องโน้นเรื่องนี้ คือ สาเหตุที่คุณไม่อาจข่มตาให้หลับได้ ลองเขียนรายการสิ่งที่ต้องทำก่อนเข้านอน และวางแผนคร่าวๆ ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยคลายความกังวลและทำให้หลับง่ายขึ้น
 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Alternative Medicine  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ความรู้เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี และ โรคเอดส์
 
ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
 
นอนไม่หลับ
 
(คุณคิดว่า) คุณเป็นโรคนอนไม่หลับ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.