หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การดูแลฟันในผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


การดูแลฟัน ต้องเริ่มทะนุบำรุง ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา เพราะเป็นอวัยวะที่ใช้งานยาวนาน ถ้าฟันไม่ดีทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคกระเพาะ โรคขาดอาหาร ฟันนั้น เมื่อใช้งานมานานย่อมสึกหรอ การดูแลฟันในวัยสูงอายุ จึงมีความสำคัญยิ่ง ฟันในผู้สูงอายุต่างจากวัยอื่นอย่างไร ฟันในผู้สูงอายุ ก็มีลักษณะเหมือนกับฟันในวัยอื่น แต่มักจะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม เนื่องจากใช้บดเคี้ยวมานาน คือ จะมีตัวฟันกร่อน บิ่น สึก ฟันเปลี่ยนสีเหลืองมากขึ้น หรือเป็นสีน้ำตาลแก่ถึงดำ บางครั้งรอบๆ ที่แตกบิ่นถูกทิ้งไว้ โดยไม่รักษาเนื่องจากไม่มีการเจ็บปวด แล้วรากฟันมักจะลอยสูงขึ้นมาเหนือเหงือก หรือพูดได้ว่าเหงือกร่นลงก็ได้ เกิดเพราะมีคราบหินปูนจับที่คอฟันมาก และปล่อยทิ้งไว้นาน จนทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และร่นหนีลงไป ส่วนของรากฟันจึงโผล่ออกมาให้เห็น อีกลักษณะหนึ่งที่พบได้เสมอ คือ เกิดร่องห่างระหว่างซี่ฟัน เกิดจากเหตุสองประการ คือ ฟันสีกันหรือถูกันมานาน จนเกิดสึกกร่อน เป็นร่องหลวมระหว่างฟัน เป็นเหตุให้เศษอาหารตกลงไปติดในช่องฟัน ทำให้เหงือกอักเสบเจ็บปวดได้ หรือทำให้ฟันผุเป็นรูได้ อีกเหตุหนึ่งคือ การที่ถอนฟันออกไปบ้างบางซี่ แล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทนตำแหน่งนั้น ฝืนใช้เคี้ยวอาหาร โดยไม่ได้คิดว่าจะเกิดโทษ เมื่อเวลาเนิ่นนานออกไป แรงบดเคี้ยว จะทำให้ฟันที่อยู่ใกล้ช่องว่าง ล้มเอนลงเข้าไปหาช่องว่าง เกิดฟันเก หรือบิด และเกิดช่องระหว่างฟันใกล้เคียงแทบทุกจุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในวัยสูงอายุ

1. โรคฟันและโรคเหงือก

โรคฟัน หมายถึง ฟันผุ แม้จะพบว่าในวัยสูงอายุจะเกิดฟันผุได้น้อย แต่ก็พบได้เสมอเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าปล่อยให้มีเศษอาหารตกค้าง ติดอยู่ตามซอกฟันอยู่เสมอ เป็นเวลานาน ก็จะเกิดฟันผุขึ้นได้ เพราะเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จะทำปฏิกิริยากับคราบเศษอาหาร แล้วก่อให้เกิดสารที่เป็นกรด กัดกร่อนทำลายผิวฟันให้เป็นรู ฟันที่เป็นรูเล็กและตื้น จะอุดรักษาได้ดี ใช้เคี้ยวอาหารได้ดังเดิม แต่ถ้ารูผุใหญ่มาก ลึกมาก และทะลุเข้าสู่โพรงประสาทด้วย ก็มักจะรักษาไม่ได้ เพราะมีอาการปวด และหรือถ้ามีรูผุนั้น ใหญ่มากจนบูรณะไม่ได้ จำเป็นต้อนถอนออก การถอนฟัน เป็นการขจัดอาการปวดได้เป็นอย่างดี แต่ทำให้เสียอวัยวะ ที่ต้องใช้การบดเคี้ยวไป ถ้าเป็นฟันหน้า ก็จะเสียบุคลิกและความสวยงามไปด้วย ต้องเสียเงินในการทำฟันปลอมใส่เสริมขึ้น ถ้าไม่ใส่ฟันปลอม จะด้วยเหตุใดก็ตาม จะทำให้เกิดฟันล้ม ฟันบิด เก และฟันห่าง ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย 

โรคฟัน มักนำมาซึ่งการติดเชื้อ และลุกลามลงไปสู่ กระดูกขากรรไกรใต้รากฟัน ทำให้เกิดโรคที่อันตรายอื่นๆ เช่น กระดูกขากรรไกรเน่า ถึงน้ำในกระดูกขากรรไกร หรือเกิดเป็นโรคมะเร็งได้

2. อุบัติเหตุจากการใช้งาน

ฟันในวัยสูงอายุ เป็นอวัยวะที่ใช้บดเคี้ยวอาหารมานาน ผ่านงานมาแยะ ย่อมเกิดการสึกกร่อนของผิวฟัน และเนื้อฟันเป็นธรรมดา โดยเฉพาะด้านที่ใช้บดเคี้ยวจะสึกได้มาก ทำให้มองเห็นตัวฟันนั้นๆ และค่อนข้างแบน ด้านข้างของตัวฟัน มักจะมีรอยสีดำเกิด เพราะแปรงฟันด้วยแปรงที่มีขนแข็งมากเกินไป ผิวฟันสึกหรือกร่อนหายไป มองเห็นตัวฟันนอก หรือทำให้เกิดหักได้

อุบัติเหตุที่ทำให้ฟันหัก แตกบิ่น มักจะเกิดจากการเคี้ยวอาหารแข็งๆ โดยไม่ตั้งใจ เช่นเคี้ยวเศษกระดูก กัดก้อนเม็ดกรวดทรายในข้าว กัดน้ำแข็ง หรืออาหารและวัสดุอื่นๆ ที่มีความแข็งมากจนฟันทนไม่ได้ ฟันบิ่นอาจเกิดเป็นจุดเล็กๆ ที่ผิวฟัน โดยไม่มีอาการเสียวเจ็บแต่อย่างใด หรืออาจเกิดเป็นรอยร้าวมากมาย ผ่าลงไปในตัวฟันก็ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดเสียวมาก จนต้องถอนฟันนั้นออก

  ฟันมีความสัมพันธ์กับโรคในระบบอื่นของร่างกายหรือไม่
  ผู้สูงอายุควรดูแลรักษาฟันอย่างไร

 

ทพ.สมนึก   วัฒนสุนทร 
งานทันตกรรม รพ.ศิริราช

 
       
    แหล่งข้อมูล : Siriraj E-Public Library - www.si.mahidol.ac.th  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
โรคต้อกระจก
 
สุขภาพฟันในผู้สูงอายุ
 
ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.