ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร เมื่อเราอายุมากขึ้น |
---|
ประเทศไทยของเรา มีประชากรสูงอายุประมาณ 5 ล้านคน เมื่อ พ.ศ.2543 คือ ประมาณร้อยละ 10 และมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการแพทย์เจริญขึ้น ทำให้คนมีอายุยืนขึ้น ในขณะที่มีการควบคุมประชากรกันมาก เด็กเกิดใหม่น้อยลง ในปัจจุบันนี้ คนไทยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 72 ปี โดยผู้หญิงจะมีอายุเฉลี่ย 74.9 ปี ส่วนผู้ชายมีอายุเฉลี่ย 69.9 ปี เมื่อเรามีอายุยืนขึ้น สุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เรา มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำเป็นที่เราจะต้องดูแลเอาใจใส่สุขภาพให้มาก สุขภาพช่องปาก มีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพช่องปากนั้นถือเป็นต้นทาง ของการมีสุขภาพที่ดี ถ้าเรามีเหงือกและฟันแข็งแรง เคี้ยวอาหารได้ดี รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ได้ครบถ้วน ก็ย่อมจะทำให้ สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรงด้วย ความเปลี่ยนแปลงของช่องปาก องค์การอนามัยโลก กำหนดคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพว่า คนเราเมื่ออายุเกิน 60 ปี ควรจะมีฟันที่ใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ มีฟันกรามสบกันดีทั้งซ้ายขวา อย่างน้อยข้างละ 2 คู่ นอกจากนี้ ยังต้องมีเหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบ จึงจะถือว่าเป็นผู้มีสุขภาพช่องปากดี ร่างกายของคนเราก็เหมือนกับเครื่องยนต์ ที่มีการสึกหรอและเสื่อมสภาพไป เมื่อใช้งานนานเข้า เหงือกและฟันก็เช่นเดียวกัน จะมีการเปลี่ยนแปลงตามวัย จึงมีการเข้าใจผิดว่า เมื่ออายุมากขึ้น ฟันจะหลุดไปเองตามธรรมชาติ แต่จากการที่องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดไว้เช่นนี้ ก็ย่อมแสดงว่า เราสามารถมีฟันไว้ใช้งานไปได้ตลอดชีวิต ตราบที่เราดูแลรักษาความสะอาด ไม่มีฟันผุ หรือโรคเหงือกอักเสบเกิดขึ้น เราเองก็คงพบเห็น ท่านผู้สูงอายุหลายๆ คนที่มีฟันอยู่เต็มปาก แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม ฟันที่ใช้งานมานาน หรือฟันที่มีอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนสี จากขาวนวลเป็นสีคล้ำขุ่นขึ้น เพราะมีการสะสมของเซลล์เม็ดสีเพิ่มขึ้น เหมือนที่เกิดกับผิวหนังทั่วไป เหงือกจะร่นบริเวณคอฟัน ทำให้มองเห็นฟันซี่ยาวขึ้น เหงือกบริเวณซอกฟันจะหดตัวลง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซอกฟัน เศษอาหารติดง่าย ถ้าทำความสะอาดไม่ดี ก็จะทำให้ฟันผุ หรือเกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบ จะเห็นได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสเกิดฟันผุ บริเวณโคนฟันจะมีมากขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุ จะเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็น อาหารหวาน หรืออาหารและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เนื่องจากเคลือบฟัน จะสึกหรอไปจากการใช้เคี้ยวอาหาร หรือจากการแปรงฟัน เนื้อเยื่อในช่องปาก ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุจะรู้สึกว่ารับประทานอาหาร ที่มีรสจัดไม่ค่อยได้ จะมีอาการแสบร้อนในช่องปาก บางคนจะมีอาการปากแห้ง น้ำลายน้อยลง โดยเฉพาะเวลารับประทานอาหาร ต้องจิบน้ำบ่อยๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากนั้น อาการปากแห้ง อาจเกิดจากผลของการได้รับยาต่างๆ หรือภาวะผิดปกติบางอย่าง อาการปากแห้งนี้ หากเป็นมาก ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การดูแลทันตสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี พฤติกรรมทันตสุขภาพที่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นหนทางให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีมีอยู่ 6 ประการ คือ
การที่เรามีอายุมากขึ้น สิ่งที่ทุกคนต้องการก็คือการมีสุขภาพดี ซึ่งจะเกิดจากการดูแลเอาใจใส่ และการปฏิบัติตัวของเราเอง ไม่ใช่สิ่งที่เราจะให้หรือซื้อขายกันได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : www.elib-online.com | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |