ในวัยสูงอายุ คุณอาจรู้สึกสงสัยขึ้นมาว่า ทำไม รองเท้าคู่โปรดที่เคยใส่ได้พอดีเปรี๊ยะ มาถึงตอนนี้ทำไมหลวมหรือคับไปแล้ว ทำไมเวลาเดินถึงเกิดอาการเจ็บเท้าขึ้นมา ทำไมเท้าของเราจึงไม่เหมือนเดิม... ?
ที่เป็นแบบนี้เพราะว่าเท้าที่รองรับน้ำหนักทั้งตัวของคนเรานั้นมี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดอยู่ตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น แม้แต่โครงกระดูกบริเวณเท้าของเราก็เปลี่ยนไป ทำให้ขนาดและรูปร่างเท้าของเราเปลี่ยนตามไปด้วย คุณจึงอาจรู้สึกว่าใส่รองเท้าคู่เก่าไม่พอดีเหมือนเคย ต้องเปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงแบบใหม่
ไม่เพียงเท่านั้น แม้แต่ฝ่าเท้า ส้นเท้า หรือปุ่มกระดูกต่างๆ ก็บางลงไปด้วย บริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้าซึ่งปกติมีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อหนาๆ ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกเวลาที่เราเดิน ยืน วิ่ง ต่างๆ ช่วยปกป้องเท้าไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ แต่พอเราอายุมากขึ้น แผ่นที่ว่านี้ก็กลับ บางลง ทำให้ประสิทธิภาพในการปกป้องเท้ามีน้อยลงตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บเพิ่มขึ้น
ในส่วนของผิวหนังและเล็บนั้น การที่คนสูงอายุมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดต่ำลงตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ผิวหนังและเล็บ มีโอกาสติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ง่าย แถมเมื่อผิวบางลง โอกาสเสียดสีกับสิ่งต่างๆ จนกลายเป็นแผลก็ง่ายขึ้นกว่าสมัยเป็นหนุ่มสาว
แต่อย่าเพิ่งกังวลนะคะ เพราะปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเท้าส่วนมากเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ไม่ยาก เพียงแต่หมั่นดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกายให้ดี รวมทั้งการดูแลเท้าอย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้กลับเป็นปกติได้
ปัญหาเกี่ยวกับเท้าที่พบบ่อยๆ ในหมู่ผู้สูงอายุ ได้แก่
เท้ากับโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานนั้นส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัว ไม่สามารถนำเลือดที่ประกอบกับออกซิเจนไหลเวียนได้อย่างสะดวกเช่นคนปกติ ดังนั้น เมื่อเกิดบาดแผลใดๆ ที่ผิวหนังแล้วออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอจึงทำให้ แผลหายช้า และอาจเกิดการติดเชื้อง่ายมาก แถมเบาหวานยังทำให้ เส้นประสาทบริเวณต่างๆ สูญเสียการรับรู้ไป ดังนั้นเวลาที่เกิดบาดแผล ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานจึงอาจไม่รู้ตัวเพราะไม่รู้สึกเจ็บและทำให้ไม่ได้ระวังรักษาแผล ค่อนข้างอันตรายพอสมควรหากเกิดการติดเชื้อ ดังนั้นจึงต้องควรระวังมากที่สุดไม่ให้เท้าของคุณเกิดบาดแผล และเมื่อเป็นเบาหวานก็ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระบบประสาทและหลอดเลือดทั่วร่างกายให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีหนึ่งที่จะช่วยรักษาเท้าของคุณ คือการหมั่นกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณเท้า โดย
|
|
บริหารด้วยการยกเท้าขึ้นลงเวลาคุณนั่งบนเก้าอี้ |
|
|
หากต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ให้ยืนขึ้นและยืดเหยียดเท้า ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปทั่วถึงมากขึ้น |
|
|
ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะจะไปอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด |
|
|
ไม่สูบบุหรี่ เพราะนิโคตินและสารต่างๆ ในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดยิ่งอุดตันมากขึ้น |
|
|
พยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ หมั่นเดินออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่บริเวณเท้าด้วย |
เมื่อเกิดอาการเจ็บที่เท้า
เท้าเจ็บเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือการที่ผิวหนัง บางลง และสูญเสียความยืดหยุ่นไปอย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูก ข้อต่อ เกิดอาการเหน็บชา ปวดจี๊ด เจ็บข้อนิ้ว มีกระดูกปูดโปนโผล่ขึ้นมา หรือรู้สึกซ่าตามนิ้วเท้าหรือปลายเท้า หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธีจะยิ่งทำให้เดินไม่สะดวก กลายเป็นวันๆ นั่งอยู่เฉยๆ ทำให้ขาด การออกกำลังกาย ผลเสียอื่นๆ ก็จะตามมาอีกเป็นแถวยาว ดังนั้น ทางที่ดีหากรู้สึกถึงความผิดปกติจึงควรไปปรึกษาคุณหมอทำการรักษา อย่างไรก็ตามเรามีวิธีดูแลรักษาเท้าเบื้องต้นเพื่อป้องกันการเจ็บปวด มาให้คุณลองปฏิบัติตามดูค่ะ
สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องดูแลให้ดีคือ การเลือกรองเท้า สำหรับ การทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการเดินสำหรับวัยสูงอายุ
|
|
ควรเป็นรองเท้าที่มีพื้นนุ่ม ยืดหยุ่น กระชับเท้า ช่วยลดแรงกระแทกได้ดี และช่วยผ่อนแรงเวลาเดิน หากรูปเท้าของคุณไม่พอดีกับรองเท้าที่มีอยู่ในท้องตลาดอาจจำเป็นต้องสั่งตัดรองเท้าตามขนาดจริง - วัดขนาดเท้าของคุณให้แน่นอนเวลาไปซื้อรองเท้า ทางที่ดี ควรไปเลือกและลองรองเท้าที่ร้านด้วยตัวเอง เลือกขนาดที่คิดว่า เดินสบายที่สุด แต่หากจำเป็นต้องวานลูกหลานเป็นคนซื้อให้ อย่างน้อยก็ควรวาดขนาดเท้าลงบนกระดาษเพื่อนำไปเทียบกับขนาดจริง การกะด้วยสายตาเปล่าอาจไม่ถูกต้องเสมอไป |
|
|
ไม่ควรเลือกรองเท้าที่บีบเท้าหรือนิ้วเท้าจนแน่น หรือหลวม เกินไป จะช่วยให้เท้าของคุณวางตัวอย่างเหมาะสมพอดี ไม่ฝืนให้กระดูกข้อต่อตามนิ้วเท้า หรือข้อเท้างอผิดรูปไปจากธรรมชาติ หากรองเท้า หลวมไปอาจจะทำให้เวลาเดินแล้วสะดุด หรือลื่น รวมทั้งวัสดุที่ใช้ควรมีความนุ่มพอสมควรที่จะไม่ทำให้เกิดการเสียดสี อันอาจก่อให้เกิดแผลพุพองเจ็บแสบตามมา |
|
|
เลือกสวมรองเท้าส้นเตี้ย (ประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว) เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อขาต้องออกแรงเกร็งมากเวลาเดิน และลดความเสี่ยงใน การเกิดรองเท้าพลิกหรือหกล้ม |
|
|
รองเท้าบางคู่แม้จะมีแผ่นรองรับน้ำหนักนุ่มๆ ที่พื้นรองเท้า ให้แล้ว อาจยังไม่พอดีกับรูปเท้าที่เปลี่ยนไป ดังนั้นอาจหาซื้อ แผ่นบุรองเท้ามาเสริมเพื่อให้กระชับมากที่สุด |
|
|
เวลาซื้อรองเท้าคู่ใหม่เอี่ยม คุณอาจต้องใช้เวลาสร้างความคุ้นเคยกับมันก่อน โดยการใส่รองเท้าคู่นั้นนานๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลานานขึ้นในแต่ละวัน เมื่อใส่แล้วต้องไม่ควรเกิดแผลพองหรือระคายเคืองเท้า โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวานยิ่งต้องระวังเรื่องนี้ ให้มากที่สุด เพราะเมื่อเป็นแผลแล้วจะไม่หายง่ายๆ |
|
|
ไม่ควรเดินเท้าเปล่าโดยไม่สวมรองเท้า แม้กระทั่งเดินในบ้านก็ควรหารองเท้าแตะสวมใส่เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือถลอกจาก สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้น เนื่องจากผิวหนังของคุณบางลงกว่าเมื่อก่อน |
|
|
ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าในรองเท้าไม่มีสิ่งผิดปกติ เช่น เข็ม ตะปู กรวดทราย ซ่อนอยู่ เพราะบางทีมันทำให้เจ็บตัวได้โดยไม่รู้ตัว ( เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกทำงานด้อยประสิทธิภาพลงตามธรรมชาติ) |
|
|
หากรูปร่างเท้าของคุณผิดไปจากปกติ ควรปรึกษาคุณหมอ ถึงลักษณะรองเท้าที่เหมาะสมกับกรณี |
เท้าทำให้คุณเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ หากเท้าคุณเป็นอะไรขึ้นมาแล้วล่ะก็นอกจากจะไปไหนมาไหนเองได้ไม่สะดวก ไม่เพียงเกิดความอึดอัดใจในชีวิต โดยเฉพาะในคนสูงอายุที่เคลื่อนไหว น้อยจะมีอาการทางสุขภาพอื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น ท้องผูก ระบบย่อยอาหารไม่ดี กล้ามเนื้อลีบ ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดี ฯลฯ การระวังเท้าของคุณให้ดีที่สุดเมื่อสูงวัยขึ้นเป็นเรื่องสำคัญค่ะ
|