คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ |
---|
น้ำตาลในเลือดมาจากอาหารที่รับประทาน นอกจากนี้มาจากการผลิตจากตับ และจากกล้ามเนื้อด้วย เลือดเป็นตัวนำน้ำตาลไปที่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย อินซูลิน คือ สารหรือฮอร์โมนที่หลั่งจากตับอ่อนเพื่อเป็นตัวนำพาน้ำตาลจากอาหารเข้าเซลล์ ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอหรือถ้าอินซูลินทำงานได้ไม่เต็มที่ น้ำตาลก็จะเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ จึงส่งผลให้เลือดมีน้ำตาลสูง เบาหวานที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ ที่เรียกว่าเบาหวานประเภทที่ 2 อาจเกิดขึ้นช่วงอายุใดก็ได้ แม้กระทั่งวัยเด็ก เบาหวานชนิดนี้เกิดจากภาวะต้านอินซูลิน นั่นคือ เซลล์ต่างๆ ไม่สามารถใช้อินซูลินได้เต็มที่ ในช่วงแรกๆ ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น แต่แล้วตับอ่อนก็จะไม่สามารถหลั่งอินซูลินมาเพื่อตอบสนองกับน้ำตาลสูงๆ ได้ การมีน้ำหนักตัวมากและขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่2 มาก เมื่อผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้มากเท่าที่ต้องการจึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ถ้าน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์คุมได้ไม่ดีจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งโรคตา โรคไต โรคระบบประสาท แต่ที่จะเป็นปัญหามากที่สุด คือ โรคหัวใจ ผู้เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือเส้นเลือดสมองแตกมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่เป็นเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้คือ ต้องคุมไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด การตรวจน้ำตาลเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ทราบว่าแบบแผนการรับประทาน และการออกกำลังกายเหมาะสมหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องรอตรวจเฉพาะช่วงเช้าตอนตื่นนอน แต่จะตรวจ 1 ถึง 2 ชั่วโมงหลังอาหาร หรือจะเป็นช่วงก่อนนอนก็ได้ ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะยากสักนิดที่จะคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ตลอดเวลา แต่ถ้าระดับน้ำตาลใกล้เป้าหมายเท่าใด ก็จะทำให้ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดลง และจะทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นขั้นเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จะช่วยได้มาก เป้าหมายระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวานคือ
ผู้เป็นเบาหวาน ควรมีแบบแผนการรับประทานอาหารที่เฉพาะเจาะจงให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของตนเอง ควรให้แพทย์แนะนำไปปรึกษากับนักกำหนดอาหาร เพื่อให้จัดแบบแผนการรับประทานขึ้นมา อาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานไม่น่าแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ ในครอบครัว ซึ่งควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนจากอาหารหลากหลาย มีสารอาหารที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
สิ่งหนึ่งที่ผู้ฉีดอินซูลินมักประสบเมื่อมีน้ำหนักลง หรือเมื่อรับประทานอาหารไม่ได้ คือ จะมีภาวะน้ำตาลต่ำบ่อย จึงควรสังเกตอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ ได้แก่ รู้สึกอ่อนเพลีย มึน ใจสั่นมือสั่น หงุดหงิด ปวดศีรษะ รู้สึกหิว ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้ช็อกเป็นลมได้ วิธีแก้ภาวะน้ำตาลต่ำควรปฏิบัติดังนี้
ข้อควรระวังสำหรับการแก้ไขภาวะน้ำตาลต่ำ
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำทำได้โดย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งข้อมูล : นิตยสาร HealthToday | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved. |