|
|
|
คำจำกัดความของคำว่า " โรคอัมพาต" |
|
|
|
คำว่าอัมพาต ในภาษาชาวบ้าน ก็หมายถึง โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ในระบบประสาทอย่างฉับพลัน โดยความหมายทั่วไป ก็จะหมายถึง แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงไปหรือเดินไม่ได้ |
|
|
|
อัมพาต และอัมพฤกษ์ เป็นโรคชนิดเดี่ยวกันหรือไม่ |
|
|
|
อัมพาตมักจะเป็นมาก และอัมพฤกษ์จะเป็นน้อยกว่า ในภาษาแพทย์ โรคหลอดเลือดสมองจะมีหลายแบบ ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือ หลอดเลือดสมองอาจตีบ หรืออุดตัน หรืออาจจะแตก ซึ่งแต่ละชนิด จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้ ซึ่งบางทีอาการอาจคล้ายๆ กัน |
|
|
|
อัมพาต มีกี่ลักษณะ |
|
|
|
ก็จะเกิดขึ้นจากหลอดเลือดสมองที่ตีบ อุดตัน และแตก |
|
|
|
ลักษณะอาการที่ผิดปกติของผู้ป่วยเป็นอมพาตที่มีหลอดเลือดในสมองตีบ จะมีลักษณะอาการผิดปกติอย่างไร |
|
|
|
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีลักษณะแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง และจะทำให้เดินไม่ได้ รู้สึกชา บางรายจะเดินเซ บางรายจะมีอาการปวดหัว อาเจียน หรือพูดจาสับสน โดยสรุป ก็คือ ลักษณะที่จะบ่งชี้ว่าจะเป็นอัมพาต ก็คือ อาการจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด ไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลานานเป็นชั่วโมง ไม่ใช่เป็นวันเป็นเดือน |
|
|
|
นอกจากนี้จะมีโรคอื่นๆ นำมาก่อนหรือไม่ |
|
|
|
ก็มีโรคหลายโรค ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของอัมพาต ยกตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือการสูบบุหรี่ อ้วนเกินไป การใช้ชีวิตที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย นั่งทำงานหรือนั่งโต๊ะอย่างเดียว |
|
|
|
ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด และจะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้นหรือไม่ |
|
|
|
จริงๆ โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่วัยกลางคน ถ้ามองดูในคนอายุน้อย ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เช่น เกิดจากโรคหัวใจบางชนิด ที่มีเส้นเลือดหลุดไปอุดหลอดเลือดสมอง ก็เลยทำให้เกิดอัมพาต แต่พบส่วนน้อย ส่วนใหญ่ถ้ามองในแง่ของปัจจัยเสี่ยง ที่ได้พูดไปข้างต้น จะเป็นโรคของคนวัยกลางคน และมักจะเป็นในผู้ชายได้เร็วกว่าในผู้หญิง ในผู้หญิงจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่าผู้ชาย |
|
|
|
ความแตกต่างของโรคที่เป็นเร็ว เป็นช้าของผู้หญิงหรือผู้ชายเกิดขึ้นจากอะไร |
|
|
|
เข้าใจว่าจะเกิดจากอิทธิพลของ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับเพศ เช่น ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตนเจน ที่มีผลต่อเรื่องไขมันในเลือด หรือโรคหลอดเลือดต่างๆ |
|
|
|
ความก้าวหน้าของวิธีการรักษาในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง |
|
|
|
การรักษาของโรคเส้นเลือดสมองตีบ การรักษาในปัจจุบันก็คือ มีหลัก ต้องรับมารักษาให้เร็วที่สุด ดังนั้น เมื่อไหร่เริ่มมีอาการชวนให้สงสัยว่า จะเป็นอัมพฤกษ์, อัมพาต จะต้องรับมาโรงพยาบาล ถ้ามาได้เร็วได้เวลาเป็นชั่วโมงยิ่งดี ก็อาจจะมียาบางอย่างจะช่วยได้ ยกตัวอย่าง คือ ยาที่ละลายลิ่มเลือด การให้ยาแอสโพริน เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบมากขึ้น แล้วทำให้เกิดอาการมากขึ้น อันนี้มีการศึกษาชัดเจนว่า ยิ่งให้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่ถ้าเป็นหลอดเลือดอุดตัน บางครั้งก็จะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้มันเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าหลอดเลือดแตก ก็จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ดูอาการกันไป และต้องระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา |
|
|
|
นอกจากนี้จะมีการรักษาวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยอีกหรือไม่ กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง |
|
|
|
คือหลังจากที่อาการของผู้ป่วยคงที่ไม่เป็นมากขึ้น เราก็เริ่มพิจารณาถึงการรักษา เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น การพลิกตัว การป้องกันโรค ปอดบวม โรคติดเชื้ออื่นๆ หรือการดูแลเรื่องดุลน้ำ ดุลเกลือแร่ในร่างกาย และหลังจากนั้น ก็จะพิจารณาเรื่อง การทำกายภาพบำบัด เพื่อการฟื้นฟูในคนไข้สภาพกลับมาดีขึ้น |
|
|
|
ขั้นตอนในการรักษาต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหน |
|
|
|
แล้วแต่สถานการณ์ ก็คือ ถ้าเป็นบ่อยก็จะดีขึ้นเร็ว อาจจะไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดยาวนานมากนัก แต่ถ้าบางรายที่เป็นมาก ก็อาจจะจำเป็นต้องทำสักระยะหนึ่ง บางทีอาจจะเป็นเดือน ถ้าพูดถึงการรักษาระยาว ถ้าเมื่อไหร่ที่เป็นอัมพาตแล้ว เรามักจะรักษาไปตลอดชีวิต เพราะว่ามันมี ความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นอีกได้ ถ้าเคยเป็นมาหนหนึ่งแล้ว ก็อาจจะเป็นอีกได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเคยเป็นมาครั้งหนึ่งแล้ว ก็จะต้องรักษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิต |
|
|
|
ก็หมายความว่า เราไม่สามารถจะไปรักษาอัมพาตให้หายขาดได้ใช่หรือไม่ |
|
|
|
ถ้าเส้นเลือดที่มันตีบไปแล้ว เราจะต้องรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่พูดไปข้างต้น ว่าป้องกันไม่ให้มันตีบมากขึ้น หรือว่าเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตซ้ำอีก |
|
|
|
โรคแทรกซ้อนอะไรบ้างที่มักพบว่าจะเกิดร่วมกับการเป็นอัมพาต |
|
|
|
ในขณะที่เป็นอัมพฤกษ์ , อัมพาต โรคแทรกซ้อนที่เจอบ่อยๆ ก็คือ โรคติดเชื้อ คนไข้ที่นอนนานๆ ก็อาจจะมีโอกาสเป็นปอดบวม ปอดอักเสบ หรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ในขณะเดียวกันการที่นอนนานๆ ไม่ได้พลิกตัวอย่างถูกต้อง ก็จะมีโอกาสเกิดแผลกดทับ และมีการติดเชื้อตามมา |
|
|
|
วิธีการดูแลผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้ใกล้ชิดจะมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง |
|
|
|
ถ้าคนไข้ช่วยตัวเองได้น้อย ไม่สามารถจะลุกขึ้นมานั่งได้เอง เราก็คงจะต้องช่วยเหลือพอสมควร การช่วยเหลือก็ทำได้ตั้งแต่ การพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง ฝึกทำกายภาพบำบัดสำหรับญาติ ก็คือ ญาติจะต้องมาเรียนรู้ วิธีการทำกายภาพบำบัด จากนักกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล เพื่อนำกลับไปทำต่อที่บ้านได้ และจะต้องพยายามให้คนไข้ช่วยตนเอง ให้มากเท่าที่จะทำได้ สมมุติว่า พอจะกินข้าวเองได้ ใช้มือข้างที่ยังดีอยู่ช่วยตัวเองได้ ก็พยายามให้ทำ เพื่อให้คนไข้มีความมั่นใจตัวเองมากขึ้นด้วยว่า ผู้ป่วยยังมีความสามารถอยู่ ไม่ใช่หมดความสามารถแล้ว และเราก็เจอบ่อยว่าคนไข้ที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จะมีโรคซึมเศร้าตามมาได้มาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ช่วยตนเองได้ ญาติไม่ได้ดูแลใกล้ชิด ก็จะยังมีปัญหานี้ตามมา แทนที่จะฟื้นตัวได้ทั้งๆ ที่แข็งแรงขึ้นแล้ว แต่ทางใจไม่แข็งแรง ก็จะแย่ลง |
|
|
|
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้เหมือนเดิมหรือไม่ |
|
|
|
เรื่องของอัมพาต อัมพฤกษ์ นั้นมีหลายระดับ คนที่เป็นน้อย ก็สามารถที่จะกลับมาเดินเป็นได้เหมือนเดิม ส่วนคนที่เป็นมาก อาจจะใช้มือข้างหนึ่งไม่ถนัด อย่างน้อยเป้าหมายของเราฝึกให้เขา ใช้มืออีกข้างหนึ่งมาทดแทนได้ สมมุติว่าเป็นมือขวา อาจจะใช้มือซ้ายตักข้าวเข้าปาก ล้างหน้า แปรงฟันหรือทำกิจกรรมใดๆ ของตัวเองได้ นั่นคือ เป้าหมายที่ต้องการ เราไม่สามารถทำให้แขนขาที่อ่อนแรงไปแล้ว กลับมาดีได้เหมือนเดิม 100% แต่อย่างน้อย เราก็จะพยายามให้ผู้ป่วยช่วยตนเอง ก็คือใช้สิ่งที่มีอยู่มาชดเชย |
|
|
|
อันตรายของโรคอัมพาตมีมากน้อยเพียงใด |
|
|
|
ถ้าโรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้น เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในช่วง 1 เดือนแรกจะมีสูง อาจจะถึง 40% ซึ่งเยอะมาก แต่ถ้าเป็นประเภทของ หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โอกาสที่จะเสียชีวิตก็จะน้อยลง แต่ความพิการก็จะมากขึ้น |
|
|
|
จะป้องกันการเกิดอัมพาตได้อย่างไร |
|
|
|
สำหรับเรื่องของอัมพฤกษ์ อัมพาต การป้องกันคือเป็นหัวใจของเรื่อง เพราะว่าถ้าเป็นแล้ว ก็จะเกิดความพิการหรือเสียชีวิต เพราะฉะนั้น การป้องกัน สามารถทำได้ง่ายๆ ก็คือ ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยที่ยังไม่สูงอายุ การดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เป็น ก็คือ ต้องค้นหาปัจจัยเสี่ยงว่า ตนเองมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือไม่ ปัจจัยเสี่ยงที่ว่าจะค้นได้อย่างไร บางครั้งไม่มีอาการ ก็ต้องไปตรวจสุขภาพประจำปี เช่น วัดความดัน เจาะเลือด เช็คดูเบาหวาน ไขมันในเลือด ถ้าใครที่สูบบุหรี่ต้องงดบุหรี่ ถ้าเจอว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดก็ต้องรีบรักษา ควบคุมให้ดี ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ถ้าใครรู้ตัวว่าอ้วนจะต้องลดความอ้วน ใครที่ไม่ออกกำลังกาย ก็ต้องออกกำลังกาย ก็จะช่วยได้มาก |
|
|
|
ข้อแนะนำในช่วงท้ายรายการ |
|
|
|
ขอให้ท่านผู้ฟังสนใจตัวเอง ตั้งแต่วัยที่ยังไม่ถึงวัยผู้สูงอายุ และมองหาว่าอะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคอัมพฤกษ์, อัมพาต ดังที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีก็มีความสำคัญ แม้กระทั่งการไปพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ไข้หวัด ถ้าจะให้หมอวัดความดันให้ก็จะเป็นการดี ถ้าบังเอิญพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ก็รีบรักษาก็จะช่วยป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์, อัมพาตได้ |