หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคซึมเศร้า
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มประชากรที่มีโอกาสเกิด โรคซึมเศร้าได้มากกว่าวัยอื่น โดยพบว่าร้อยละ 10- 13 ของผู้สูงอายุมีอาการของโรคนี้

ทำไมผู้สูงอายุจึงมีอาการโรคซึมเศร้ามากกว่าวัยอื่น

ในวัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย ได้แก่

 
•
การเปลี่ยนแปลงของ สารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย
 
•
การที่มีโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น
 
•
การเจ็บป่วยทางกาย ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อสมองโดยตรง แต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด หรือเกิดความรู้สึกว่าร่างกายไม่แข็งแรง อาจทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้ เช่น ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคไต ปวดข้อ เป็นต้น
 
•
ยาหลายชนิด อาจทำให้มีอารมณ์เศร้าได้เช่นกัน เช่น ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิด เป็นต้น
 
•
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น ต้องสูญเสียคู่ชีวิต หรือต้องออกจากงาน เนื่องจากเกษียณอายุการทำงาน ทำให้ต้องปรับตัวกับ การดำเนินชีวิตแบบใหม่ ไม่มีเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
 
•
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น การต้องเปลี่ยนบทบาท จากหัวหน้าผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม หรือการที่ไม่ได้รับการยอมรับนับถือจากลูกหลาน เนื่องจากเห็นว่าอายุมากแล้ว ไม่ทันต่อเหตุการณ์ เป็นต้น

อาการโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร

อาจมีอาการไม่มาก จนถึงบางรายมีอาการชัดเจน อาการประกอบไปด้วย

 
•
รู้สึกเซ็ง เศร้าหรือเสียใจอย่างไม่มีเหตุผล
 
•
ความรู้สึกสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวลดลง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรที่เคยชอบ
 
•
นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป       
 
•
รู้สึกตัวเองไร้ค่า คอยตำหนิกล่าวโทษตนเอง
 
•
รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง
 
•
ไม่มีสมาธิ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขี้หลงขี้ลืม
 
•
ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป อาจเบื่ออาหาร หรือบางรายรับประทานมากขึ้น น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้น
 
•
ความคิดและการเคลื่อนไหวเชื่องช้า กระสับกระส่ายหงุดหงิด
 
•
มีความคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย


ควรปฏิบัติตัวอย่างไรถ้ามีโรคซึมเศร้า

ถ้าดูแล้วคิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า ควรปฏิบัติตัวดังนี้

 
•
หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้น คอยพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อให้เพลิดเพลิน ไม่เหงา
 
•
พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถ และบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป
 
•
ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เย็บปักถักร้อย เป็นต้น
 
•
ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เข้าชมรมผู้สูงอายุ ไปออกกำลังกายเป็นประจำ
 
•
ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ควรรีบไปตรวจและแจ้งแพทย์โดยไม่ต้องอาย เนื่องจากโรคนี้ถือเป็นความเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง และสามารถรักษาให้ดีขึ้นและหายขาดได้


นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
 
อาการปัสสาวะราดในผู้สูงอายุ
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
เมื่อผู้สูงอายุนอนไม่หลับ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.