หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อัมพฤกษ์อัมพาต โรคร้ายที่มีแต่ความสูญเสีย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคอัมพาต หากเป็นแล้ว จะไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้เลย ส่วนอัมพฤกษ์ อาการรุนแรงน้อยกว่า และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้

ต้นตอของอัมพฤกษ์อัมพาต

สาเหตุของอัมพาตที่สำคัญมี 2 ประการ คือ

     
 
1.
สมองขาดเลือด ส่วนใหญ่เกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง มีคราบไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ถ้าเกิดที่หลอดเลือดแดงใหญ่ อาการจะเป็นมาก และมักพบว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย ส่วนอีกสาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือด เกิดจากลิ่มเลือดลอยไปติดที่เส้นเลือดในสมอง
 
2.
เส้นเลือดสมองแตก เมื่อเส้นเลือดสมองแตก ทำให้เซลล์สมองตาย ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากความดันโลหิตสูง และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักเสียชีวิตจากเส้นเลือดสมองแตก

สังเกตอาการอัมพฤกษ์อัมพาต

หากมีอาการตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ว่าในขณะนั้นจะรู้สึกสบายดีอยู่ก็ตาม ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ

 
1.
มีอาการชาหรืออ่อนแรงแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
 
2.
ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น
 
3.
พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด
 
4.
มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
 
5.
มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์

ลดปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต

โรคอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ถ้ารู้จักดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

 
1.
  อายุยิ่งมากความเสี่ยงยิ่งเพิ่ม และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกอายุ 10 ปีที่เพิ่มขึ้นหลังอายุ 55 ปี
 
2.
  ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 3-17 เท่า
 
3.
  ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดโรค
 
4.
  ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 2 เท่า เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดแดงเกร็ง ลดความยืดหยุ่นของเส้นเลือด
 
5.
  ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจะมีความเสี่ยงกว่าคนปรกติ 11 เท่า
 
6.
  ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
 
7.
  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความเสี่ยงมากกว่าคนปรกติ 4 เท่า
 
8.
  ผู้ที่เคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน มีความเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำได้อีก
 
9.
  ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ดังนั้นต้องพยายามผ่อนคลายจิตใจ
 
10.
  คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะอ้วนแบบลงพุง
 
11.
  ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีระดับฮอร์โมนสูง
 
12.
  คนที่นอนกรน การนอนกรนอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน และส่งผลให้เป็นอัมพาตได้

วิธีป้องกันโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

 
1.
ลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
 
2.
รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
 
3.
จำกัดการดื่มสุรา
 
4.
ลดอาหารเค็ม ไม่ใส่เกลือ ไม่รับประทานอาหารดอง
 
5.
ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
 
6.
รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

การเตรียมที่อยู่ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต

 
1.
ห้องนอน ควรจัดห้องนอน ห้องน้ำ และห้องอาหารให้อยู่ชั้นเดียวกัน เพื่อที่ผู้ป่วยสามารถเดินช่วยตัวเองให้มากที่สุด
 
2.
ผู้ป่วยที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ ควรใช้เตียงเหมือนเตียงในโรงพยาบาล
 
3.
พื้นเตียงควรเป็นพื้นไม้ โดยสามารถปรับหัวเตียง และมีราวสำหรับให้ผู้ป่วยยึดจับสำหรับพลิกตัว เตียงควรมีความสูงพอเหมาะ ผู้ป่วยสามารถนั่งที่ขอบเตียงโดยเท้าแตะพื้น
 
4.
หากผู้ป่วยไม่สามารถพลิกตัวด้วยตัวเอง อาจมีความจำเป็นต้องใช้เตียงลมเพื่อป้องกันแผลกดทับ
 
5.
ไม่ควรมีของตกแต่งชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะอาจตกแตกได้
 
6.
ควรติดราวไว้ในห้องน้ำ และทางเดินเพื่อให้ผู้ป่วยยึดเวลาเดิน
 
7.
แสงต้องสว่างเพียงพอ
 
8.
ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะผู้ป่วยอาจจะสะดุดได้

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 139

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อัมพฤกษ์อัมพาต ในผู้สูงอายุ
 
อัมพาตในผู้สูงอายุ
 
ปัญหาหัวใจ ในผู้สูงอายุ
 
โรคหลอดเลือดสมอง
 
รู้จักพาร์กินสัน โรคสั่นของคนสูงวัย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.