โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า โรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
|
|
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน |
|
|
โรคหลอดเลือดสมองแตก |
ทั้ง 2 ชนิด จะทำให้สมองส่วนที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือมีก้อนเลือดออก สูญเสียการทำงานในการควบคุม การทำงานของร่างกายอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
|
|
อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก |
|
|
ตามองไม่เห็นภาพซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งหมด |
|
|
มองเห็นภาพซ้อน |
|
|
มีความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น พูดไม่คล่อง ใช้ภาษาผิดหรือไม่เข้าใจภาษา |
|
|
เวียนศีรษะ บ้านหมุน |
|
|
ปวดศีรษะรุนแรง อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน |
|
|
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว กลืนลำบาก |
|
|
ความจำเสื่อม หรือหลงลืมอย่างทันทีทันใด |
|
|
ซึม หมดสติ |
หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ คือ บางคนจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง บางคนอาการแย่ลงภายใน 1-3 วันแรกจากหลอดเลือดสมองมีการอุดตันมากขึ้น บางคนอาการมากที่สุด ในตอนแรกเกิดอาการและคงที่ และบางคนเกิดปัญหาสมองบวมตามมา ซึ่งอาจทำให้อาการทรุดหนักซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดภายใน 3-4 วันแรก หลังจากพ้นระยะนี้ไปจะเป็นช่วงการฟื้นตัว ซึ่งแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน บางรายสามารถฟื้นได้เป็นปกติ บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โดยบางอย่างสามารถแก้ไขได้ ซึ่งนับเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลดี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น อายุมาก มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่สามารถแก้ไขได้ และเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่
|
|
โรคความดันโลหิตสูง |
|
|
โรคเบาหวาน |
|
|
โรคไขมันในเลือดสูง |
|
|
โรคหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจผิดปกติ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ |
|
|
การสูบบุหรี่ |
|
|
ปัจจัยเสี่ยงเสริมอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และควรแก้ไข ได้แก่ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ดื่มสุรา รับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น |
ดังนั้น การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดย
|
|
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุม และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ |
|
|
เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่ สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิด โรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง |
|
|
ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน |
|
|
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ |
|
|
ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ |
|
|
ในรายที่มีความเสี่ยง อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยา กันเลือดแข็งตัว เพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด |
|
|
ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำ ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง |
|
|
ถ้ามีอาการที่สงสัยว่า อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที |
นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
|