หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคมะเร็ง ที่พบบ่อยใน ผู้สูงอายุ และการป้องกัน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคมะเร็ง ที่พบบ่อยในประเทศไทย ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง

ตารางแสดงโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ที่พบบ่อย 5 อันดับแรกของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539

อันดับ

เพศชาย

เพศหญิง

1

มะเร็งตับ

มะเร็งปากมดลูก

2

มะเร็งปอด

มะเร็งเต้านม

3

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก

มะเร็งตับ

4

มะเร็งช่องปาก

มะเร็งปอด

5

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก

การป้องกันโรคมะเร็ง

 
•
หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ สำหรับโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็งโพรงจมูก เป็นต้น
 
•
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ จำกัดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงจากเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและอาหารปรุงสำเร็จ นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารพวกปิ้ง ย่าง รมควัน เนื่องจากมีสารก่อมะเร็งในปริมาณมาก
 
•
ลดน้ำหนักในกรณีที่อ้วน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เกินเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเยื่อบุมดลูก
 
•
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมาก เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งในช่องปาก
 
•
หลีกเลี่ยงการอาบแดดหรือถูกแดดจัด เนื่องจากอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ควรหลีกเลี่ยงการถูกแดดช่วง 10.00 – 16.00 น. ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF อย่างน้อย 15 สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดกุม และสวมแว่นกันแดด
 
•
ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากการที่ไม่ออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม อย่างน้อยควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และพยายามเปลี่ยนกิจกกรมที่ทำอยู่แล้ว เป็นการออกกำลังกาย เช่น เดินขึ้นบันได แทนการใช้ลิฟท์ จอดรถไกลกว่าที่จอดเดิม และใช้การเดินแทน เป็นต้น
 
•
หลีกเลี่ยงจากรังสีและสารเคมีในที่ทำงานและที่บ้าน โดยคอยอ่านคำเตือนของเอกสาร ที่แนบมากับผลิตภัณฑ์เสมอ
 
•
ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และปฏิบัติตามคำแนะนำ ในการตรวจเพิ่มเติมของแพทย์ เช่น ตรวจแป๊บสเมียร์ (Pap's smear) ทุกปีเพื่อหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ฝึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำทุกเดือน และตรวจโดยแพทย์ทุก 1 ปี เป็นต้น
 
•
หลีกเลี่ยงจากการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น ไม่เที่ยวสำส่อน หรือถ้าไม่แน่ใจควรใช้ถุงยางอนามัย ตรวจเลือดว่ามีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือยัง ถ้ายังไม่มีควรฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากเป็นสาเหตุ ที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งตับ ในรายที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรติดตามตรวจกับแพทย์เป็นระยะทุก 6 เดือน
 
•
ในกรณีที่ เคยรับประทานปลาดิบ อาศัยหรือเคยอาศัยอยู่ในภาคอีสาน หรือในชุมชนที่มีผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีตับ หรือมีประวัติมะเร็งท่อน้ำดีในครอบครัว ควรรับการตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิใบไม้ในตับ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

คอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและรีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้

 
•
มีการเปลี่ยนแปลงในการย่อยอาหาร และการขับถ่ายอย่างเรื้อรัง เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
 
•
มีเลือดออกผิดปกติ เช่น ทางช่องคลอด หรือเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ
 
•
มีแผลเรื้อรังไม่หายใน 3 สัปดาห์
 
•
มีก้อนที่เต้านมหรือตามตัว ไฝโตขึ้นหรือเปลี่ยนสี
 
•
ไอเรื้อรังหรือเสียงแหบ
 
•
น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
 
•
หูอื้อเรื้อรัง


นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
โรคซึมเศร้า
 
โรคหลอดเลือดสมอง
 
คุมเบาหวานให้อยู่หมัดในผู้สูงอายุ
 
โลหิตจาง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.