ในสังคมปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น ดังนั้นจึงพบโรคที่มากับผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น ความดันสูง เบาหวาน อัมพาต โรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งบาดแผลเรื้อรังก็เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ที่พบได้บ่อย
บาดแผลเรื้อรัง คืออะไร ? เรามักหมายถึงบาดแผลที่เกิดขึ้นแล้วหายช้ากว่าปกติ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 8 อาทิตย์ ลักษณะของบาดแผลอาจจะมีได้หลายแบบ คือ
|
|
บาดแผลเรื้อรังชนิดที่ขาดการรับรู้ความรู้สึกที่ผิวหนัง จะมีขอบแผลแข็ง ก้นแผลเป็นเนื้อแดงซีด |
|
|
บาดแผลเรื้อรังที่เกิดจากความดันในหลอดเลือดดำสูง บาดแผลกลุ่มนี้จะมีลักษณะขอบแผลไม่นูน แข็ง ก้นแผลเป็นสีแดงซีด ผิวหนังรอบแผลมีลักษณะสีดำคล้ำ |
|
|
บาดแผลเรื้อรังที่เกิดจากการขาดเลือด มักจะพบบริเวณปลายมือ เท้า ผิวหนังที่คุลมแผลจะแห้งดำ ถ้าผิวหนังนี้หลุดลอกมาจะมีลักษณะกันแผลสีซีด ซึ่งอาจจะเป็นไขมันที่แห้งซีด |
|
|
บาดแผลเรื้อรังที่มีสาเหตุจากมะเร็ง ลักษณะบาดแผลมักมีขอบนูนขึ้น ร่วมกับมีเนื้องอกเกินขอบเขตของผิวหนังที่อยู่รอบ |
|
|
บาดแผลเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อเรื้อรังอื่นๆ เช่น วัณโรค เชื้อรา ติดเชื้อที่กระดูก การมีสิ่งแปลกปลอมค้างอยู่ |
คนไหนที่มีบาดแผลเรื้อรังเป็นมานานแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและพิจารณาหาแนวทางการรักษา แนวทางที่แพทย์จะใช้รักษาบาดแผลชนิดนี้ แบ่งเป็น 2 ทางใหญ่ๆ คือ
- รักษาสาเหตุ คือ หาสาเหตุของการเกิด เช่น เป็นเบาหวาน ขาดเลือด หรือติดเชื้อ
- รักษาบาดแผล คือ ลดการติดเชื้อ และสร้างภาวะที่กระตุ้นให้บาดแผลหายดี
การค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรังนี้เป็นเรื่องจำเป็น เพราะถ้ามุ่งแต่จะรักษาบาดแผลอย่างเดียวโดยไม่ตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ในที่สุดแล้วบาดแผลนั้นอาจจะลุกลามและทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายมากขึ้น จนถึงขั้นอาจเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นได้ก่อนเวลาอันควร
ดังนั้น ไม่ควรละเลยเพิกเฉยบาดแผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นไม่ว่าบริเวณใดในร่างกาย
|