อาการตกหมอนหรือคอเคล็ด ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องไม่รุนแรงนัก แต่ก็ไม่ควรละเลย เพราะเวลานอนถือว่าเป็นเวลาพักผ่อนที่มีค่ายิ่งของคนเรา นอกจากการได้นอนหลับลึกหลับสนิท ตามแบบฉบับของชีวจิตแล้ว การที่เราจะตื่นขึ้นมาเจอเช้าวันใหม่ที่สดใส โดยปราศจากความปวดเมื่อย ก็เป็นอีกเรื่องที่ดีไม่น้อยใช่ไหมคะ หากคุณเคยมีประสบการณ์นอนตกหมอน คงรู้ซึ้งถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เพราะเรามีวิธีธรรมชาติบำบัดอาการปวดคอ เหตุจากนอนตกหมอนมาฝากกัน แต่ก่อนอื่นเราควรรู้วิธีป้องกันไว้ก่อนดังนี้ค่ะ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
|
|
เปลี่ยนหมอนหนุนให้เหมาะสม ไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป ทดลองนอนดู ควรใช้หมอนที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสม รับกับต้นคอพอดี หรืออาจจะใช้หมอนหนุนเฉพาะคอ ไม่หนุนศีรษะ หมอนดังกล่าวนี้อาจจะหาซื้อได้ หรือใช้หมอนข้างอันเล็กๆ มาหนุนแทน หมอนพิเศษนี้จะทำให้ศีรษะอยู่ในท่าพักตลอดเวลาที่เรานอน |
|
|
สำรวจท่านอนที่ถูกลักษณะ สังเกตท่านอนที่เป็นธรรมชาติที่สุด ทั้งท่านอนหงายและท่านอนตะแคง ถ้าปกติคุณนอนคว่ำ ลองเปลี่ยนท่าเป็นนอนหงายบ้าง เพราะอาการตกหมอนมักจะเกิดได้ ในเวลาที่เราหลับสนิทอยู่ในท่าเดียวนานเกินไปได้ |
|
|
ปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะยืนหรือนั่ง พยายามให้หู ไหล่ และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เพราะอาการปวดคอส่วนใหญ่ เกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียด เช่น ถ้าต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ปรับจอให้พอดี โดยคุณไม่ต้องก้มหน้า หรือเงยหน้าตลอดเวลาที่ใช้งานอยู่ |
|
|
อย่าหนีบหูโทรศัพท์ไว้ตรงซอกคอ เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอของคุณ อ่อนล้าและคอเคล็ดได้ ถ้าต้องคุยโทรศัพท์บ่อยๆ ควรใช้หูฟังแทน |
|
|
หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งมีส่วนทำให้คุณปวดคอได้ จากการที่กระดูกสันหลังต้องกระดกขึ้น ส่งผลให้คอของคุณยื่นไปด้านหน้า |
|
|
ผ่อนคลายก่อนเข้านอน การเข้านอนในขณะที่ยังมี ความเครียดอยู่ เมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้า อาจทำให้ปวดต้นคอได้ ดังนั้น ก่อนเข้านอนควรอาบน้ำให้สะอาด ผ่อนคลายด้วยการหายใจเข้าหายใจออกลึกๆ เมื่อร่างกายเริ่มสบายขึ้นก็เข้านอนได้ แต่ถ้ามีการตกหมอนแล้วจะทำอย่างไร เรามีวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถทำเองได้มาแนะนำค่ะ |
สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยคอ
อาการปวดเมื่อยคอ ที่เกิดจากการนอนตกหมอน หรือภาวะความเครียด สามารถใช้สมุนไพรที่ออกฤทธิ์ผ่อนคลายช่วยได้ นอกจากการใช้สมุนไพรธรรมชาติ จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยแล้ว ยังช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย เพื่อแก้ไขความเจ็บป่วยของอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี เริ่มต้นด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้
|
|
ใช้ใบพลับพลึงลนไฟให้ร้อนจนใบนิ่ม นำมาพันบริเวณที่ปวดคอ ทำวันละ 1-2 ครั้ง ด้วยสรรพคุณทางยาของใบพลับพลึง จึงช่วยแก้อาการปวดเมื่อยและเคล็ดขัดยอกได้ |
|
|
ใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันงาทาถูนวดเบาๆ บริเวณที่ปวดนานประมาณ 15 นาที เพื่อให้น้ำมันซึมเข้าไปในผิวหนังได้มากที่สุด ทาวันละ 3 - 4 ครั้ง |
|
|
นอนแช่น้ำอุ่นที่ผสมน้ำชาจากโรสแมรี่หรือลาเวนเดอร์ (แต่ห้ามใช้โรสแมรี่ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) |
|
|
ก่อนนอน ลองดื่มน้ำชาคาโมไมล์ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดได้เช่นกัน |
ประคบร้อนบรรเทาปวด
วิธีการประบด้วยความร้อน จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอได้ นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดอาการปวดได้แล้ว ความร้อนยังทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณคอมากขึ้น จึงช่วยทำให้อาการปวดคอหายเร็วขึ้นได้ เริ่มจาก
|
1. |
แช่ผ้าขนหนูลงในอ่างน้ำร้อน (ไม่ถึงกับเดือด) พับทบแล้วบิดหมาดๆ |
|
|
คลี่ผ้าออกวางพาดไหล่และคอ หรือประคบตรงตำแหน่งที่ปวด คลุมด้วยผ้าแห้งอีกชั้น แล้วทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที ทำวันละ 2-3 ครั้ง ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวอาจเปลี่ยนมาใช้กระเป๋าน้ำร้อนแทนได้เช่นกัน |
ท่าบริหารคออย่างง่าย
บริหารคอตามขั้นตอนต่อไปนี้ จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยคอได้ โดยนั่งให้สบายบนเก้าอี้ หายใจช้าๆ และสม่ำเสมอ ทำตามแต่ละท่าซ้ำ 6 รอบ ก่อนบริหารท่าถัดไป
|
1. |
ก้มและเงยศีรษะ ค่อย ๆ ก้มหน้าให้คางจรดกับอก แล้วเงยกลับขึ้นช้าๆ ให้มากที่สุด |
|
|
ตะแคงซ้ายขวา หน้าตรงค่อยๆ ตะแคงซ้ายจนหูจรดไหล่ซ้าย โดยไม่ยกหรือเอียงไหล่ แล้วตะแคงขวาในลักษณะเดียวกัน |
|
3. |
หันหน้าซ้ายขวา หมุนศีรษะหันหน้าไปทางซ้ายช้าๆ โดยให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ แล้วหมุนกลับมาด้านขวาช้าๆ |
ที่สำคัญ ท่าบริหารคอทั้งสามท่านี้ ควรเริ่มต้นโดยเคลื่อนไหวช้าๆ และระมัดระวัง อย่าหักโหม และหากมีอาการปวดมากๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรักษาให้ถูกต้อง แล้วอาการปวดคอจะไม่เป็นเหตุ ทำให้คุณต้องเดินคอแข็งทั้งวัน เหมือนนายวัฒน์กันอีกต่อไปค่ะ
นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 221
|