ปวดหลัง เป็นปัญหาที่พบบ่อยในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้ด้วยการนอนพัก หรือการใช้ยาร่วมด้วย มีบางส่วนที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง จนรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ปวดหลังอาจเป็นเพียงอาการ หรืออาจเป็นโรคซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ
สาเหตุของการปวดหลัง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
|
1. |
สาเหตุจากระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อ มักเกิดจากความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยลักษณะอาการของการปวดจะแตกต่างกัน เช่น ปวดเฉพาะบริเวณสันหลังเพียงอย่างเดียว อาจมีสาเหตุจาก |
|
|
|
การอักเสบติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้หลังค่อม หรือเป็นอัมพาตได้ |
|
|
|
การอักเสบของกล้ามเนื้อจากการทำงานในลักษณะท่าผิดปกติ หรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ |
|
|
|
จากเนื้องอกของกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลัง |
|
|
|
การเสื่อมตามวัยของกระดูกข้อต่อและหมอนรองกระดูกสันหลัง ปวดสันหลังและเสียวร้าวไปที่อื่น เช่น สะโพก ขาข้างหนึ่งข้างใด หรือ 2 ข้าง เกิดเนื่องจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก สันหลังทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ในรายที่เป็นมากจะมีอาการชาและอ่อนแรงที่ขา ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เดินตัวเอียง หลังคดและก้มหลังไม่ได้ และอาจจะเป็นอัมพาตได้ |
|
2. |
สาเหตุจากอวัยวะหรือโรคอื่น โรคที่ทำให้ปวดหลังได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ กระเพาะอาหารอักเสบ โรคไต โรคเกี่ยวกับสตรี มะเร็งบางชนิด |
การรักษา
จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ การทำให้สามารถกลับไปทำงานได้ปกติ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น อัมพาต หรือความพิการผิดรูปของกระดูกสันหลัง และป้องกันการปวดหลังซ้ำซ้อน
การรักษาตามสาเหตุของโรค
|
1. |
กรณีที่เกิดจากระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อ แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท |
|
|
|
การให้ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ |
|
|
|
การทำกายภาพบำบัด |
|
|
|
การใช้ที่พยุงหลัง |
|
|
|
การฉีดยาเฉพาะที่ หรือฉีดยาเข้าช่องสันหลัง |
|
|
|
การผ่าตัด เมื่อมีข้อชี้ที่ชัดเจน |
|
2. |
กรณีที่เกิดจากโรคอื่น ให้ยาและรักษาเฉพาะโรคนั้น |
การปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง
การปรับเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ ในชีวิตประจำวันจะช่วยป้องกัน และลดอาการปวดหลังได้ การนอน ที่นอนควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ผูกฟองน้ำ หรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่ง ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ปวดหลังได้
|