หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เมื่อใดจึงจะเรียกว่ามีความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 

ความดันโลหิตสูงคือ อะไร

คือความดันในหลอดเลือดแดง ที่เกิดจากหัวใจบีบตัว ส่งเลือดผ่านหลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เราสามารถรู้ระดับความดันโลหิตของตนเองได้ โดยเครื่องวัดความดันโลหิตทั่วไป จะให้ค่าความดันโลหิต 2 ค่า คือค่าความดันโลหิตตัวบนและค่าความดันโลหิตตัวล่าง ในบุคคลทั่วไป ค่าความดันโลหิตตัวบน จะมีค่าประมาณ 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวล่างมีค่าประมาณ 120/80 (คือตัวบนเท่ากับ 120 ตัวล่างเท่ากับ 80)

โดยทั่วไปค่าความดันโลหิตของเรา จะไม่คงที่อยู่ตลอดเวลา เช่น หลังออกกำลังกายหนักๆ หรือในขณะที่มีความตื่นเต้นตกใจ ค่าความดันโลหิตก็จะสูงเพิ่มขึ้นกว่าปกติได้ แต่หลังจากได้พักหลังออกกำลังกาย หรือหายจากภาวะตื่นเต้นตกใจแล้ว ค่าความดันโลหิตก็จะลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้เอง

การวัดความดันโลหิตที่ต่างเวลากันในแต่ละวัน ก็อาจได้ค่าความดันโลหิตที่ไม่เท่ากัน พบว่าความดันโลหิตในช่วงเวลากลางวัน จะสูงกว่าเวลากลางคืน ประมาณร้อยละ 10-20 เพราะฉะนั้น การวัดความดันโลหิตเพื่อวินิจฉัยว่า มีปัญหาความดันโลหิตสูงหรือไม่ จึงมีการกำหนดกฎเกณฑ์ ให้วัดความดันโลหิตในขณะที่ผู้นั้นไม่อยู่ในภาวะเฉียบพลัน และควรใช้ค่าเฉลี่ยของการวัดมากกว่า 2 ครั้ง ในการรายงานผลค่าความดันโลหิตต่อการตรวจแต่ละครั้ง ในการรายงานผลค่าความดันโลหิตต่อการตรวจแต่ละครั้ง

เมื่อใดจึงจะเรียกว่ามีความดันโลหิตสูง

ในบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับประทานยาลดความดันโลหิต และไม่ได้อยู่ในภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลัน ถ้าวัดความดันโลหิตพบว่า ค่าความดันโลหิตตัวบนเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท จากการตรวจมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ให้ถือว่าผู้นั้นมีความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมีผลต่อร่างกายเราอย่างไร


จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเป็นอัมพาต เกิดจากหัวใจล้มเหลว, หลอดเลือดเลือดหัวใจตีบ มากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคความดันโลหิตสูง และพบว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และได้รับการรักษา จนความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะสามารถลดอัตราการเกิดอัมพาต, หัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญ

อาการของความดันโลหิตสูง

อาการที่พบบ่อยเช่น เวียนศรีษะ ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว แต่ไม่ควรรอจนกระทั่งมีอาการ แล้วค่อยตรวจเช็คความดัน เพราะอาจสายไป เนื่องจากผู้ที่มีความดันโลหิตในระยะเริ่มต้น อาจไม่มีอาการผิดปกติของร่างกายให้พบได้ (***ขอแนะนำ…สำหรับท่านที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ถึงแม้จะรู้สึกแข็งแรงดีมาตลอดก็ตาม ท่านควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง)

ข้อควรปฎิบัติสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูง

 
1.
ลดน้ำหนักตัวในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยการควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานต่อวัน และเพิ่มการออกกำลังกาย โดยไม่ควรใช้ยาลดความอ้วน เพราะยามักมีผลทำให้ความดันโลหิตสูง รวมทั้งเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมาอีกด้วย
 
2.
งดการสูบบุหรี่ รวมทั้งงดการดื่มสุราและของมึนเมา
 
3.
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ แนะนำให้เลือกออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ หรือการแกว่งแขน ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไปจนเหนื่อยมาก ควรให้รู้สึกเหนื่อยเล็กน้อยหลังออกกำลังกายก็พอ
 
4.
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็ม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ อาหารดองเค็ม รวมทั้งไม่ปรุงอาหารให้เค็ม โดยไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่ม เวลารับประทานอาหารนอกบ้าน นอกจากนี้ ผงชูรสก็ประกอบด้วยธาตุโซเดียม จึงไม่ควรรับประทานมากเช่นกัน
(***อาหารเค็มจะมีแร่ธาตุโซเดียม ซึ่งทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นได้ การจำกัดแร่ธาตุโซเดียมในอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความดันโลหิต ที่ได้ผลนอกเหนือไปจากการใช้ยา)
 
5.
 รับประทานผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน (สำหรับผลไม้ท่านที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องระมัดระวังในเรื่องระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย )
 
6.
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสูง เช่น เนย กะทิ ขนมเค้ก มันฝรั่งทอด ไข่ปลา หนังหมู หนังไก่ อาหารประเภททอดทั้งหลาย หอยนางรม กุ้ง ปลาหมึก ไข่แดง (ไม่ควรรับประทานเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์)
 
7.
พักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียด

เมื่อใดจึงจะใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง

เมื่อปฏิบัติตนดีแล้วแต่ยังมีความดันโลหิตสูงตลอด หรือความดันโลหิตสูงเกินไปที่จะควบคุมได้ ด้วยการปฏิบัติตัวเพียงอย่างเดียว

ในปัจจุบันมียาหลายชนิด ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่สามารถใช้รักษาความดันโลหิตได้ทุกตัว แต่จะแตกต่างกันที่ ผลข้างเคียงของยา, จำนวนครั้งที่ต้องรับประทานในแต่ละวัน, และราคาของยาแต่ละชนิด การที่จะเลือกใช้ยาตัวใดนั้น แพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย และโรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วยที่ต้องรักษาร่วมด้วย

ภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาลดความดันโลหิต สามารถลดอัตราการเกิดอัมพาต และหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นเพื่อให้ได้ผลดีจากการรักษาอย่างเต็มที่ ผู้ป่วยต้องเอาใจใส่ในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องด้วย


รับการวัดความดันโลหิตเป็นระยะ และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
เพื่อควบคุมความดันโลหิต ของท่านให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอด




ข้อมูลจาก รพ.พระมงกุฏฯ

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โคเลสเตอรอล
 
เมื่อหัวใจต้องไปเีกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
 
มารู้จักสาเหตุของความดันโลหิตสูงกันเถอะ
 
โรคความดันโลหิตสูง
 
การป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.