โรคความดันโลหิตสูงนั้น พบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งโลก ประมาณ 1,500 ล้านคน ประชากรไทยประมาณ 5 ล้านคน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ในบางประเทศพบโรคความดันโลหิตสูง มากกว่าครึ่งของประชากร ที่มีอายุเกิน 60 ปี มีเพียงหนึ่งในสาม ของผู้ป่วยโรคความดันสูง ที่ได้รับการรักษาเท่านั้น ที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
ผลของการไม่ควบคุมความดันโลหิตสูงให้ดี
ความดันโลหิตสูง สามารถทำให้เกิด ภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลวและไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายรวมในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 40 และอาจมากกว่านั้นในบางประเทศ ความสัมพันธ์ของโรคความดันโลหิตสูง และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ความดันโลหิตยิ่งสูง ความเสี่ยงต่อสภาวะหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย และโรคไตวาย ก็จะสูงขึ้นด้วย
ท่านควรทราบระดับความดันโลหิตของท่านเอง
ความดันโลหิตสูง หมายถึงภาวะที่แรงดันของเลือด ที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่สามารถคร่าชีวิตคนได้ โดยไม่มีอาการใดๆ นำมาก่อนนับได้ว่าเป็น ฆาตกรเงียบ ความดันโลหิตที่สูงมาก จะก่อให้เกิดความเสียหาย ต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง หลอดเลือด หรือไต ทุกคนต้องมีความดันโลหิต อยู่ระดับหนึ่งในหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจบีบตัว จะสูบฉีดเลือดผ่านไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย แรงดันของเลือดต่อผนังหลอดเลือด เรียกว่า ความดันโลหิต
ความดันตัวบน (systolic blood pressure) หมายถึง ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่า ซึ่งตรงกับช่วงการบีบตัวของหัวใจ ส่วนความดันตัวล่าง (diastolic blood pressure) หมายถึง ค่าความดันโลหิตที่ต่ำกว่า ซึ่งจะตรงกับช่วงการคลายตัวของหัวใจ ดังนั้น ในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบลงหรืออุดตัน
หัวใจจึงจำเป็นจะต้องบีบตัวให้แรงขึ้น เพื่อส่งเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ได้คงเดิม ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในกรณีที่ความดันโลหิตของท่าน เท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อยู่ตลอดเวลา แสดงว่าท่านมีโรคความดันโลหิตสูง
กฏเกณฑ์ทั่วไปในการวัดความดันโลหิต
|
|
ควรพักอย่างน้อย 5 นาทีก่อนทำการวัด |
|
|
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 30 นาทีก่อนทำการวัด |
|
|
นั่งโดยวางเท้าให้ราบอยู่บนพื้น หลังพิงพนักแขนวางลงที่รองแขนให้เหมาะสมกับขนาดของแขน |
|
|
เลือกขนาดของแถบผ้าพันแขนให้เหมาะสมกับขนาดแขน |
|
|
ใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน |
|
|
ควรวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 2 ครั้ง (ห่างกันอย่างน้อย 2 นาที) แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ในบางกรณี อาจจำเป็นที่จะต้องวัดความดันโลหิต ในท่ายืนและท่านอนหงายตามความจำเป็น |
ความดันโลหิตสูงป้องกันได้
การปฏิบัติต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
|
|
การลดน้ำหนัก |
|
|
การลดปริมาณเกลือในอาหาร |
|
|
การงดหรือลดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ |
|
|
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ |
หากการปรับพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถป้องกัน หรือควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ ก็มีความจำเป็นต้องใช้ยา บ่อยครั้งต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด การควบคุมความดันโลหิต จะมีผลต่อดีสุขภาพอย่างเห็นได้ชัด ช่วยลดอัตราตายแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 25 ภาวะหัวใจวายร้อยละ 50 และโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 35 นอกจากการควบคุมความดันโลหิตสูง การควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็มีความสำคัญเพราะการสูบบุหรี่ ระดับคลอเลสเตอรอลที่สูงในเลือด และโรคเบาหวาน จะเร่งให้เกิดการทำลายต่อหัวใจ และหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงต้องรักษา และควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ด้วย
จำไว้ว่า โรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่ชัดเจน ดังนั้น จึงควรที่ท่านจะต้องรับการตรวจวัดความดันโลหิต อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การควมคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่พึงประสงค์ จะเพิ่มอายุยืนยาวให้แก่ชีวิตที่เป็นสุขได้
|