โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต : เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย จะมีค่า 2 ค่า คือ ความดันตัวบน (แรงดันเลือดขณะหัวใจห้องซ้ายล่างบีบตัว) และความดันตัวล่าง (แรงดันเลือดชณะหัวใจห้องซ้ายล่างคลายตัว) ซึ่งในคนปกติไม่ควรเกิน 130/85 ม.ม.ปรอท
ความดันโลหิตสูง หมายถึง ความดันในเส้นเลือดแดงมีแรงดันสูงกว่าระดับปกติ
สาเหตุ มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จะตรวจไม่พบสาเหตุ เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ คือ
|
1. |
กรรมพันธุ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ |
|
|
สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การกินเค็ม การดื่่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น |
ส่วนความดันโลหิตที่พบสาเหตุ น้อยกว่าร้อยละ 10 คือ โรคไต หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
อาการ : ความดันโลหิตสูงระดับอ่อน หรือระดับปานกลาง มักไม่มีอาการ ถ้าเป็นความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง มักพบอาการ เวียนหัว ปวดหัว เจ็บอก เหนื่อยง่าย เลือดกำเดาออก ตาพล่ามัว เป็นต้น
การรักษา
|
1. |
การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด |
|
|
การรักษาด้วยยา ตามแผนการรักษาของแพทยือย่างสม่ำเสมอ |
การปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง
|
1. |
ลดอาหารเค็ม อาหารใส่เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด จะทำให้ความดันโลหิตสูง และไตทำงานหนัก |
|
|
ลดความอ้วน การลดน้ำหนักช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน เพื่อลดไขมันในเลือด |
|
|
การคำนวณน้ำหนักมาตรฐาน โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) โดยใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (ก.ก.) / ส่วนสูง (เมตร)2
*ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ระหว่าง 18.5 - 24.9 ถือว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกต*ิ
|
|
3. |
หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วและพักผ่อนให้เพียงพอ |
|
4. |
หยุดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ในบุหรี่มีสารนิโคติน ทำให้หลอดเลือดตีบตัน เป็นเหตุให้ความดันโลหิตสูง จึงควรงดสูบบุหรี่ สุรา ถ้าดื่มมาก เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง |
|
5. |
ออกกำลังกายพอประมาณ หลีกเลี่ยงกีฬาประเภทแข่งขัน แต่ควรออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 20-30 นาที |
|
6. |
รับประทานยาสม่ำเสมอ ตามแผนการรักษาของแพทย์ หากมีผลข้างเคียง ทำให้รู้สึกไม่สบายผิดปกติมาก ให้แจ้งแพทย์ที่รักษา |
|
7. |
ควรตรวจความดันโลหิตสม่ำเสมอ สัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อมีอาการเครียด ปวดหัว และควรจดบันทึกจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาของแพทย์ |
โรคแทรกซ้อน
|
1. |
หัวใจ : อาจเกิดหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งขึ้น ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว |
|
|
สมอง : อาจเกิดเส้นเลือดในสมองอุดตันหรือแตกได้ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตทันที |
|
3. |
ไต : อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่การคั่่งของสารพิษในร่างกาย อาจถึงตายได้ |
|
4. |
ตา : อาจเกิดเลือดออกที่ตา ตามัวจนถึงตาบอดได้ |
|
5. |
หลอดเลือด : อาจทำให้หลอดเลือดตีบแคบ หรือโป่งพอง มีผลให้เลือดไปเลี้ยงแขนขา และอวัยวะภายในน้อยลง จะเดินไม่ได้ไกล เพราะปวดขาจากการขาดเลือด |
วิธีลดความดันโลหิตสูง
|
|
กินยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ |
|
|
ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ |
ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต
|
|
งดการสูบบุหรี่และสุรา |
|
|
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ |
|
|
ไม่หงุดหงิดหรือเครียดอะไรง่ายๆ |
|
|
พักผ่อนให้เพียงพอ |
กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
|
|
ลดอาหารเค็มและมัน |
|
|
ควบคุมน้ำหนักตัว |
ความดันโลหิตสูง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ จำเป็นต้องรักษาตลอดชีวิต จึงควรรับการตรวจรักษาจากแพทย์โดยสม่ำเสมอ
|