หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เมื่อหัวใจต้องไปเีกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ความดัน (โลหิต) เกี่ยวพันกับหัวใจ

เพราะหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย หัวใจเปรียบเสมือนคนปั๊มน้ำ ที่มีหลอดเลือดเป็นท่อประปา แต่ร่างกายของคนเราเก่งกว่าท่อประปาที่เราใช้กันอยู่ตรงที่ แต่เลือดที่เราใช้แล้วกลับวนไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต เพื่อผ่านการกลั่น กรอง แล้วผ่านหัวใจ 2 ห้องทางขวาส่งไปที่ปอดเพื่อรับการฟอกโลหิต โดยถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ และรับออกซิเจน เลือดที่มีสีม่วงดำกลับกลายเป็นสีแดง กลับมาสู่หัวใจช่องซ้าย 2 ห้อง พร้อมที่จะได้รับการฉีดโลหิตออกไป ดังนั้น ความดันโลหิตที่เราวัดได้ ก็คือ ความดันของหัวใจที่สูบและฉีดโลหิตนั่นเอง ค่าของความดันเป็นตัวเลข 2 ชุด และมักจะเขียนตัวเลขจำนวนมากอยู่ข้างบน และจำนวนน้อยอยู่ข้างล่าง

ดังเช่น ความดันโลหิตของคนปกติที่อายุเกิน 18 ปี วัดท่านั่ง ขณะพัก = 120/80 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตชุดบนเป็นความดันที่เกิดขึ้นจากการบีบตัวของหัวใจ ทั้งทางด้านซ้ายและขวาพร้อมกัน ด้านขวาฉีดโลหิตไปฟอกที่ปอด ทั้งสองด้านมีผนังหัวใจกั้นอยู่ ไม่ให้เลือดดำและเลือดแดงไหลมาปนกัน ค่าที่เราวัดเป็นความดันของด้านซ้ายที่ไปเลี้ยงร่างกาย

อย่างไรเรียกว่า ความดันโลหิตสูง

ค่าของความดันฉีดโลหิต (มม. ปรอท)
ค่าของความดันฉีดโลหิต (มม. ปรอท)
ภาวะที่เป็น
<120
<80
ปกติ
121-140
81-90
ก้ำกึ่ง
141-160
91-100
ความดันสูงลำดับแรก
161-180
101-110
ความดันสูงลำดับสอง
>181
>111
ความดันสูงลำดับสาม
ความดันโลหิตของคุณวันนี้ มีค่าเท่าใด? ความดันโลหิตของคุณสูงหรือไม่?
ผู้มีความดันโลหิตสูง กว่าครึ่ง ไม่รู้ตัวมาก่อน
  กว่าครึ่ง ไม่ได้รับการรักษาเพียงพอ
  กว่าครึ่ง ยังควบคุมไม่ได้

ความดันโลหิตสูง ก็ไม่เห็นจะมีอาการอะไร ทำไมต้องควบคุมความดันด้วย

ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนคนที่ขับรถเร็ว ก็ว่าไม่เห็นจะเป็นไร แต่ความจริงแล้วที่มีกฎควบคุมความเร็ว เพราะการขับรถเร็วมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง เช่นเดียวกัน การปล่อยให้ความดันสูงนานๆ โดยไม่ใส่ใจก็เท่ากับเปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดของร่างกายที่ยาวกว่า 100,000 กิโลเมตร ทำให้หลอดเลือดแข็ง ไม่สามารถคงสภาพยืดหยุ่นตามปกติได้ และจะนำพาให้เกิดการตีบ-ตัน ถ้าเกิดตำแหน่งที่หลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะใด อวัยวะนั้นก็จะขาดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจก็ขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวสมอง ตีบ-ตัน หัวสมองก็ขาดเลือด โรคหลอดเลือดเลี้ยง ตีบ-ตัน ไตก็ขาดเลือดทำให้ไตพิการ เป็นต้น

ผลแทรกซ้อน อะไรบ้าง เกิดจากความดันโลหิตสูง : มีทั้งแก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไม่ได้ คือ

 
1.
สายตาเสื่อม เนื่องจากหลอดเลือดในตาอาจตีบ-ตัน หรือแตก มีการตกเลือดในตาหรือบวมในชั้นตาที่่รับภาพ
 
2.
อาการทางสมอง หลอดเลือดในสมองตีบ หรือแตก มีผลทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาจชักไม่รู้สึกตัว อาจเกิดอัมพาตได้ถ้ารักษาไม่ทัน
 
3.
หัวใจล้มเหลว จากอาการที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น จึงทำให้หัวใจพองโตเกิดอาการเหนื่อย หายใจลำบาก และยังทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ-ตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
 
4.
เส้นเลือดแดงใหญ่ โป่งพองและอาจแตกได้

ความดันโลหิตสูง ส่งผลต่อ หัวใจ อย่างไร

ความดันโลหิตสูง มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวและตีบแคบลง ส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจต้องบีบตัวแรงและทำงานหนักขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ หัวใจจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด

อาหารที่ยับยั้งความดันโลหิตสูง

 
1.
ปริมาณไขมันอิ่มตัว ไขมันรวม และคอเลสเตอรอลต่ำ
 
2.
เน้น ผลไม้ ผัก และธัญชาติที่ไม่ขัดสี ปลา เนื้อสัตว์ปีกที่ไม่ติดหนัง และถั่วเมล็ดแห้ง
 
3.
ลดเนื้อแดง เนื้อสัตว์ติดมัน เลือกวิธี ต้ม อบ ย่าง หรึอปิ้ง (อย่างไม่มีรอยไหม้เกรียม) แทนการทอด
 
4.
นมและผลิตภัณฑ์จากนมควรเลือกชนิดขาดหรือพร่องมันเนย
 
5.
ลดขนมหวาน น้ำตาล และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล
 
6.
จำกัดโซเดียม (เช่นผงชูรส) และเกลือ
 
7.
จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 
       
    แหล่งข้อมูล : มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล
 
ความดันโลหิตสูง
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.