โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษา และควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 15-20 ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิต คือ แรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือด โดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่น หัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้ เป็นต้น
ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในผู้ใหญ่ จะประมาณ 120/80 มม. ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยน ปริมาณการออกกำลัง เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตที่รอบแขนได้ 2 ค่า ดังนี้
|
1. |
ความดันซีสโตลิกหรือค่าบน เป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว โดยค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม. ปรอท |
|
|
ความดันไดแอสโตลิกหรือค่าล่าง เป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัว โดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม. ปรอท |
ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 140/90 มม. ปรอท ขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ได้ดังนี้
ระดับความดันโลหิต |
ค่าบน/ซีสโตลิก |
ค่าล่าง/ไดแอสโตลิก |
ปกติ |
น้อยกว่า 120 |
น้อยกว่า 80 |
เิ่ริ่มมีความเสี่ยงต่อโรค |
120 - 139 |
80 - 89 |
ความดันสูงเล็กน้อย |
140 - 159 |
90 - 99 |
สูงปานกลาง |
160 - 179 |
100 - 109 |
สูงรุนแรง |
180 - 209 |
110 - 119 |
สูงอันตราย |
ตั้งแต่ 210 ขึ้นไป |
ต้งแต่ 120 ขึ้นไป |
ความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น 2 ชนิด
|
1. |
ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ |
|
|
|
|
พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง |
|
|
โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง |
|
|
บริโภคอาหารรสเค็ม หรือเกลือโซเดียมมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีพันธุกรรม |
|
|
ขาดการออกกำลังกาย |
|
|
มีความเครียดสูงและเรื้อรัง (มุ่งร้ายผู้อื่นหรือถูกกดดันด้วยเวลาจำกัด) |
|
|
ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม |
|
|
ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป |
|
|
|
ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลัน จากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุ ความดันสูงจะกลับเป็นปกติ |
ในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคความดันสูงเฉพาะค่าบน เนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ
มีอาการอย่างไร
โรคความดันโลหิตสูง ระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการ และที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรง อาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น
โรคนี้ ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับมีภาวะไขมันสูง สูบบุหรี่ โรคเบาหวานที่ไม่ควบคุม น้ำตาลในเลือดสูง จะเร่งทำให้หลอดเลือดแดงเสื่อม โดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ ได้แก่
|
1. |
หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวาย หรือมีหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง |
|
|
สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาต และถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญ อาจเสียชีวิตรวดเร็ว ความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลัน จะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะ และซึมลงจนไม่รู้สึกตัว |
|
3. |
ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อร้งหรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น |
|
4. |
ตา หลอดเลือดแดงในตาแตก และมีเลือดออก ทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตาัมัวลง |
|
5. |
หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดการโป่งพอง และหรือฉีกขาดของผนังหลอดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต |
วิธีรักษามีอะไรบ้าง
เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ คือ การควบคุมให้ต่ำกว่า 140/90 มม. ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือไตเรื้อรัง ควรควบคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม. ปรอท แนวทางการรักษา มีดังนี้
|
1. |
เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อย ความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่ |
|
|
|
|
ลดน้ำหนักส่วนเกิน |
|
|
เลิกบุหรี่และเหล้า |
|
|
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ถ้าเลิกออกกำลังกาย ความดันจะกลับมาเป็นใหม่ |
|
|
ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา และนมไขมันต่ำ |
|
|
รู้จักคลายเครียด |
|
|
|
ให้ยาลดความดันโลหิต สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม. ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ ให้ผลดีในการรักษา และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น |
|
3. |
ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น |
ดูแลสุขภาพอย่างไร จึงจะควบุคมได้
|
1. |
กินยาและพบแพทย์ตามนัด ไม่หยุดยาเอง แม้ว่าจะมีความดันเป็นปกติ และไม่เปลี่ยนขนาดหรือชนิดยา เพราะประสิทธิภาพของยาจะแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ที่มีอาการจากผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์ |
|
|
บริโภคอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสหวาน มัน เค็มจัด ควรฝึกให้ชินกับอาหารรสธรรมชาติ หรือใช้สมุนไพรปรุงรสแทน และบริโภคแบบสด ควรบริโภคเกลือแกงประมาณ 1 ช้อนชา หรือ 6 กรัม หรือ 1,500 - 2,500 มิลลิกรัม ต่อวัน จะช่วยลดความดันค่าบนเฉลี่ยได้ 2-8 มม. ปรอท ผู้ที่บริโภคอาการเค็มจะทำให้ความดันไม่ลง และดื้อต่อการรักษา |
|
3. |
ลดน้ำหนักส่วนเกิน เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งในการลดความดันโลหิต ผู้ที่ลดน้ำหนักได้ต่อเนื่องทุก 10 กิโลกรัม ความดันค่าบนจะลดลงเฉลี่ย 8-14 มม. ปรอท |
|
4. |
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30-45 นาที แบบต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3-4 วัน เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ เป็นต้น จะลดความดันโลหิตค่าบนได้ 4-9 มม. ปรอท และช่วยให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้ที่มีความดันสูงมาก ควรปรึกษาแพทยืก่อนเิริ่มออกกำลังกาย |
|
5. |
เลิกสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะภาวะแทรกซ้อนจะเกิดได้เร็วขึ้น |
|
6. |
เลือกบริโภคการหารลดความดันโลหิต (Dietary Approaches to Stip Hypertention, DASH) จะลดความดันโลหิตค่าบนได้ 8-14 มม. ปรอท โดยบริโำภคอาหารไขมันต่ำแบบหมุนเวียน เช่น เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ปลา อาหารมังสวิรัติ แลเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ธัญพืชมากขึ้นในแต่ละมื้อ และลดบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไป |
|
7. |
วัดความดันโลหิตขณะนั่งพักที่บ้าน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือจากสถานบริการใกล้บ้าน และบันทึกผลให้แพทย์ดู เมื่อไปตรวจตามนัด |
|
8. |
สร้างวิถีชีวิตให้เือื้อต่อการมีสุขภาพจิดดี รู้จักคลายเครียดและทำจิตใจให้สงบ เช่น ปฏิบัติศาสนกิจ เจริญสมาธิ ฝึกโยคะ ชี่กง เป็นต้น พบว่า การฝึกหายใจช้าน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาที วันละ 15-20 นาที ประมาณ 2 เดือน จะช่วยลดความดันโลหิตได้ประมาณเท่ากับ การกินยารักษาความดัน 1 ชนิด |
|
9. |
เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ควรแจ้งแพทยืเรื่องความดันโลหิตสูง เนื่องจากยาบางอย่างมีผลข้างเคียง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น |
ปัองกันอย่างไร ไม่ให้เป็นความดันโลหิตสูง
|
1. |
ควบคุมน้ำหนักตัว โดยมีรอบเอวต่ำกว่า 80 ซม. หรือ 32 นิ้ว ในผู้หญิง และ 90 ซม. หรือ 36 นิ้ว ในผู้ชาย |
|
2. |
บริโภคอาหารแบบสมดุลครบ 5 หมวด และมีรสจืด หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และทุกๆ มื้อ หมุนเวียนบริโภคอาหารป้องกันความดันโลหิตสูง โดยเน้นอาหารประเภทผัก และผลไม้ที่ให้สารอาหารโพแทสเซียม เช่น ฟักทอง บรอคโคลี่ ผักโขม มะเขือเทศ มะละกอ กล้วย มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น นมและผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำที่ให้แคลเซียม และธัญพืช ถั่วเปลือกแข็งที่ให้แมกนีเซียมและเส้นใยอาหาร เช่น ถั่วแดง เต้าหู้ งา เป็นต้น เนื่องจากพบว่า ผู้ที่ขาดสารโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม มีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง |
|
3. |
ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 วัน ต่อสัปดาห์ วันละ 30-60 นาที |
|
4. |
งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ และหยุดสูบบุหรี่ |
|
5. |
ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้มีประวัติครอบครัวความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดโลหิตอย่างน้อย ทุก 2 ปี และอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจความดันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
|
6. |
ผู้ที่มีความดันโลหิตระหว่าง 120/80 ถึง 139/89 มม. ปรอท จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ ควรเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยง |
ผช.ศจ.นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|